'No' to Non-Discrimination is a Silent Nod to Violence
The Nation, 9 Jan 2009
To mark the 60th anniversary of the Universal Declaration of Human Rights, a statement was read at the United Nations General Assembly on December 18 by the Argentinean representative on behalf of 66 countries. The statement was to affirm the human rights principle of universality and non-discrimination regardless of sexual orientation and gender identity. This was the first time that sexual diversity issues have been raised in the UN’s most important body.
The statement, cosponsored by France and the Netherlands, set out “to condemn the human rights violations based on sexual orientation or gender identity wherever they occur, in particular the use of the death penalty on this ground, extrajudicial, summary or arbitrary executions, the practice of torture and other cruel, inhuman and degrading treatment or punishment, arbitrary arrest or detention and deprivation of economic, social and cultural rights, including the right to health.”
Immediately after, a counter-statement, backed by 55 countries, was made to deny the inclusion of sexual orientation and gender identity as grounds for protection.
In her speech for the occasion, the UN High Commissioner for Human Rights, Navanethem Pillay, stated that “The principle of universality admits no exception. Human Rights truly are the birthright of all human beings. Those who are lesbian, gay, or bisexual, those who are transgender, transsexual or intersex, are full and equal members of the human family, and are entitled to be treated as such.”
In a reference to George Orwell’s Animal Farm, she concluded that, “It’s not acceptable when “everyone is equal but some are more equal than others.”
Unfortunately, Thailand’s UN representation chose not to endorse the non-discrimination statement. This is not the first time Thailand has turned its back on statements on sexual orientation and gender identity in the UN context. What’s new this time is that it did so despite Article 30 of the 2007 constitution prohibiting discrimination on the ground of “sexual diversity” and specific petitions by local LGBTI groups and individuals to support the statement.
Although shocking, this silent nod to discrimination didn’t come as a total surprise, since our government is understood to be concerned about the opinions of the Muslim world, which already has an eye on our troubled South. While it is certainly not a bad thing for the government to espouse sensitivity towards ethnic and religious minorities – a positive sign that Thailand intends to embrace pluralistic democracy – the southern unrest also has its partial root in the Thai State’s historical disregard towards the way of life of ethnic Muslims. Even our brothers and sisters in the south will agree that what this country needs is more respect for human rights – not less.
In his interview for the National Human Rights Day for Sexual Diversity last November, civil society champion Jon Ungpakorn argued that many of the troubles in Thai society are caused by disregard for equality and human dignity. To promote peace and social harmony, he urged Thai society to move towards more respect for human rights for minorities – whether sexual, ethnic, religious or otherwise.
Some may view human rights for LGBTI persons primarily as a global North concern. However, this non-discrimination statement was given strong supports from almost all of Latin America; Japan, Nepal and Timor Leste for Asia; as well as five African nations. Unlike Thailand, many of these countries actually have religious groups that loudly oppose LGBTI rights, but they nevertheless embrace human rights which lie at the foundation of all upright societies. Despite opposition from the powerful Catholic Church, Brazil’s President Lula da Silva last year went so far as to convene the country’s first National LGBTI conference with government representatives from all ministries and all levels.
Killings, tortures and arbitrary arrests are the most serious human rights abuses. It doesn’t matter whom they are committed against – whether it’s LGBTI persons, ethnic or religious minorities, terrorist suspects or anyone. By abstaining from speaking out against such gross violations for fear of offending contrary opinions, our government showed a disturbing lack of moral courage necessary for leading the country.
The Ministry of Foreign Affairs now owes an explanation to local LGBTI community as to why it thinks it is okay for LGBTI persons to be singled out as the only group deserving of state-condone violence. Soon it will also need to clarify its position on LGBTI rights to the National Human Rights Commission as well as the committees of the various human rights treaties that the country is party to.
Navigating today’s complex geopolitics certainly requires serious deliberations and inputs from various sectors of society. It is no longer acceptable that such foreign policy decisions should still be made behind close doors when they concern a significant proportion of the population – arguably at a more profound level than free trade agreements or border disputes.
