I am thankful to the coup, and here is why...

Prachatai, 25 Jun 2014

Article 30 of the 2007 Thai constitution prohibits discrimination on the basis of sex. The official statement of intention clarifies that this includes discrimination on the basis of gender, gender identity and sexual orientation (referred to as "sexual diversity" in the text). It was the first time in the country that the rights of lesbians, gays, bisexuals and transgenders (LGBTs) were enshrined in the law of the land -- not to mention the highest law of the land.

This recognition of human rights on the basis of sexual orientation and gender identity (SOGI) was the result of engagement by several LGBT activists with the Constitution Drafting Assembly (CDA). To shore up the legitimacy of the process, the CDA was comprised of representatives from a wide section of the population. Minority groups were outreached for inputs. However, as a military-designed legislative body in lieu of an elected parliament, the CDA's legitimacy was far from universally accepted.

By accepting the product of the CDA and lauding Article 30 as championing SOGI rights, LGBT activists were inevitably dogged with the accusation of justifying the coup and reaping benefits from it.

However, most LGBT activists did not see any dilemma in this, arguing that past democratic governments never bothered to enact LGBT-friendly laws and that even those who called themselves "progressive" like the redshirts are often hostile to LGBT rights. The violent shutdown of the 2009 Chiangmai Gay Pride parade by redshirt protesters is an obvious example.

Since May 22, however, that product of a coup was rendered a useless piece of paper by another coup and we need to thank the junta for getting us out of this awkward position. Had the 2007 constitution not been torn up, we would still be living under the illusion that non-democratic means can actually advance human rights.

Whose rights?

For some time now, we heard that Vietnam was on the verge of becoming the first Asian country to legalize same-sex relationships. The Vietnamese government even supported many LGBT activities. It seems that the Communist Party is willing to accommodate new social changes in order to pacify its population as long as the D word is not heard.

Many Thai LGBTs couldn't help but feel envious of our Vietnamese brothers and sisters, They may wish that the junta may, in their plans to amend hundreds of legislations, go as far as legalizing same-sex relationship here ahead of Vietnam.

In fact, this development would also be welcomed by many LGBT activists, as a less frustrating process than its democratic counterpart. The process began in the late 2012 when some members of the parliament took the initiative to draft a similar legislation. However, with lack of understanding of human rights principles, they ended up with a faulty draft unloved by the community whose rights it was supposed to promote. Among its defects are higher age of consent and lack of provision on children.

Hierarchy of hands

Is a perfect law enacted by a dictatorial regime better than a faulty democratically passed one? There are at least three objections to that conclusion.

First, the authoritarian father-knows-best attitude denies society the freedom of expression, freedom to dissent, and the right to self-determination. This is particularly ironic when it comes to LGBT rights which is all about non-conforming self-expression.

(Regrettably, there are many among LGBT activists who have no faith in the democratic process and often fail to recognize the human rights of others. More lobbyists than human rights activists, they are willing to sacrifice the freedom of expression of others, while demanding such rights for themselves.)

Without freedom of expression and the right to self-determination, society is deprived of the opportunity to work out its own solution on the issue through debate and negotiation. And before reaching that stage, a law would have little social root to support it.

The fate of Article 30 shows how a law hastily drafted in less than democratic environment can be ripped up at the whim of the next power-that-be. Once torn up, such a law would vanish as though it had never existed, and we are back to square one. How useful is such an arbitrarily enacted law? That's the second point.

Third and most important, such a law is based on an imbalanced power relationship. This has much to do with the Thai cultural attitude and can also happen under democratic government. For example, when LGBT activists criticized the shortcomings of the draft law, they were seen as biting the hand that fed them. Like most of Thais in high offices, the parliamentarians were plagued with the superiority complex of doing a 'favor' rather than a 'service' to the people. For them, LGBTs belong to a group to be "helped" with pity, along with the poor, the disabled, ethnic minorities and other "underclasses".

This is typical of the hierarchical relationships in Thai culture, where "the hand that gives is higher than the hand that receives". It is a major stumbling block for the evolution of democracy with its essential belief in social and political equality and no person's vote is more important than another's. Instead of viewing minorities as those who need bones of favor thrown their ways, a democracy sees measures to promote equal rights as a guarantee for a just society.

Equal hands

Rather than a hierarchy of hands, democracy is a group of hands engaging in the acts of shaking and un-shaking -- all at the same level. A democratically legislated law is a social contract negotiated with all parties. In the process of debate, negotiation and compromise, however, there is also the process of learning and understanding which raises the overall awareness of society. Therefore, the resulting legislation would not be a standalone legislation but supported by social consensus.

