A pagoda in the air: Thailand's moralistic mega-project

เลื่อนอ่านภาษาไทยด้านล่าง

The Nation, 4 June 2012 (Visakha Puja Day)

Two weeks ago a "Temple Fair in the Sky" was held at a high-end department store in central Bangkok as part of the 2,600-years' celebration of the Buddha's enlightenment.

In it, a visitor would have no hint to remind her that at Ratchaprasong intersection just a stone throw away dozens were killed in the government’s crackdown exactly two years earlier and thousands were commemorating their deaths that very day.

The fair attendants may be forgiven for conveniently blocking out the memory of the bloodshed altogether, as they have been convinced time and again by “moral leaders” that the deaths were unavoidable collaterals and Thai society will be fine again if all of us strive to be “moral”.

However, hyper-moralization is not the answer to Thailand’s political problems. Such Manichean perspective actually fueled them, as a great number of Thais came to see red-shirt protesters as an evil force to be vanquished. Therefore, they not only did not bat an eye lid at the Ratchaprasong crackdown but even cheered it on.

This zeal has been on the rise since the beginning of our current political turmoil. In 2008, yellow shirt leader Sondhi Limthongkul said in an interview, “I think that new politics must start with thammaphiban [good governance] on the basis of thammathipattai [the sovereignty of the Buddhist teachings]. Thammaphiban and thammathipattai together are true democracy.” Before last year’s general election, Army Commander-in-Chief General Prayuth Chan-ocha urged voters to not to elect “bad people”, with a not-so-subtle aim at Pheu Thai candidates.

More recently, Wasan Soipisut, Chairman of the Constitutional Court, said in relation to the draconian Article 112 or ‘lese majeste’ law that, “Laws can be written in any way. More importantly, if the people are moral, there will be no problems. Therefore, I would like to suggest that it’s better to change people’s behaviors than the law.” This moral zeal will soon be epitomized by the planned new parliament building modeled on the 700-years-old idea of a Buddhist heaven. This is no place for multiculturalism and secularism.

The problem with all this, even if we pretend for the sake of argument that Thailand is a Buddhist theocracy, is that the Buddha never touted his teachings to be a panacea for all problems. On the contrary, his Noble Truths require us to identify and address the root causes of problems like a doctor who prescribes different medicines for distinct diseases.

Rather than seeing Dhamma as a one-size-fits-all answer, the Buddha astutely understood social problems in social terms. In Kuttadanta Sutta, he cited economic and administrative solutions to a social problem. In Cakkavatti Sihanada Sutta , he provided a cautionary tale of how moral solutions can have disastrous consequences when blindly applied to social problems.

In the story, as poverty and thefts became rife due to maldistribution of wealth, the king first tried to solve it by giving property to help the offenders. When this gave rise to even more thefts as everyone wanted to be rewarded, he ordered their heads to be cut off. The thieves then armed themselves and acted more violently to avoid arrest and punishment. This goes to show that, without addressing its cause, the two moral stances –unthinking compassion and morality policing – did not solve the problem but made it worse.

The distinction between statecraft and morality is recognized in the Tipitaka. In Temiya Jataka, the future-Buddha deliberately feigned to be dumb and mute to avoid inheriting his father’s throne, because ruling a state would involve immersing himself in the political gray areas where moral black-and-white would not do. Even with his wise and compassionate guidance, the enlightened Buddha couldn’t turn any of his royal patrons into a peace-lover.

Buddhism itself, like all aspects of human civilizations, is also founded on rules and other worldly conventions – as distinct from the Dhamma. (Those who disagree with the importance of conventions should, for example, burn their clothes and money.)

Far from shunning worldly solutions, the Buddha approved of and applied them to the society of monks he founded. Borrowing best practices from the Vajjian confederation’s political system, he established rule-based Sangha governance with relevant rules for real-life situations, rather than leaving it all to the monks’ moral discretions. In fact, he once told chief disciple Sariputta that the longevity of his religion would depend on appropriate promulgation of rules for the conduct of monks who transmit the Dhamma.

