Damned if they're monks; damned if they're gay
เลื่อนอ่านภาษาไทยด้านล่าง
SERIOUS allegations must be backed up by serious evidence. Unfortunately, two combustible ingredients - sensitivity around Buddhism and underlying homophobia - have been mixed by those with a personal agenda and blown up into a national obsession. Even after the northern abbot at the centre of a controversy had already left the monkhood, new spurious claims of homosexual acts are being made to destroy the reputations of several senior monks. This is absurd in a society where most people no longer bat their eyelids at heterosexual monks' violations of the same celibacy vow.
Now that the dust of homophobia is stirred up, many Thais seem to be out on a witch hunt, demanding the "purging" from the monkhood of all monks with effeminate traits, whose mannerisms allegedly breach the monastic rules, the Vinaya.
While monks must be held in high esteem and Vinaya violations must be addressed, none of the 227 precepts for monks explicitly addresses gender-specific mannerisms or the effeminate stylising of monks' robes. In fact, categorical defrocking, regardless of the nature of an offence, follows neither the letter nor the spirit of the Vinaya.
This whole episode reminds of the general intolerance towards female "monks" - yet to be recognised due to poor technical reasons. Fear of the unfamiliar reigns over reason. Most worrying is when blame is levied at senior monks for having ordained effeminate monks in the first place.
Our society seems to conveniently forget that, unlike those in the Buddha's time, Thai temples have always played the additional role of schools, especially for those from less fortunate backgrounds. Besides, ordination is also a cultural obligation expected of boys and men to ensure their parents’ afterlife place in heaven.
It's hypocritical to object to the slightest degree of effeminacy in would-be monks, while other males get ordained regardless of their behaviour. To bar some by saying that it's possible for them to be a good Buddhist without becoming a monk begs the question why anyone should want to enter the monkhood at all.
Although monastery life is not compulsory in Buddhism, it is preferable to worldly life for those serious about spiritual advancement. In "Samanyaphala Sutta", the Buddha pointed to 14 benefits of monastic life in the here and now, stating that "the household life is close and dusty. The homeless life is free as air. It is not easy, living the household life, to live the fully prefected holy life, purified and polished like a conch-shell".
It has often been objected that, according to the Vinaya, "pandakas" are barred from ordination. But the exact meaning of the two-millennia-old Pali word will probably never be settled. While many are ready to equate the word with all homosexuals and katoeys, the only thing most scholars seem to agree on is that one category refers to those with mixed or unambiguous sex organs. Another category, however, is vague enough to mean anyone who has watched pornography.
The Buddha said that all humans can be trained, pointing out the oneness of human kind regardless of physical characteristics or social status. Not only did he anticipate the modern principle of human rights, he went one better.
Buddhism's core teaching of compassion urges us not just to put others on an equal standing but to put ourselves in their shoes. Relevant to the issue at hand, the Buddhist cannon contains the story of Elder Soreyya, who not only got ordained but also became enlightened, despite having displayed same-sex attraction and having had "gender changes" - twice.
Although the Thai Sangha is not always free of prejudice - especially regarding female ordination - it seems so far willing to err on the side of compassion in the case of those with obvious male anatomy. On the other hand, the "guilty before proven otherwise" attitude among lay Thais demanding that all effeminate monks be defrocked contradicts the examples of the Buddha, who laid down each Vinaya rule only after a transgression occurred.
Their eagerness to pass moralistic judgement is also based on mere appearance rather than the essence of Buddhism. While blaming the clergy for the "degeneracy: of Buddhism, under their holier-than-thou veneer lurks a massive dose of hypocrisy.
Interestingly, the uproar against effeminate monks in the North closely followed Chiang Mai's specific crackdown on katoey prostitutes. It is paradoxical that while some are being expelled from the path of light, other members of the same group are being chased away from dark corners. This catch-22 stance towards katoeys as a group exposes the widespread prejudice that views transgenderism as a form of sexual aberration or, worse, misconduct.