Instead of Vietnam, I look up to the examples set by civil society in the Philippines, where LGBT grassroot groups in all shapes and forms across the country continue to engage -- from the ground up -- with their local and national governments. Rather than hoping for a top-down LGBT-friendly law enacted by a military government, I prefer to wait until democracy returns in order to engage in the task of building acceptance of LGBTs from the bottom up, until the rights of LGBTs are accepted by the majority of society -- as a social contract, as the law enacted by the will of the people. It will be painstakingly slow process, but there's no shortcut to democracy.

Unless we work so that the rights of minority are not a matter of favor, but equality, unless we graduate from beggaring favor and start fighting for our rights with dignity and pride, LGBTs will always be seen as a pitiable underclass, rather than equal human beings.

This must be done in an atmosphere where even the dissenting voice of the most homophobic person will not be silenced. This, however, is far from being the case today.

Therefore I thank the coup for reminding me what's most important as a human rights activist and for strengthening my faith in democracy.


อยากขอบคุณรัฐประหาร เพราะ...

ตีพิมพ์ใน ประชาไท 8 กรกฎาคม 2557


มาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ บันทึกเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวได้ขยายความไว้ว่า รวมถึง การเลือกปฏิบัติ ด้วยสาเหตุแห่งเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ และความหลากหลายทางเพศ นับเป็นครั้งแรกที่สิทธิมนุษยชนของคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศได้ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่กฎหมายลูกทั่วๆ ไป แต่เป็นถึงกฎหมายสูงสุดของประเทศ

นี่เป็นผลจากการที่นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศจำนวนหนึ่งได้ไปรณรงค์กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมวงกว้าง และมีการขอความคิดเห็นจากตัวแทนคนกลุ่มน้อยในสังคม เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถึงกระนั้นก็ดี ความชอบธรรมของ ส.ส.ร. ก็ไม่ได้รับการยอมรับโดยประชาชนทั้งหมด เพราะเป็นองค์กรที่ออกแบบมาโดยคณะรัฐประหารเพื่อทำหน้าที่แทนรัฐสภา

ดังนั้นการยอมรับผลงานของ ส.ส.ร. และยกย่องมาตรา 30 ว่าเป็นการเชิดชูสิทธิความหลากหลายทางเพศ ก็ทำให้นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศถูกตั้งคำถามว่าช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐประหาร และได้รับลาภติดปลายนวมมาด้วยหนึ่งมาตรา

แต่กระนั้น นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศส่วนใหญ่ก็มิได้เล็งเห็นปัญหาในเรื่องนี้แต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอดีตก็ไม่ได้ออกกฎหมายเพื่อสิทธิของคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศแต่อย่างใด แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่า “หัวก้าวหน้า” อย่างคนเสื้อแดงบางส่วนกลับต่อต้านสิทธิความหลากหลายทางเพศเสียด้วยซ้ำ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกรณีที่กลุ่มรักษ์เชียงใหม่ยกขบวนเข้าปิดล้อมและขู่ทำร้ายผู้เข้าร่วมขบวนพาเหรดเชียงใหม่เกย์ไพรด์ในปี 2552 เป็นต้น

อย่างไรก็ดีนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงของรัฐประหารในครั้งนั้นก็ถูกฉีกเป็นเศษกระดาษโดยคณะรัฐประหารอีกชุดหนึ่ง และควรต้องขอบคุณ คสช. ทีช่วยให้เราหลุดพ้นจากสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ว่านี้ หากรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ถูกฉีกลง เราก็คงยังฝันหวานอยู่ว่าวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นสามารถส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้

สิทธิของใคร

สองสามปีที่ผ่านมา เราได้ยินกันว่าเวียดนามกำลังจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่รับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลเวียดนามยังสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อคนรักเพศเดียวกัน ดูเหมือนว่าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามจะยอมอะลุ้มอล่วยให้กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมใหม่ๆ เพื่อ “คืนความสุขให้ประชาชน” ตราบใดที่ไม่มีใครเอ่ยคำว่าประชาธิปไตยขึ้นมา ดังนั้น คนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศในเมืองไทยบางส่วนจึงได้แต่มองตาปริบๆ อิจฉาเพื่อนๆ ชาวเวียดนาม และพาลหวังว่า คสช. จะชิงออกกฎหมายรับรองความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันในบ้านเราตัดหน้าเวียดนามบ้าง