In Nitisart Naew Phut (“Buddhist approach to laws”), venerable Phra Brahmagunabhorn PA Payutto explained, “Human society is built on mutual agreements. This is why it’s called sammati(“mutually agreed”). These mutual agreements are critical because civilizations prosper based on them… That’s why the Buddha taught both ultimate truth and sammati truth… For example, when it’s communally agreed, a particular monk is then bestowed with the authority to keep or to distribute robes.”

It’s not difficult to see why “holier than the Buddha” fanatics became louder in contemporary Thai politics. Moral zeal serves as a smokescreen to distract society from seeing things hidden under the magician’s cloak: a broken system and corrupt individuals with vested interest in the status quo.

The simple truth, however, is: a broken system needs structural fixes, not morality. When a law is found to be outdated, it should be amended. Telling people to be ‘moral’ is deceitful. When governments fail, it’s imperative to improve the political process, not praying for “good people” to save the day. No longer acceptable is a government of ‘good people’ to take power by tearing down mutually agreed rules like the Constitution.

In the Buddha’s time, people had little control over the tyrannical systems under which they lived. Today, democracy – if we live in one – allows us the hope to create a better society for all. Its process is an open-ended evolution which is – to quote John F Kennedy – based not on a sudden revolution in human nature but on a gradual evolution in human institutions. This is how progresses are made in other parts of the world, but it seems to have eluded the ‘more moral’ Thailand with our cycles of coups and state-sanctioned violence.

In Payasi Sutta , the Buddha told a parable of two friends who went on a search for something valuable. Although both started with a pile of hemp, one continued to discard what’s he’s carrying for better things along the way while the other refused to cast it off because he had been carrying it for too long.

Thai society must ask itself which man it takes after, whether we want our institutions to be hemp or gold in the end. Oligarchy or democracy? The Law of the Three Seals or democratic constitutionalism? At the very least, don’t we deserve a government which wouldn’t turn guns on its own people or a legal system which presumes innocence rather than prejudges guilt?

Moral evangelism serves to hide evil done by ‘good people’, who often only pay lip service to it without practicing it. In stead of blind faith, true Buddhists should regard “good people” with healthy skepticism. If a “moral” leader is sincerely concerned about corruption, the best thing he can do is to lead by example and transparently declare his assets–rather than blowing his own horns or point fingers at others. Otherwise, he would be no more trustworthy than the crane in Baka Jataka who volunteers to transport fish to a bigger pond only to eat them all.

It’s true that how a country is run should, to an extent, reflect its spiritual ideals, but it cannot be based entirely on them. Just as a pagoda’s base must keep in harmony with the aesthetic ideals of its pinnacles, but it cannot be built in the same lofty manner because it must bear the weight of the whole structure under the laws of physics – not aesthetics.

Thailand, therefore, must first re-strengthen its democratic base with solid foundation of transparency, accountability, equality, justice and human rights, upon which spirituality can prosper and help it rise higher. Without such a base grounded in social and political realism, however, its moralistic mega-project will always remain a vain pagoda in the air conjured up by illusionists to hide ugly reality.


เจดีย์ลอยฟ้าอภิมหาโปรเจ็คท์ กับภาวะคลั่งศีลธรรมในการเมืองไทย

วันวิสาขบูชา 4 มิถุนายน 2555

ฝึกยิงเป้าทางศีลธรรมใน "งานวัดลอยฟ้า" (ภาพโดยคุณ Will Yaryan)

สองสัปดาห์ก่อน “งานวัดลอยฟ้า”ถูกจัดขึ้นในห้างสรรพสินค้าใหญ่ใจกลางเมือง เพื่อร่วมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปีบรรยากาศภายในงานไม่มีสิ่งใดเตือนให้ผู้ร่วมงานได้รู้สึกแม้แต่น้อยนิดว่าห่างไปไม่ไกลที่แยกราชประสงค์กำลังมีคนอีกนับหมื่นรำลึกถึงการเสียชีวิตของเพื่อนร่วมชาติหลายสิบคนจากการสลายการชุมนุมเมื่อสองปีก่อน

