The 'Red Closet'
เลื่อนอ่านภาษาไทยด้านล่าง
Is Thailand really sweeping its anti-government movement underground?
In many countries, LGBT people face persecution by the state and are subject to prejudice and discrimination by society at large. Many must hide their identities or go underground.
A similar situation is happening right now in Thailand, although the persecution is not based on differences in sexual orientation or gender identity but on political opinion. In a matter of weeks, the red-shirt movement has changed from an unstoppable political force into a marginalised "closet case".
After the May 19 crackdown and the burning of some iconic buildings in Bangkok, all red-shirt people have become social pariahs, blanketed with accusations of being arsonists, terrorists, traitors, anti-monarchists.
Many have to conceal their red affiliation and live a double life - cunningly similar to that of most Thai gay men and lesbians. Among like-minded people, they can momentarily be who they are. But once in the public at large, they have to hide themselves lest their relationships and careers are jeopardised.
The persecution also extends into cyberspace. Countless pro-red websites have been indiscriminately shut down. Interestingly, a friend of mine who calls herself a Redsbian (red+lesbian) is now saying that it's easier for her to reveal her homosexual identity than to "come out" as a red-shirt. The situation got so bad that she's been attacked and ridiculed even on the LGBT webboard that she created!
I am neither red nor anti-red, although I hear plenty of complaints against their actions. During last year's Chiang Mai Gay Pride, I was among the activists who became a target of hostility from a local red-shirt group whose leaders are now being hunted by authority. I had friends locked deep inside the Rajprarop war zone and was frantically trying to secure their escape. Other friends who work on Silom have lost their only means of livelihood for a long stretch of time.
Of course, red-shirt members who have committed criminal acts must be dealt with by the law. That said, being from and still living upcountry, I also know many red-shirt people and understand why they protested. These are people who have seen little improvement in their lives while the local labour pool and natural resources are siphoned to create wealth in Bangkok.
Although ex-PM Thaksin didn't really provide a solution to the inequality inherent in our political system, he - corrupt as he is - at least gave them a glimpse of how powerful their one vote can one day lead to economic and social justice. More than the fleeting materialistic effects, what they got out of Thaksin's populist policies is the awakening to how they had been treated as second-class citizen - "prai". More and more Thaksin came to be seen less as the leader, but a fellow victim of an unjust system, bent on protecting status quo and self-interests for the privileged first-class citizen - the "elite"'.
Being regarded as second-class citizens is all too familiar with LGBT's, as well as women, ethnic groups, the disabled and other minorities. Even though the red movement so far hasn't necessarily been LGBT-friendly, there's no reason why LGBT movement can't embrace the red movement because at heart, their struggle is no different from ours.
What is shocking for me is how we are being asked to quickly "forgive and forget" so that everything can go back to business as usual. The clamouring for a quick return to "harmony" - while silencing of dissenting voices continues - highlights the preference of Thai society for symptomatic wound dressing rather than addressing the underlying causes of deep-rooted problems.
Is superficial harmony what we want, while leaving grievances simmering underneath? I would rather argue that fairness and justice, rather than harmony, is the way to reconciliation and lasting peace.
Unfortunately, it has now become taboo to have a meaningful debate about things that matter. Diversity of political opinions is being looked upon as trouble, despite the fact that they are protected - at least in theory - by the constitution.
Of course, there's also a risk - based on their past record - that once the red movement achieves power, the tyranny of the majority will again trample on the rights of sexual and other minorities. But that's all the more reason we must ensure freedom of expression and peaceful assembly as any democratic society should.
The big question is if even a mass movement cannot appeal for justice, how can a minority group get any?