ถ้าเกิดส้มหล่นขึ้นมาจริงๆ ก็คงทำให้นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศจำนวนไม่น้อยดีใจ เพราะเป็นความสำเร็จที่ได้มาง่ายๆ ไม่น่าหงุดหงิดเหมือนในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแม้จะมีส.ส.จำนวนหนึ่งในคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาริเริ่มจะร่างกฎหมายดังกล่าวในช่วงปลายปี 2555 แต่ทว่าด้วยขาดความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงเป็นร่างกฎหมายขาดๆ เกินๆ ที่ชุมชนคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศรักไม่ลง ตัวอย่างเช่น การกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะได้รับการรับรองความสัมพันธ์ดังกล่าวไว้สูงกว่าอายุขั้นต่ำของคู่สมรสต่างเพศ และการไม่มีบทบัญญัติรับรองบุตรที่อยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าว

ลำดับชั้นของมือ

แต่ก่อนจะสรุปว่า กฎหมายดีๆ สมบูรณ์แบบที่ออกในยุคเผด็จการย่อมดีกว่ากฎหมายกะรุ่งกะริ่งที่คลอดออกมาด้วยวิถีทางประชาธิปไตยแน่ๆ ผู้เขียนขอแย้งว่าข้อสรุปนี้มีปัญหาอย่างน้อยสามประการใหญ่

ประการแรก คือ การออกกฎหมายแบบ “คุณพ่อรู้ดี” เช่นนี้ เป็นการปฏิเสธเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการแสดงความเห็นต่าง และสิทธิในการกำหนดทิศทางของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งเป็นอย่างยิ่งในกรณีของสิทธิความหลากหลายทางเพศ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแสดงออกที่ไม่เป็นไปตามกรอบของคนส่วนใหญ่ทั้งสิ้น

เป็นเรื่องน่าเสียใจที่นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศจำนวนมากไม่มีศรัทธาในกระบวนการประชาธิปไตย และมืดบอดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ การที่พวกเขายอมให้คนอื่นถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แต่กลับเรียกร้องสิทธิดังกล่าวให้กับตัวเองนั้น ทำให้พวกเขาไม่สามารถเรียกตัวเองได้ว่าเป็นนักสิทธิมนุษยชน เป็นได้อย่างมากก็แค่นักวิ่งเต้นล็อบบี้ยิสต์เท่านั้น

ในเมื่อไม่มีเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการแสดงความเห็นต่าง และสิทธิในการกำหนดทิศทางของตนเอง สังคมก็ถูกปล้นโอกาสที่จะเรียนรู้หาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการแลกเปลี่ยนโต้ประเด็นความคิดและการเจรจา กฎหมายใดๆ ที่ออกมาโดยปราศจากกระบวนการทางสังคมดังกล่าวนี้ ก็เป็นได้แค่ไม้ล้มลุกที่ไม่มีระบบรากแก้วทางสังคมรองรับ

ประการที่สอง ชะตากรรมของมาตรา 30 ที่รับรองสิทธิความหลากหลายทางเพศนั้น ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า กฎหมายที่ไร้รากเหง้าทางสังคม แต่ถูกเร่งร่างขึ้นมาในบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากจะถูกรื้อถอนทิ้งได้ในมือของรัฏฐาธิปัตย์ใหม่อย่างง่ายดายแล้ว ก็ยังสูญสลายไปอย่างไร้ซากเหมือนกับไม่เคยมีตัวตนมาก่อน ทำให้ต้องกลับไปตั้งต้นที่ศูนย์อีกครั้ง ดังนั้นแม้แต่จะมองจากประโยชน์สูงสุด กฎหมายที่ถูกตราขึ้นตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจเช่นนี้จะอยู่ได้นานเท่าใด และมีประโยชน์จริงๆ แค่ไหน

ประการสุดท้ายและปัญหาสำคัญที่สุด คือการที่กฎหมายเช่นนี้เกิดจากความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมีต้นตอมาจากความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่ผู้น้อยในสังคมไทย และเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะในยุคเผด็จการหรือประชาธิปไตย เห็นได้จากการที่นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศถูกมองว่า ไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อร่างกฎหมายของคณะกรรมาธิการรัฐสภาในการทำประชาวิจารณ์ (“ร่างให้ก็ดีเท่าไหร่แล้ว”)

ส.ส. และ ส.ว. ก็ไม่ต่างกับผู้มีอำนาจรัฐไทยส่วนใหญ่ที่มี “ปมเด่น” เห็นว่าตนเองเป็นผู้มีบุญคุณต่อประชาชน มากกว่าเป็นผู้รับใช้ประชาชนผู้เสียภาษี สำหรับพวก “ท่าน” ทั้งหลายเหล่านี้แล้ว คนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศเป็นผู้ที่ต้องได้รับการ “ช่วยเหลือสงเคราะห์” ด้วยความสงสารเห็นอกเห็นใจ เช่นเดียวกับ คนจน คนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และ “กลุ่มต้อย” ทางสังคมต่างๆ

ความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นเรื่องปกติของสังคมไทยแบบถือชนชั้น ดังคำพูดที่ว่า “มือที่ให้อยู่สูงกว่ามือที่รับ” แต่กลับเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อวิวัฒนาการประชาธิปไตย ที่ยึดถือความเสมอภาคทางสังคมและการเมือง โดยคนทุกคนมีหนึ่งโหวตเท่ากัน ไม่มีโหวตใครสำคัญกว่าโหวตของคนอื่น

ในระบอบประชาธิปไตย สิทธิของคนกลุ่มน้อยไม่ใช่เป็นเรื่องของการโยนผลประโยชน์ให้เพื่อให้สงบปากสงบคำ แต่ประชาธิปไตยมองมาตรการส่งเสริมความเสมอภาคต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างสังคมที่เป็นธรรม

จับมือคือความเสมอภาค

ประชาธิปไตย จึงไม่ใช่เรื่องของมือที่อยู่สูงอยู่ต่ำ แต่เป็นการเจรจาต่อรองที่มีทั้งการจับมือกันและปล่อยมือออกจากกันตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยทุกมืออยู่ในระดับเดียวกัน ไม่มีมือใดอยู่สูงกว่ามือใด (ถ้าไม่อยู่ระดับเดียวกัน ก็จับมือกันไม่ได้)

กฎหมายที่เกิดขึ้นในกระบวนการประชาธิปไตย คือ พันธสัญญาทางสังคมที่ผ่านการเจรจาต่อรองกับทุกภาคส่วน ในระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยนโต้ประเด็นความคิด การเจรจาต่อรอง และการประนีประนอมนั้น ก็ยังมีกระบวนการของการเรียนรู้และการทำความเข้าใจเพื่อยกระดับความตระหนักรู้โดยรวมของสังคมต่อประเด็นนั้นๆ กฎหมายที่ออกมาจึงไม่ได้ออกมาโดดๆ แต่มีฉันทามติของสังคมเป็นรากแก้วสนับสนุน

ดังนั้น แทนที่จะเอาอย่างเวียดนาม ผู้เขียนกลับชื่นชมภาคประชาสังคมของฟิลิปปินส์ ที่มีกลุ่มรณรงค์เรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศใหญ่น้อยหลายรูปแบบกระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ ทั่วประเทศ ต่างทำหน้าที่เป็นอิสระรณรงค์ในประเด็นดังกล่าวตั้งแต่ระดับรากหญ้าให้ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

แทนที่จะคอยหวังให้กฎหมายรับรองสิทธิความหลากหลายทางเพศหล่นมาจากฟ้าภายใต้รัฐบาลทหาร ผู้เขียนขอรอจนกว่าประชาธิปไตยจะกลับมา เพื่อรอที่จะเห็นการรณรงค์สร้างการยอมรับต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศจากล่างขึ้นบน จนสิทธิความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในสังคม ในฐานะเป็นพันธสัญญาทางสังคม เป็นกฎหมายที่ตราออกมาจากเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่โดยแท้ มันอาจจะเป็นหนทางที่ยาวไกล แต่ประชาธิปไตยไม่เคยมีทางลัด

ตราบใดที่เราไม่ทำงานโดยถือว่าสิทธิของคนกลุ่มน้อยเป็นเรื่องของความเสมอภาค ไม่ใช่เรื่องของ “บุญคุณ” ตราบใดที่เราไม่ทำงานต่อสู้เพื่อสิทธิของเราด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างไม่ต้องก้มหัว แต่ยังคอยเร่ขอส่วนบุญเพื่อ “ประโยชน์สูงสุด” ตราบนั้นคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศก็จะยังคงเป็น “กลุ่มด้อย” ทางสังคมที่น่าสงสารรอความอนุเคราะห์ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด แทนที่จะได้รับการยอมรับในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียม

แต่การจะทำงานรณรงค์ในแบบที่เป็นมนุษย์เท่าเทียมกันได้ ก็ต้องทำในสังคมที่ไม่มีการปิดกั้นความเห็นต่าง ในบรรยากาศที่ไม่มีใครถูกปิดปาก แม้แต่คนที่รังเกียจเกลียดชังคนรักเพศเดียวกันหรือคนข้ามเพศมากที่สุด แต่บรรยากาศเช่นที่ว่านั้นไม่ใช่วันนี้

ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องขอขอบคุณรัฐประหาร ที่ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุดของนักสิทธิมนุษยชน และทำให้ผู้เขียนมีศรัทธาต่อประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้