คงไม่ใช่ความผิดของผู้ร่วมงานวัดลอยฟ้าที่จะปิดกั้นความทรงจำใดๆเกี่ยวกับการนองเลือดครั้งนั้นไปจากความคิดโดยสิ้นเชิงเพราะต่างก็ถูกล้างสมองซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยเหล่า “ผู้นำทางศีลธรรม”ว่าการเสียชีวิตครั้งนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และสังคมไทยจะเป็นปรกติสุขได้อีกครั้งหากเราทุกคนตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดี

แต่ความแก่ศีลธรรมเช่นนี้ไม่ได้เป็นคำตอบให้กับปัญหาการเมืองไทยแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามการมองโลกแบบขาว-ดำ พระ-มาร กลับเป็นเชื้อไฟให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น [1] เพราะคนไทยจำนวนมากเห็นเพื่อนร่วมชาติเสื้อแดงเป็นตัวแทนความเลวร้ายที่ต้องทำลายล้างพวกเขาไม่เพียงแต่ไม่สะทกสะท้านกับการกวาดล้างผู้ชุมนุมประท้วงที่ราชประสงค์แต่ถึงกับเชียร์ให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม

ความคลั่งศีลธรรมเช่นนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่ความยุ่งยากทางการเมืองเริ่มต้นขึ้นนายสนธิ ลิ้มทองกุลให้สัมภาษณ์ในพ.ศ. 2551[2] ว่า“การเมืองใหม่ต้องเริ่มที่ธรรมาภิบาลบนพื้นฐานของธรรมาธิปไตยธรรมาธิบาลกับธรรมาธิปไตยทั้งสองอย่างนี้คือประชาธิปไตยที่แท้จริง” [3] ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปีที่แล้วพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ยังให้สัมภาษณ์แนะให้ประชาชนเลือก “คนดี” เข้าสภาโดยมีนัยยะที่อ่านได้ไม่ยากว่าเป็นการโจมตีพุ่งเป้าไปที่พรรคเพื่อไทย [4]

(เครดิตเพจ "วิวาทะ")

นอกจากนั้น ไม่นานมานี้ นายวสันต์สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวถึงกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า“กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ซึ่งมีบทลงโทษรุนแรงว่า “กฎหมายจะเขียนอย่างไรก็ได้ที่สำคัญ ถ้าคนมีคุณธรรม ปัญหาก็ไม่เกิด จึงอยากแนะนำว่าควรแก้นิสัยของคนดีกว่าแก้กฎหมาย” [5]

ไม่เพียงเท่านั้นความแก่ศีลธรรมนี้จะยิ่งถูกยกระดับให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐสภาแห่งใหม่“สัปปายะสภาสถาน”ซึ่งออกแบบบนฐานความคิดเรื่องสวรรค์ตามคติไตรภูมิย้อนหลังไปจนถึงสมัยสุโขทัย [6] จึงดูเหมือนว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ที่สำหรับสังคมพหุวัฒนธรรมหรือการปกครองแบบโลกวิสัยอีกต่อไป

สัปปายะสภาสถาน

แต่ปัญหาคือพระพุทธเจ้าไม่เคยโฆษณาประกาศว่าคำสอนของพระองค์เป็นยาสารพัดนึกครอบจักรวาลแก้ได้ทุกปัญหา(อีกทั้งประเทศไทยไม่ใช่รัฐศาสนจักรที่ปกครองด้วยสังฆราชาตามหลักศาสนา)ในทางกลับกันหลักอริยสัจจ์ของพระพุทธเจ้าสอนให้หาต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาเพื่อแก้ไขให้ถูกจุดเหมือนกับแพทย์สั่งยาต่างสำรับเพื่อรักษาต่างโรค

