Angulimala, samurais and red shirts: responsibility for action
นวนเจีย อดีตรองเลขาธิการของเขมรแดง ระหว่างถูกดำเนินคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
Please scroll down for English
ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น วันมาฆบูชา 18-19 กุมภาพันธ์ 2554
บทความนี้กับอีกหนึ่งบทความ ("ชาวไทย "พุทธ" มีความเชื่อเรื่องกรรมที่นอกรีตยิ่งกว่าพวกเดียรถีย์หรือไม่?") ได้ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่และตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Oxford Centre for Buddhist Studies Vol. 2 ภายใต้ชื่อ "Decoding Two 'Miracles' of the Buddha")
องคุลีมาล ซามูไร และคนเสื้อแดง
"ในเมื่อไม่มีเจตนาก็ไม่บาป"[1]
ชาวพุทธส่วนใหญ่คงจะยอมรับคำพูดประโยคนี้ว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา เช่นในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตแม้ว่าแพทย์เจ้าของไข้จะทำหน้าที่รักษาอย่างเต็มความสามารถแล้วก็ตาม แต่คำพูดเดียวกันนี้กลับน่าขนหัวลุกเมื่อถูกนายนวนเจีย สหายหมายเลข 2 ของเขมรแดงนำมาพูดให้อดีตลูกสมุนเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของพวกตนเอง หลังจากการขึ้นสู่อำนาจของเขมรแดงทำให้เพื่อนร่วมประเทศตายไปนับล้านๆ คน
ที่จริงนวนเจียก็ไม่ผิดไปเสียทั้งหมดที่คิดว่า เจตนามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในศาสนาพุทธ พระพุทธองค์ทรงชี้ว่า เจตนาที่อยู่เบื้องหลังการกระทำของเรานั่นเองที่คือ "กรรม" ไม่ใช่ตัวการกระทำ แม้ว่าความหมายดั้งเดิมของคำว่า "กรรม" จะแปลว่าการกระทำก็ตาม ดังนั้นตามแนวคิดของนวนเจียแล้ว อดีตลูกน้องที่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่ “เอามาเป็นเรื่องส่วนตัว” ก็ไม่ได้ก่ออกุศลกรรมแต่อย่างใด
ผู้เขียนเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธแนวความคิดปรัชญา “ใบอนุญาตฆ่า” ของนวนเจียไว้ในพระสูตรที่โด่งดังบทหนึ่ง แม้ว่าประเด็นสำคัญนี้อาจจะถูกมองข้ามมาจนถึงปัจจุบัน
เหยื่อของเขมรแดงมีไม่เว้นแม้แต่เด็ก
องคุลิมาลสูตรเล่าเรื่องของโจรองคุลีมาลที่พยายามตามทำร้ายพระพุทธองค์ที่ทรงเดินอย่างสงบ แต่ก็ตามไม่ทันจนต้องหยุดด้วยความหมดแรง เมื่อองคุลีมาลตะโกนให้พระพุทธองค์หยุด ก็กลับต้องพบกับความงงงวยและที่สุดถึงกับโยนดาบทิ้งปวารณาตัวขอบวชเป็นสาวก เมื่อได้ยินคำของพระพุทธองค์ที่ว่า "เราหยุดแล้ว องคุลีมาล ท่านก็จงหยุดด้วยเถิด"
อรรถกถามักอธิบายว่า “หยุด” ของพระพุทธองค์นั้นหมายถึงการหยุดกระทำความรุนแรงต่อผู้อื่น และพระสูตรนี้มักถูกใช้เป็นตัวอย่างของพระกรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ที่สามารถทำให้แม้แต่ผู้ที่มีจิตใจหยาบช้าที่สุดกลับใจได้ และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมนุษย์ทุกคนในการเข้าถึงพระธรรม