ตู้สีแดง*
แปลโดย Meowist รักนะจุ๊บๆ
*หมายเหตุผู้แปล: ตู้ในที่นี้ มาจากสำนวนภาษาอังกฤษ in the closet แปลว่า แอบซ่อนตัวตนที่เป็นคนรักเพศเดียวกัน
คนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศและคนข้ามเพศ (LGBT) ในหลายประเทศต้องถูกกวาดล้างจากทางการและยังถูกรังเกียจและเลือกปฏิบัติจากสังคมโดยรวม ทำให้หลายๆ คนต้องปกปิดตัวตนหรือเปิดเผยตนเองแต่เฉพาะในวงลับ เหตุการณ์คล้ายๆ กันก็กำลังเกิดขึ้นกับเมืองไทยในตอนนี้ ต่างกันตรงที่ว่าสาเหตุของการถูกข่มเหงไม่ใช่เพราะเพศที่แตกต่าง แต่กลับเป็นความเห็นทางการเมือง
ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ กลุ่มคนเสื้อแดงได้เปลี่ยนจากขบวนการทางการเมืองที่หยุดไม่อยู่ กลายเป็นกลุ่มชายขอบที่ต้อง“แอบในตู้” หลังจากที่ผู้ประท้วงเสื้อแดงถูกล้อมปราบและอาคารสำคัญหลายแห่งถูกเผาทำลายในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. คนเสื้อแดงได้กลายเป็นผู้ถูกสังคมรังเกียจเหยียดหยาม และถูกเหมารวมภายใต้ข้อกล่าวหาว่าเป็นนักวางเพลิง ผู้ก่อการร้าย คนขายชาติ และพวกล้มเจ้า หลายคนต้องปกปิดความเป็นคนเสื้อแดงของตนและใช้ชีวิตแบบตีสองหน้า (ซึ่งคล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อกับเกย์และเลสเบี้ยนชาวไทยจำนวนมาก) นั่นคือ พวกเขาเป็นตัวของตัวเองได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในกลุ่มพวกเดียวกัน แต่เมื่ออยู่กับสังคมส่วนใหญ่ พวกเขาต้องปิดบังตนเอง เพื่อไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นและหน้าที่การงาน
ยิ่งไปกว่านั้น การคุกคามของภาครัฐที่มีต่อคนเสื้อแดงยังลามไปถึงโลกไซเบอร์ เว็บไซต์ของชาวเสื้อแดงจำนวนนับไม่ถ้วนได้ถูกบล็อคอย่างถ้วนหน้า เพื่อนของผมคนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าเรดส์เบี้ยน (เรด+เลสเบี้ยน) บอกว่าตอนนี้การเปิดเผยตัวเองว่าเป็นคนรักเพศเดียวกันนั้นง่ายกว่าการ “ออกจากตู้”มาบอกใครๆ ว่าตนเองเป็นคนเสื้อแดงเสียอีก สถานการณ์นั้นย่ำแย่ถึงขนาดที่ว่าเธอถูกโจมตีและดูถูกแม้แต่กระทั่งในเว็บบอร์ด LGBT ที่เธอสร้างขึ้นมากับมือ!
ผมไม่ได้เป็นทั้งฝ่ายเสื้อแดงหรือฝ่ายต่อต้านเสื้อแดง แม้ว่าตัวเองจะมีเหตุผลที่จะไม่พอใจต่อการกระทำของคนเสื้อแดงอยู่ไม่น้อย เมื่องานเชียงใหม่เกย์ไพรด์ปีที่แล้ว ผมก็เป็นหนึ่งในบรรดานักกิจกรรมที่ถูกโจมตีจากกลุ่มคนเสื้อแดงที่นั่น (นำโดยแกนนำที่กำลังถูกรัฐบาลตามล่าตัวอยู่ในตอนนี้) นอกจากนี้ ผมยังเผชิญกับความอกสั่นขวัญหายในขณะที่พยายามจะช่วยเหลือเพื่อนสนิทที่ติดอยู่ในที่อาศัยย่านราชปรารภออกมาจากบริเวณที่มีการต่อสู้กันอย่างหนัก ไม่เพียงเท่านั้น ผมยังมีเพื่อนหลายคนที่สูญเสียโอกาสในการทำมาหากินในบริเวณสีลมติดต่อกันเป็นเวลานานนับเดือนอีกด้วย
แน่นอนว่าคนเสื้อแดงที่ทำผิดกฎหมายสมควรถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม แต่กระนั้นการที่ผมโตมาในต่างจังหวัดและยังอาศัยอยู่ในต่างจังหวัดก็ทำให้ผมรู้จักคนเสื้อแดงหลายคนและเข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องประท้วง ตลอดชีวิตของพวกเขาแทบไม่ได้เห็นความเป็นอยู่ของตนดีขึ้นเลย ในขณะที่แรงงานและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่กลับถูกถ่ายเทไปสร้างความมั่งคั่งในกรุงเทพฯ