นอกจากจะไม่ได้เห็นว่าธรรมะเป็นคำตอบสำเร็จรูปสำหรับทุกเรื่องไปแล้วพระพุทธเจ้ายังเข้าใจอย่างหลักแหลมถึงปัญหาสังคมจากมุมมองทางสังคมในกูฏทันตสูตรพระองค์ทรงชี้วิธีแก้ไขปัญหาสังคมเช่นอาชญากรรมอย่างได้ผลด้วยวิธีทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร[7] ส่วนในจักกวัตติสูตรพระองค์เล่านิทานเตือนสติถึงกรณีที่ศีลธรรมถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมืดบอดแทนที่จะใช้วิธีการทางสังคมจนทำให้เกิดผลเสียหายทั้งในทางสังคมและในทางศีลธรรม

ในนิทานเรื่องนี้เมื่อเกิดปัญหาความขัดสนอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำและมีการลักขโมยแพร่หลายในหมู่ประชาชนพระราชาจึงได้ลองใช้วิธีให้ทรัพย์สินแก่ผู้กระทำผิดแต่วิธีนี้กลับทำให้การลักขโมยเพิ่มมากขึ้นเพราะทุกคนต่างอยากได้รางวัลพระราชาจึงสั่งให้ตัดหัวผู้กระทำผิดทุกคนเหล่าผู้กระทำผิดจึงเริ่มสะสมอาวุธและใช้ความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกจับและโดนลงโทษนิทานเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าการไม่จัดการกับปัญหาที่ต้นเหตุแต่กลับไปใช้แนวทางทางศีลธรรมที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นความเมตตาอย่างมืดบอดหรือการลงโทษทัณฑ์อย่างรุนแรงแบบตาต่อตาฟันต่อฟันนั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงแต่อาจซ้ำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก [8]

ในพระไตรปิฎกการปกครองกับศีลธรรมเป็นสิ่งที่มีขอบเขตแยกจากกัน(แม้จะมีส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่บ้าง)ในเตมิยชาดก [9] พระเตมีย์แกล้งทำเป็นบ้าใบ้หูหนวกตั้งแต่เด็กเพื่อที่จะได้ไม่ต้องสืบทอดราชสมบัติเมื่อรู้ตัวว่าการเป็นพระราชานั้นไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะถลำลึกไปสู่บริเวณสีเทาของการเมืองการปกครองซึ่งหลักศีลธรรมแบบขาวดำนั้นไม่เพียงพอแม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังไม่สามารถใช้คำสอนที่เปี่ยมด้วยปัญญาและเมตตาของพระองค์เปลี่ยนเจ้าแคว้นทั้งหลายที่อาราธนาตัวเป็นสาวกให้กลายเป็นนักสันตินิยมได้

ตัวพุทธศาสนาเองก็ไม่ต่างกับอารยธรรมอื่นๆของมนุษย์ที่ต้องตั้งอยู่บนรากฐานของกฎเกณฑ์และข้อตกลง คือวินัยและสิกขาบทต่างๆไม่ได้ตั้งอยู่บนธรรมเพียงอย่างเดียว(ผู้ที่คิดว่ากฎเกณฑ์หรือข้อตกลงทางสังคมไม่มีความสำคัญก่อนอื่นควรจะเผาเสื้อผ้าและเงินทองทั้งหมดทิ้ง)

ไม่ใช่แค่เพียงไม่ปฏิเสธแต่พระพุทธเจ้ายังนำวิธีการแก้ปัญหาแบบชาวโลกไปใช้กับคณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นโดยสถาปนารูปแบบการปกครองสงฆ์แบบนิติธรรมด้วยข้อวินัยที่เหมาะสมตามสถานการณ์จริงอันเป็นแนวปฏิบัติที่หยิบยืมมาจากการปกครองของแคว้นวัชชีไม่ใช่ปล่อยให้พระภิกษุตัดสินกันเองด้วย“ธรรม” ล้วนๆ [10]

นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังกล่าวกับพระสารีบุตรว่าความมั่นคงยืนยาวของพระศาสนานั้นขึ้นอยู่กับการบัญญัติสิกขาบทไว้เป็นกฎเกณฑ์เพื่อรักษาความประพฤติของภิกษุผู้จะทำหน้าที่สืบทอดพระธรรมคำสอนสืบไป(ศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆบางองค์ตั้งอยู่ไม่ได้นาน เพราะไม่ได้บัญญัติกฎเกณฑ์ต่างๆไว้) [11]