This is evident even at the government level, as no government authorities have shown much interest whether transgender people are allowed their rightful place in Thai society. Shunned from traditional male roles, they cannot yet be legally recognised as a woman either. Many businesses still don't take transgender clients, let alone job applications. The lack of respect for their rights should put all Thais to shame.
Even more serious than the question of effeminate monks is this: With neither compassion nor respect for human rights, what kind of moral authority does Thai society speak from, let alone subject itself to? If some citizens are still being treated this way, how can we begin to discuss the rights of migrant workers or refugees?
Like the protestors against the Chiang Mai Gay Pride parade who paint katoeys as "kheud" or "kalakini" (evil/unlucky) through their own prejudices and superstitious beliefs, some who call themselves Buddhists have been saying that the presence of effeminate monks is causing a crisis of faith. Ironically, the opposite may be true. Blatant discrimination against lesbians, gays and transgenders may shake the faith of Thais of such nature and those believing in equality and justice.
However, the Thai Sangha can turn this "crisis" into an opportunity by encouraging public compassion for fellow Buddhist gays, lesbians and transgenders. It should also embrace a more inclusive ordination approach, while keeping a watchful eye on the conduct of all monks according to monastic rules. Accepting all well-conducted individuals into the monkhood, gender identity notwithstanding, is the true path for the Sangha in the Buddha's footsteps.
By doing so, it will be in good company. Tibetan Buddhism, for example, is known to be in favour of the female "monk" institution and supports the human rights of homosexuals. The Dalai Lama's office has issued a statement saying that, "His Holiness opposes violence and discrimination based on sexual orientation. He urges respect, tolerance, compassion and the full recognition of human rights for all."
เป็นพระก็โดนแช่ง เป็นกะเทยก็โดนด่า
(ฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น วันที่ 6 มีนาคม 2552)
ข้อกล่าวหาร้ายแรงจำเป็นต้องมีหลักฐานที่แน่นหนามาสนับสนุน มิใช่กล่าวหากันอย่างเลื่อนลอย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าเสียใจที่ปัจจัยไวไฟสองอย่าง คือ ความละเอียดอ่อนในประเด็นใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา กับความรังเกียจเกย์และกะเทย ถูกนำมาผสมกันโดยผู้มีวัตถุประสงค์แอบแฝง จนระเบิดกลายเป็นประเด็นร้อนระดับชาติ