Balancing diverse local and international opinions will always be challenging but it’s the only way forward. The alternative for Thailand would be to not commit to anything – even something as fundamental as human rights. Sitting on such a shaky fence, however, will get us nowhere.
ไม่สนับสนุนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ เท่ากับพยักหน้าอย่างเงียบๆ ให้กับความรุนแรง
เนื่องในโอกาสการครบรอบ 60 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตัวแทนประเทศอาร์เจนตินา ณ สหประชาชาติ ได้เป็นตัวแทนประเทศทั่วโลก 66 ประเทศในการอ่านถ้อยแถลงในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อรับรองหลักความเป็นสากลและการไม่เลือกปฏิบัติของสิทธิมนุษยชน โดยไม่ขึ้นกับวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเด็นความหลากหลายทางเพศถูกยกขึ้นกล่าวถึงในเวทีที่สำคัญที่สุดนี้ขององค์การสหประชาชาติ
ถ้อยแถลงที่ผลักดันโดยประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์มีวัตถุประสงค์เพื่อ “ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาศัยสาเหตุวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ โทษประหารชีวิต วิสามัญฆาตกรรม การฆ่าอย่างรวบรัด หรือตามอำเภอใจ การทรมาน การลงโทษหรือการปฏิบัติอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การจับกุมหรือกักขังหน่วงเหนี่ยวตามอำเภอใจ การยกเว้นมิให้ได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสิทธิด้านสุขภาพ”
ทันทีหลังจากนั้น ก็มีการอ่านถ้อยแถลงตอบโต้ที่มีเสียง 55 ประเทศสนับสนุน เพื่อปฏิเสธไม่ยอมรับให้ความคุ้มครองต่อประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ
ในโอกาสนี้ ข้าหลวงใหญ่องค์การสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน นาวาเนเธม พิลัย ได้กล่าวในสุนทรพจน์ของเธอว่า หลักการความเป็นสากลไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิโดยกำเนิดของมนุษย์ทุกคนอย่างแท้จริง ไม่ว่าบุคคลที่เป็นหญิงรักหญิง ชายรักชาย หรือรักสองเพศ บุคคลที่เป็นคนข้ามเพศ ผู้แปลงเพศ หรือ อินเตอร์เซ็กซ์ ต่างก็เป็นสมาชิกของครอบครัวมวลมนุษยชาติและมีสิทธิได้รับการปฏิบัติในฐานะเช่นนั้น” เธอสรุปโดยยกประโยคทองในหนังสือ Animal Farm ของจอร์จ ออร์เวลว่า “เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ถ้าพูดว่า ‘ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่บางคนเท่าเทียมมากกว่า’ “
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ตัวแทนของประเทศไทยเลือก ไม่ รับรองถ้อยแถลงสนับสนุนการไม่เลือกปฏิบัตินี้ ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเทศไทยหันหลังให้กับถ้อยแถลงประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศในเวทีสหประชาชาติ แต่สิ่งที่ต่างออกไปในครั้งนี้คือการกระทำไปโดยไม่สนใจกับมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ห้ามการเลือกปฏิบัติโดยสาเหตุ “ความหลากหลายทางเพศ” และคำร้องจากกลุ่ม ผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เจาะจงขอให้สนับสนุนถ้อยแถลงดังกล่าว
แม้จะเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่การพยักหน้าอย่างเงียบๆ ให้กับการเลือกปฏิบัติครั้งนี้ก็มิได้เป็นเรื่องน่าแปลกใจเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นที่เข้าใจว่า รัฐบาลของเรามีความกังวลเกี่ยวกับความเห็นจากโลกมุสลิมที่สายตาจับจ้องอยู่กับปัญหาภาคใต้ของไทยอยู่แล้ว
ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่รัฐบาลจะใช้ความละเอียดอ่อนต่อคนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนา ซึ่งเป็นสัญญาณให้เห็นว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นยอมรับประชาธิปไตยแบบพหุนิยมที่มีความหลากหลาย แต่ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้เองนั้นก็มีสาเหตุหนึ่งมาจากการที่รัฐไทยไม่ให้ความเคารพต่อวิถีชีวิตของชาวมุสลิมมาโดยตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน แม้แต่พี่น้องในภาคใต้เองก็ต้องเห็นด้วยว่า สิ่งที่ประเทศนี้ต้องการคือการให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่น้อยลง