ในหนังสือ“นิติศาสตร์แนวพุทธ” [12] พระพรหมคุณาภรณ์(พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต) อธิบายว่า“เรื่องของสังคมมนุษย์นั้น เป็นเรื่องของมติที่มนุษย์จะตกลงกันว่าจะเอาอย่างไรเพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สม-มติ” ทั้งสิ้น แต่กล่าวแล้วว่าสมมติเป็นเรื่องที่สำคัญมากอารยธรรมของมนุษย์ตั้งอยู่บนฐานของสมมติเพราะมนุษย์มีความสามารถในการสมมติจึงสามารถทำการสร้างสรรค์อารยธรรมให้เจริญงอกงามขึ้นมาได้เพราะเหตุที่สมมติเป็นเรื่องจริงในระดับหนึ่งและเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวในพระพุทธศาสนา ท่านจึงแสดงไว้ทั้งปรมัตถสัจจะ และสมมติสัจจะ…คำว่า“สมมติ” ของพระไม่ใช่เป็นเรื่องเหลวไหลอย่างที่ญาติโยมเข้าใจกันแต่เป็นเรื่องที่จริงตามสม-มติคือตามที่ตกลงกันนั้น เมื่อภิกษุรูปนั้นได้รับการสมมติแล้วก็มีอำนาจหน้าที่จริงๆ(ตามที่ตกลงกัน) ในการที่จะเก็บจีวร หรือในการที่จะแจกจีวรเป็นต้น” [13]

คงเข้าใจได้ไม่ยากว่าเหตุใดคนส่วนน้อยจำนวนหนึ่งจะพยายามทำตัวแก่ศีลธรรมยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าในการเมืองไทยปัจจุบันนั่นเป็นเพราะพวกเขาพยายามส่งเสียงดังเพื่อกลบเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตยนอกจากนี้ความแก่ศีลธรรมยังทำหน้าที่เป็นม่านอำพรางปิดบังไม่ให้สังคมมองเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังผ้าคลุมสีดำของนักมายากลนั่นคือระบบที่ผุพังและคณะบุคคลที่ต่อต้านความเปลี่ยนแปลงเพราะได้ประโยชน์จากระบบเดิม

อย่างไรก็ดีระบบที่ผุพังต้องได้รับการซ่อมแซมโครงสร้างไม่ใช่แก้ด้วยศีลธรรมถ้ากฎหมายล้าสมัยก็ควรต้องแก้กฎหมายการย้ำให้ประชาชนมีศีลธรรมมากขึ้นถือว่าหลอกลวงประชาชนเมื่อระบบการปกครองล้มเหลวก็ต้องปรับปรุงกระบวนการทางการเมืองไม่ใช่สวดมนต์ภาวนาให้ “คนดีศรีอยุธยา”หรือพระสยามเทวาธิราชมาช่วยกู้บ้านกู้เมืองการยึดอำนาจโดย “คนดี”ด้วยการฉีกทิ้งกฎเกณฑ์ที่ประชาชนมีมติร่วมกันอย่างรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีกต่อไป

(เครดิตเพจ "วิวาทะ")

ในสมัยพุทธกาลคนแทบไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองที่กดขี่แต่ประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน(ถ้าไทยยังเป็นประชาธิปไตยอยู่) เปิดโอกาสให้ปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้นเพื่อมนุษย์ทุกคนด้วยการเปลี่ยนแปลงแบบปลายเปิดซึ่ง“ไม่ได้เกิดจากการปฏิวัติธรรมชาติมนุษย์อย่างทันทีทันใดแต่เกิดจากการวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปของสถาบันต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น” (คำพูดของประธานาธิบดีจอห์นเอฟ เคนเนดี้) [14] นี่คือความก้าวหน้าทางสังคมที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลกแต่ยังดูเหมือนไกลเกินเอื้อมสำหรับสังคมไทยที่คิดว่าตัวเองมีศีลธรรมมากกว่าแต่กลับตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ของรัฐประหารและการใช้ความรุนแรงต่อประชาชน