ถึงแม้ ว่าเจ้าอาวาสวัดทางเหนือที่เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่องอื้อฉาวในครั้งนี้จะ สึกออกไปแล้วก็ตาม แต่กลับยังมีความพยายามในการใส่ร้ายป้ายสีอย่างเลื่อนลอยเพื่อทำลายชื่อ เสียงศรัทธาในพระผู้ใหญ่หลายรูป โดยไร้หลักฐานที่น่าเชื่อถือ เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องที่น่าขันในสังคมที่คนส่วนใหญ่เลิกตกอกตกใจต่อ กรณีการละเมิดพรหมจรรย์ระหว่างพระกับสีกาในลักษณะปาราชิกเช่นเดียวกัน
เมื่อมีผู้เตะให้ฝุ่นเถ้าของความรังเกียจเกย์และกะเทยเข้าตา คนไทยจำนวนมากจึงตกอยู่ในภาวะ “ล่าแม่มด” และต้องการจับ “พระตุ๊ด เณรแต๋ว” สึกออกไปให้หมดจากวงการสงฆ์ โดยกล่าวหาว่ากิริยาเช่นนั้นเป็นการละเมิดพระวินัย
ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องถูกต้องที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัดเพื่อให้สมกับการเป็นที่เคารพนับถือ และการละเมิดพระวินัยใดๆ ก็ตามจำเป็นต้องได้รับการจัดการ แต่ในความเป็นจริงแล้วศีล 227 ข้อสำหรับพระภิกษุนั้น ไม่มีข้อใดโดยเฉพาะที่บัญญัติถึงกิริยามารยาทหรือการห่มจีวรว่าแบบใดเป็นชายหรือแบบใด “ออกหญิง” ดังนั้นการบังคับให้สึกทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงข้อกล่าวหาการละเมิด ย่อมไม่เป็นไปตามพระวินัยทั้งโดยอรรถหรือพยัญชนะ
เรื่องนี้คล้ายกับอคติที่มีต่อภิกษุณีซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมด้วยข้ออ้างทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สมเหตุสมผล และเป็นการปล่อยให้ความหวาดระแวงต่อสิ่งไม่คุ้นเคยมาปกคลุมการใช้สติปัญญา ที่น่าวิตกที่สุดคือการที่สังคมชี้นิ้วโทษพระผู้ใหญ่ที่เป็นอุปัชฌาย์บวชให้กับพระเณรเหล่านี้
สังคมไทยดูเหมือนจะแกล้งทำลืมว่า วัดของไทยไม่เหมือนกับวัดในสมัยพุทธกาล เพราะมีหน้าที่เพิ่มเติมเป็นเสมือนโรงเรียนสำหรับให้การศึกษากับเด็กที่มีฐานะเป็นผู้ยากไร้ในสังคม นอกจากนี้ การบวชยังได้กลายเป็นหน้าที่ทางวัฒนธรรมสำหรับทุกคนที่เกิดเป็นชายซึ่งพ่อแม่หวังจะได้ “เกาะชายผ้าเหลือง” ไปสวรรค์
ดัง นั้นการต่อต้านไม่ให้ผู้ที่มีลักษณะออกสาวบ้างแม้แต่เล็กน้อยได้บวชจึงเป็น เรื่องไม่ยุติธรรม ในขณะที่คนอื่นๆ บวชได้โดยไม่ถูกซักไซ้ตัดสินเรื่องความประพฤติแต่อย่างใด หากจะใช้ข้ออ้างว่าทุกคนสามารถเป็นชาวพุทธที่ดีก็ได้โดยไม่ต้องบวช ก็ต้องเตรียมตอบคำถามได้ด้วยว่า ถ้าอย่างนั้น (คนอื่นๆ) จะบวชกันไปทำไม
แม้ว่าการออกบวชจะไม่เป็นเรื่องบังคับ แต่ในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่าชีวิตทางโลกสำหรับผู้ที่มีความปรารถนาปฏิบัติธรรม ในสามัญญผลสูตร ของสุตตันตปิฎก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชี้ให้เห็นถึงอานิสงค์ของการบวช 14 ประการที่เห็นผลได้ในชาตินี้ และตรัสว่า “ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย”