ในการให้สัมภาษณ์เพื่องานวันสิทธิความหลากหลายทางเพศเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้นำด้านประชาสังคม ได้กล่าวว่า ปัญหาต่างๆ ในเมืองไทยหลายเรื่องมีสาเหตุจากการไม่เคารพความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเรียกร้องให้สังคมไทยให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มน้อย ไม่ว่าจะเป็น คนกลุ่มน้อย ในเรื่องความหลากหลายทางเพศ, ชาติพันธุ์, ศาสนา หรือด้านใดก็ตาม
บางคนอาจเป็นว่าเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องของประเทศตะวันตกเท่านั้น แต่ถ้อยแถลงการไม่เลือกปฏิบัติในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากเกือบทุกประเทศในละตินอเมริกา รวมทั้งญี่ปุ่น เนปาล ติมอร์เลสเต และอีกห้าประเทศในทวีปแอฟริกา โดยที่ประเทศเหล่านี้จำนวนมากต่างจากประเทศไทยตรงที่มีกลุ่มศาสนาที่ต่อต้านสิทธิความหลากหลายทางเพศอย่างรุนแรง แต่ก็ยังเลือกที่จะยอมรับหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นพื้นฐานของสังคมที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี ตัวอย่างเช่น ประเทศบราซิลที่แม้จะมีการต่อต้านจากคริสตจักรแคทอลิกที่ทรงอำนาจ แต่ในปีที่แล้ว ประธานาธิบดีลูล่า ดาซิลวา กลับประกาศจัดการประชุมสัมมนาด้านความหลากหลายทางเพศระดับชาติขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีตัวแทนจากทุกกระทรวงและรัฐบาลทุกระดับ
การสังหาร ทรมาน และจับกุมตามอำเภอใจ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะกระทำต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ คนกลุ่มน้อยด้านชาติพันธุ์หรือศาสนา ผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย หรือบุคคลใดก็ตาม การที่รัฐบาลของเรางดเว้นไม่ออกเสียงคัดค้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเช่นนี้ แสดงให้เห็นการขาดความกล้าหาญด้านจริยธรรมที่จำเป็นต่อการเป็นผู้นำประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศยังต้องอธิบายต่อชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศว่าทำไมจึงเห็นว่าบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
เป็นคนกลุ่มเดียวที่สมควรเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่สนับสนุนโดยรัฐ และในอนาคตอันใกล้ยังต้องให้ความกระจ่างถึงจุดยืนของรัฐในด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตลอดจนคณะกรรมการของสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
การนำพาประเทศผ่านน่านน้ำอันซับซ้อนของการเมืองโลกยุคปัจจุบัน แน่นอนว่าต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้อีกต่อไปที่การตัดสินใจด้านนโยบายต่างประเทศเช่นนี้จะกระทำกันอย่างลับๆ ในเมื่อการตัดสินใจนั้นเกี่ยวข้องกับประชากรส่วนหนึ่งอย่างลึกซึ้งมากกว่าการทำ FTA หรือการเจรจาข้อพิพาทชายแดน
การชั่งน้ำหนักความคิดเห็นต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ก็เป็นวิธีเดียวที่ประเทศจะก้าวไปข้างหน้า อีกตัวเลือกหนึ่งของไทยคือการไม่ผูกพันกับเรื่องใดๆ แม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่างสิทธิมนุษยชน แต่การนั่งอยู่เฉยๆ ไม่ยอมเลือกสิ่งที่ถูกต้องเช่นนี้ก็ไม่อาจพาเราไปถึงไหนได้
(ภาพประกอบ) ภาพบนผนังด้านนอกข6องโบสถ์ St John the Evangelist ในเอดินเบอระ สำหรับวัน ต่อต้านความเกลียดชังผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ IDAHO ซึ่งตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี (A mural on the wall of the Church of St John the Evangelist in Edinburgh to mark the International Day Against Homophobia)