ในปายาสิราชัญญสูตร [15] พระพุทธเจ้าเล่านิทานเรื่องสองสหายที่ออกไปหาของมีค่าในหมู่บ้านทั้งสองเจอเปลือกป่านกองหนึ่งจึงเก็บเอามาเทินหัวไว้แต่คนหนึ่งพอเจอของที่มีค่ากว่าก็ทิ้งของเก่าแล้วเอาของใหม่มาเทินหัวแทนส่วนอีกคนกลับปฏิเสธและบอกว่า“มัดเปลือกป่านนี้เราเอามาไกลแล้ว ทั้งมัดไว้ดีแล้วด้วย เราไม่เอาละ”

แม้แต่พระพุทธเจ้ายังเคยแก้ไขวินัยอยู่หลายครั้งให้เหมาะสมกับสถานการณ์ดังนั้นสังคมไทยเองก็ควรต้องตั้งคำถามมิใช่หรือว่า ในระหว่างสองสหายนั้นเราจะเลือกทำตามคนไหนเราอยากเห็นระบบการปกครองของเราเป็นอย่างเปลือกป่านหรือทองคำในตอนท้ายเรื่องจะเลือกเอาอะไรระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตยกฎหมายตราสามดวงกับรัฐธรรมนูญนิยมแบบประชาธิปไตยไม่ถูกหรือที่อย่างน้อยเราก็ควรจะมีรัฐบาลที่ไม่หันปลายกระบอกปืนเข้าใส่ประชาชนและระบบกฎหมายที่เห็นทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ความผิดได้โดยไม่ตั้งธงความผิดไว้ก่อน

การเอะอะส่งเสียงเรียกร้องหาศีลธรรมในสถานการณ์ปัจจุบันยังมีประโยชน์ในการปิดบังความผิดที่กระทำโดย"ปิศาจปากคาบคัมภีร์"ชาวพุทธที่แท้ควรถือหลักกาลามสูตรไม่หลงเชื่ออะไรง่ายๆและตั้งข้อสงสัยกับ “คนดี”บ้าง แทนที่จะเชื่อถือศรัทธาอย่างมืดบอด ถ้า“ผู้นำทางศีลธรรม”คนไหนมีความห่วงใยอย่างจริงใจเกี่ยวกับการคอรัปชั่นอย่างแรกที่ควรจะทำคือการทำตัวเป็นตัวอย่างด้วยการเปิดบัญชีทรัพย์สินอย่างโปร่งใสไม่ใช่การประกาศความดีงามของตนเองหรือชี้นิ้วกล่าวหาผู้อื่นมิฉะนั้น “คนดี”เหล่านี้ก็แค่มือถือสากปากถือศีล ไม่น่าเชื่อถือไปกว่านกกระเรียนในพกชาดก [16] ที่แสร้งทำดีอาสาพาฝูงปลาไปบ่อน้ำที่ใหญ่กว่าแต่กลับเอาไปกินกลางทางเสียหมด(ก่อนจะถูกปูตัวหนึ่งรู้เท่าทันเอาก้ามหนีบคอตาย)[17]

จริงอยู่ที่ว่าระบบการปกครองประเทศควรสะท้อนอุดมคติทางจิตวิญญาณของสังคมนั้นด้วยแต่ประเทศไม่สามารถจะดำเนินไปได้ด้วยอุดมคติทางจิตวิญญาณเพียงอย่างเดียวเช่นเดียวกับฐานของเจดีย์ที่ต้องกลมกลืนสอดรับกับสุนทรียภาพของยอดเจดีย์แต่เราไม่สามารถสร้างฐานเจดีย์ให้อ่อนช้อยบอบบางได้เหมือนยอดเพราะฐานนั้นต้องรับน้ำหนักของเจดีย์ทั้งองค์ภายใต้กฎทางฟิสิกส์ไม่ใช่สุนทรียศาสตร์