มักมีผู้แย้งว่า ในพระวินัยนั้นห้าม “บัณเฑาะก์” บวช แต่ความหมายของคำภาษาบาลีอายุกว่าสองพันปีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันไม่รู้จบ ในขณะที่บางคนอาจจะเหมาสรุปเอาว่าหมายถึงเกย์และกะเทย แต่ดูเหมือนสิ่งเดียวที่นักวิชาการสายพุทธจะเห็นตรงกันคือ หนึ่งในประเภทของ “บัณเฑาะก์” นั้นหมายถึงคนที่มีอวัยวะเพศกำกวมหรือมีทั้งสองเพศพร้อมกัน ส่วน “บัณเฑาะก์” ประเภทอื่นๆ นั้นมีความหมายคลุมเครือ โดยหนึ่งในนั้นอาจเหมาห้ามรวมไปถึงผู้ใดก็ตามที่เคยเสพสื่อโป๊มาก่อน
อย่างไรก็ดี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า มนุษย์ทั้งมวลเป็นสัตว์ที่ฝึกสอนได้ และชี้ให้เป็นถึงความเป็นเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกันทุกคนแม้จะมีความแตกต่างทางด้านร่างกายและสถานะสังคม คำสอนของพระองค์ไม่เพียงแต่ล้ำหน้าหลักสิทธิมนุษยชนถึงสองพันปี แต่ยังสั่งสอนสิ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่า เพราะคำสอนหลักของพระพุทธศาสนาในเรื่องความเมตตากรุณานั้น สอนให้เราไม่ใช่แค่เห็นคนอื่นเสมอภาคเท่าเทียมกันเท่านั้น แต่สอนให้เราเอาใจเขามาใส่ใจเรา
แม้แต่ในประเด็นนี้โดยเฉพาะ ในพระไตรปิฎกยังมีหลักฐานเรื่องของพระโสไรยยเถระ ผู้ไม่เพียงแต่ได้รับการบวชแต่ยังบรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แม้ว่าในประวัติของท่านนั้นจะปรากฏว่าท่านเคยมีจิตปฏิพัทธ์กับชายด้วยกันและยังเคยเปลี่ยนจากเพศชายกลายเป็นหญิงและหญิงกลับมาเป็นชาย
แม้ว่าจะยังมีอคติทางเพศอยู่บ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นภิกษุณี แต่ในกรณี “พระตุ๊ด เณรแต๋ว” ที่ไม่ชัดเจนทางพระวินัยนี้ วงการสงฆ์ไทยได้แสดงให้เห็นการใช้แนวทางโอนอ่อนผ่อนปรนเพื่อให้ความเมตตาแก่ทุกคนที่เกิดมามีร่างกายเป็นชาย
ในทำนองกลับกัน ฆราวาสชาวไทยจำนวนมากที่มีทัศนคติ “ตัดสินว่าผิดโดยไม่ต้องพิสูจน์” เพื่อต้องการกำจัด “พระตุ๊ด เณรแต๋ว” ให้หมดสิ้นนั้น ขัดแย้งกับตัวอย่างขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติพระวินัยแต่ละข้อก็ต่อเมื่อหลังจากมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น
ความกระหือรือที่จะใช้ศีลธรรมส่วนตัวมาตัดสินในลักษณะนี้ ยังมีที่มาที่ไปเกิดจากทัศนคติตื้นเขินต้องการ “รักษา” ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนามากกว่าที่จะเป็นไปตามเนื้อหาและจิตวิญญาณของพระธรรม ในขณะที่ชี้นิ้วโทษพระเถระว่าทำให้ศาสนาเสื่อม “ชาวพุทธ” จำนวนมากกลับเป็นพวกมือถือสากปากถือศีลเสียเอง
ที่น่าสนใจคือ การต่อต้าน “พระตุ๊ด เณรแต๋ว” ในภาคเหนือนั้นเกิดขึ้นติดๆ หลังการกวาดล้างกะเทยขายบริการบริเวณท่าแพในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเรื่องน่าฉงนที่ในขณะที่คนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งถูกขับไล่จากทางสว่าง อีกส่วนหนึ่งก็ถูกตามจับในบริเวณมุมมืดต่างๆ ของสังคม การที่คนกลุ่มนี้ “โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง” แสดงให้เห็นอคติในสังคมส่วนใหญ่ที่เห็นว่าการข้ามเพศของกะเทยเป็นความผิดปกติทางเพศหรือแม้แต่เห็นว่าเป็นการประพฤติผิดทางเพศไปเลย