แม้ว่าอดีตนายกทักษิณจะไม่ได้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ฝังรากลึกในโครงสร้างของประเทศ แต่คนคดโกงอย่างเขากลับทำให้คนรากหญ้าได้มีโอกาสเห็นว่าเสียงเลือกตั้งของตนหนึ่งเสียงมีพลังที่อาจทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นที่มีความสำคัญกว่าผลทางวัตถุอันไม่จีรังจากนโยบายประชานิยมคือการที่พวกเขาได้ตื่นขึ้นและระลึกได้ว่าที่ผ่านมาพวกเขาถูกปฏิบัติอย่างพลเมืองชั้นสอง หรือที่เรียกว่า “ไพร่” นับวันภาพความเป็นผู้นำของทักษิณจึงยิ่งจางลง และถูกแทนที่ด้วยภาพของทักษิณในฐานะคนหัวอกเดียวกันที่ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของระบอบอันไม่ชอบธรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียว คือการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงและรักษาผลประโยชน์ของอภิสิทธิชนที่ได้เปรียบทางสังคมเหนือคนส่วนใหญ่ หรือ “อำมาตย์”
การถูกปฏิบัติเหมือนเป็นพลเมืองชั้นสองเป็นสิ่งที่ชาว LGBT รวมไปถึงผู้หญิง ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนา คนพิการและคนชายขอบอื่นๆ คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แม้ว่าจนถึงบัดนี้กลุ่มคนเสื้อแดงอาจไม่ได้มีท่าทีเป็นมิตรต่อ LGBT เท่าใดนัก แต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่พวกเราจะไม่สามารถขานรับต่อขบวนการของคนเสื้อแดงได้ เพราะโดยใจความสำคัญแล้ว การต่อสู้ของคนเสื้อแดงก็ไม่ต่างอะไรกับการต่อสู้ของพวกเรา
สิ่งที่น่าตกใจสำหรับผม คือการที่พวกเราถูกขอให้ “ให้อภัยและลืม”อย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปอย่างไม่สะดุด เสียงเซ็งแซ่เรียกร้องหา “ความปรองดอง” (ในขณะที่การคุกคามต่อเสียงที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างยังคงดำเนินต่อไป) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการที่สังคมไทยชอบการแต่งแผลแก้ตามอาการไปวันๆมากกว่าการรักษาต้นเหตุของโรค
จริงหรือที่ว่าสิ่งที่สังคมไทยปัจจุบันต้องการคือความสามัคคีอันฉาบฉวยในขณะที่ปล่อยความคับข้องใจต่างๆ ให้คุกรุ่นอยู่ภายใน โดยส่วนตัวผมอยากจะขอแย้งว่าความเท่าเทียมเป็นธรรมและความยุติธรรมต่างหาก ที่จะสร้างความสมานฉันท์และสันติสุขได้อย่างยั่งยืนไม่ใช่สักแต่จะสามัคคีกันอย่างไม่ลืมหูลืมตา
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ในตอนนี้การถกเถียงประเด็นสำคัญเหล่านี้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามไปเสียแล้ว ความหลากหลายทางความคิดเห็นการเมืองกลับถูกมองว่าเป็นปัญหา ถึงแม้ว่าจะได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี)
แน่นอนว่าหากดูจากการกระทำของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ผ่านมา ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่ว่าเมื่อพวกเขาได้โอกาสขึ้นมามีอำนาจ พวกเขาจะใช้เผด็จการเสียงข้างมากละเมิดสิทธิของคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ รวมทั้งคนกลุ่มน้อยทางเพศเสียเอง แต่นั่นก็ยิ่งเป็นเหตุผลที่เราต้องเรียกร้องให้ประเทศไทยเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสันติอย่างที่สังคมประชาธิปไตยทั้งหลายพึงมี
คำถามสำคัญก็คือ ถ้าแม้แต่ขบวนการมวลชนขนาดใหญ่ยังไม่สามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้ แล้วกลุ่มคนส่วนน้อยในสังคมจะมีโอกาสได้รับความยุติธรรมได้อย่างไร