ดังนั้นก่อนอื่นประเทศไทยจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับรากฐานประชาธิปไตยอย่างแน่นหนาด้วยหลักของความโปร่งใสตรวจสอบได้เสมอภาค ยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นรากฐานให้อุดมคติทางจิตวิญญาณได้เจริญเติบโตต่อยอดยกระดับสังคมให้สูงยิ่งขึ้น

แต่หากไม่มีรากฐานที่ติดดินยึดโยงอยู่กับสถานการณ์จริงทางสังคมและการเมืองแล้วเจดีย์ลอยฟ้าอภิมหาโปรเจ็คท์ทางศีลธรรมของไทยก็จะเป็นได้แค่วิมานเลื่อนลอยในอากาศที่นักมายากลเสกขึ้นเพื่ออำพรางความเป็นจริงที่น่าขยะแขยงเท่านั้นเอง

เชิงอรรถ

[1] ความเชื่อแบบสองขั้วขาว-ดำเทพ-มารนี้เป็นความเชื่อต่างจากพุทธศาสนาที่มองมนุษย์ทุกคนว่าต่างก็มีกิเลสรักโลภโกรธหลงอยู่ด้วยกันทุกคนไม่มากก็น้อยสิ่งที่ต้องกำจัดคือ “มาร” ในตนเอง มิใช่ไปเข่นฆ่าผู้อื่นที่เห็นว่าเป็น “มาร”แม้แต่ในเรื่องกรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถือเป็น “นวัตกรรม”ไม่ใช่เรื่องกรรมดำกรรมขาว แต่คือ “กรรมไม่ดำไม่ขาว”ซึ่งนำไปสู่ความสิ้นกรรมและสิ้นทุกข์ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6195&Z=6386

[2] แปลมาจาก http://asiancorrespondent.com/49580/thai-columnist-buddhist-principles-and-not-democracy-is-the-answer-to-thailands-ills/

[3] จากการสืบค้น ไม่พบคำว่า “ธรรมาภิบาล” ปรากฎในพระไตรปิฎกส่วนคำว่า “ธรรมาธิปไตย” พบอยู่อยู่ในสังคีติสูตรอย่างย่อๆ ( http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=4901&w=อธิปเตยยะ ๓ อย่าง) และมีขยายความไว้ในอธิปไตยสูตร (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3827&Z=3899) ซึ่งกล่าวถึงวิธีการตั้งจิตทำสมาธิสามวิธี คือ อัตตาธิปไตยโลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตย นั่นคือ การตั้งจิตโดยการพิจารณาเอาตนเป็นหลักเอาโลกเป็นหลัก หรือเอาธรรมเป็นหลัก ซึ่งใช้ได้เหมือนกันทั้งสามอย่างไม่ต่างกันมิได้เป็นเรื่องการเมืองการปกครองอย่างที่มักเอามาอ้างกันเป็นตุเป็นตะแต่อย่างใด

[4]http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000073794

[5] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1325926414

[6]http://www.prachatai.com/journal/2009/12/26979

[7] ๑. พลเมืองเหล่าใด ในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมักเขม้นในกสิกรรมและโครักขกรรมขอพระองค์จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่พลเมืองเหล่านั้นในโอกาสอันสมควร ๒.พลเมืองเหล่าใด ในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมักเขม้นในพาณิชยกรรมขอพระองค์จงเพิ่มทุนให้แก่พลเมืองเหล่านั้น ในโอกาสอันสมควร ๓. ข้าราชการเหล่าใดในบ้านเมืองของพระองค์ขยันขอพระองค์จงพระราชทานเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนแก่ข้าราชการเหล่านั้นในโอกาสอันสมควรhttp://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=3478&Z=4398

[8]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=1189&Z=1702

[9]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=2607&Z=2870

[10]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

[11]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=205&w=เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน

[12] ดาวน์โหลดได้จาก http://www.openbase.in.th/files/justice.pdf

[13] หน้า 99

[14]http://www.fordham.edu/halsall/mod/1963Kennedy-peacestrat.html

[15]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6765

[16]http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=27&A=251&w=พกชาดก

[17]http://www.sacred-texts.com/bud/j1/j1041.htm