แม้แต่ในภาครัฐ ก็ไม่เคยมีหน่วยงานใดใส่ใจว่ากะเทยจะมีพื้นที่ยืนอยู่อย่างยุติธรรมในสังคมหรือไม่ นอกจากจะไม่ได้รับการต้อนรับในบทบาทผู้ชายตามธรรมเนียมวัฒนธรรมแล้ว คนกลุ่มนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับการยอมรับทางกฎหมายเป็นผู้หญิงด้วย ในทำนอง “เป็นผู้หญิงก็โดนแช่ง เป็นผู้ชายก็โดนด่า” ธุรกิจหลายแห่งห้ามแม้แต่ลูกค้าที่เป็นคนข้ามเพศเข้า ดังนั้นคงไม่ต้องพูดถึงการรับพนักงานที่เป็นกะเทยเข้าทำงาน การที่สังคมไม่เคยให้ความเคารพต่อสิทธิของคนกลุ่มนี้เป็นเรื่องที่น่าอับอาย สำหรับคนไทยทุกคน
เรื่องสำคัญมากไปกว่าเรื่อง “พระตุ๊ด เณรแต๋ว” ยังมีอีก นั่นคือ คำถามที่ว่า ถ้าสังคมไทยไม่รู้จักเรื่องความเมตตากรุณา แถมยังไม่รับรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน แล้วสังคมไทยมีรากฐานทางศีลธรรมอันใดที่จะมาวัดตัดสินผู้อื่น (อย่าว่าแต่จะนำไปใช้ตัดสินตนเอง) ถ้าแม้แต่พลเมืองคนไทยด้วยกันยังได้รับการปฏิบัติเช่นนี้ แล้วเราจะไปพูดถึงเรื่องสิทธิแรงงานข้ามชาติหรือสิทธิผู้ลี้ภัยได้อย่างไร
ดังเช่นผู้ประท้วงต่อต้านขบวนพาเหรดเชียงใหม่เกย์ไพรด์ที่หาว่าเกย์และกะเทยนั้น “ขึด” (อัปมงคล, กาลกิณี) จากอคติและความเชื่องมงายส่วนบุคคล ผู้ที่เรียกตนเองว่า “ชาวพุทธ” บางคนกลับพูดว่า “พระตุ๊ด เณรแต๋ว” ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่ความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งคือสิ่งที่กลับกัน การเลือกปฏิบัติอย่างไร้หิริโอตตัปปะต่อเกย์ เลสเบี้ยน และกะเทยโดยคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธ ก็อาจสั่นคลอนความศรัทธาของพี่น้องคนไทยอื่นๆ ที่เป็นเกย์ เลสเบี้ยน และกะเทยหรือผู้ที่มีใจรักความยุติธรรมและความเสมอภาค
อย่างไรก็ดี วงการสงฆ์ไทยสามารถเปลี่ยนสิ่งที่สังคมเห็นว่าเป็นวิกฤตนี้ให้กลับเป็นโอกาสได้ ด้วยการส่งเสริมให้สังคมพุทธมีความเมตตากรุณาต่อพี่น้องคนไทยที่เป็นเกย์ เลสเบี้ยน และกะเทย นอกจากนี้ยังควรเปิดกว้างในเรื่องการบวชไม่ว่าหญิงหรือชาย โดยจับตามองความประพฤติของพระทุกรูปให้เป็นไปตามพระวินัย การเปิดยอมรับผู้มีความประพฤติดีทุกคนให้เป็นพระ “สุปฎิปัณโณ” ที่น่านับถือ โดยไม่จำกัดเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศแต่ดั้งเดิม น่าจะเป็นหนทางที่แท้จริงตามรอยพระพุทธบาท
หากทำได้เช่นนี้แล้ว วงการสงฆ์ไทยก็จะสามารถยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่กับคณะสงฆ์ที่ได้รับความนับถือในประเทศอื่นๆ ตัวอย่างเช่น คณะสงฆ์ทิเบต เป็นที่ทราบดีว่าองค์ดาไลลามะสนับสนุนการบวชภิกษุณีซึ่งเป็นสถาบันพุทธบริษัทที่ขาดหายไป และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนรักเพศเดียวกัน สำนักเลขานุการขององค์ดาไลลามะได้เคยออกแถลงการณ์ว่า “องค์ดาไลลามะต่อต้านการใช้ความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติที่มีสาเหตุจากวิถีทางเพศ และขอเรียกร้องให้เกิดความเคารพ ขันติธรรม ความเมตตากรุณา และการยอมรับสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ทุกคน”