นักวิชาการด้านพุทธศาสนา ปิยะ แทน อธิบายเพิ่มความลึกให้กับฉากปาฏิหาริย์นี้ด้วยการเปรียบเทียบการไล่ตามพระพุทธเจ้าขององคุลีมาลว่า เป็นเหมือนซิไซฟัสในตำนานกรีก (ผู้ถูกสาปให้กลิ้งหินขนาดใหญ่ให้ถึงยอดเขา แต่เมื่อใกล้ถึงหินก็กลับกลิ้งลงมาอีก – อาจเป็นต้นกำเนิดสำนวนเข็นครกขึ้นภูเขา?) โดยสิ่งที่ไม่ไปถึงไหนในกรณีนี้ไม่ใช่แค่เท้าขององคุลีมาลเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงพัฒนาการด้านจิตใจของเขาด้วย
จุดอ่อนของคำอธิบายแต่ดั้งเดิมนี้คือ ไม่ได้เข้าถึงเจตนาที่อยู่เบื้องหลังการกระทำอันโหดเหี้ยมขององคุลีมาลอย่างเพียงพอ ปัญหาที่ใหญ่ไปกว่านั้นอีกก็คือ ไม่ได้อธิบายข้อเท็จจริงที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ แม้ว่าจะทรงเคยห้ามไว้เองในที่อื่นๆ ในพระไตรปิฎก (เช่นเดียวกับกรณียมกปาฏิหาริย์ ซึ่งผู้เขียนได้เสนอคำตอบไว้ในอีกบทความหนึ่งก่อนหน้านี้ [2]) การใช้ปาฏิหาริย์ที่เป็นข้อยกเว้นอย่างเดียวไม่ทรงตำหนิ คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หรือการใช้ปาฏิหาริย์เป็นเครื่องมือในการสั่งสอนธรรม
พระพุทธองค์ทรงเป็นที่ลือเลื่องในด้านกุศโลบายใช้วิธีสั่งสอนที่เหมาะสมต่อพื้นเพของผู้ฟัง แต่สาส์นที่ว่า การฆ่าคนเป็นสิ่งเลวร้าย นั้นเป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้วจนแทบไม่จำเป็นต้องพูดออกมา (ไม่ต้องถึงขนาดแสดงปาฏิหาริย์แถมอีกด้วย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อองคุลีมาล ผู้นับเป็นนักเรียนปราดเปรื่องที่สุดคนหนึ่งในตักศิลาที่เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดของชมพูทวีป
ในบทความวิชาการเรื่อง "องคุลีมาลเป็นใคร" ศาสตราจารย์ริชาร์ด กอมบริช ผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีได้ให้เหตุผลสรุปไว้อย่างน่าเชื่อถือว่า แท้จริงแล้ว องคุลีมาลซึ่งกล่าวกันว่าเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น เป็นผู้บูชาพระศิวะเจ้าผู้เป็นใหญ่ในการทำลาย
พระพุทธเจ้าทรงโปรดโจรองคุลีมาล (จิตรกรรมฝาผนังวัดพระยืน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์)
ในความเชื่อตามปรัชญาศาสนาพราหมณ์ระบบต่างๆ รวมถึงลัทธิบูชาศิวะมีฐานความเชื่อว่า ถ้าไม่เอา “อัตตา” ไปยึดติดกับการกระทำหรือผลของการกระทำ ก็ไม่ทำให้เกิดกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านภารตวิทยา โยฮานส์ บรองคฮอร์ส เพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า การเข้าถึงสภาวะจิตใจ “ไม่ยึดติด” ดังกล่าวนี้จะสูงส่งยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าเป็นการกระทำอุทิศถวายแก่พระเจ้า ดังนั้นสำหรับองคุลีมาลแล้ว การฆ่าคนเพื่อบูชาพระศิวะไม่เพียงแต่ไม่เป็นกรรม แต่ยังช่วยล้างกรรมอื่นๆ แต่เดิมให้หมดสิ้น นำไปสู่การหลุดพ้นจากสังสารวัฏอันเป็นทุกข์
ทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายว่า เหตุใดองคุลีมาลที่ปราดเปรื่องและเคยมีจิตใจดีงามมาก่อน กลับปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์ที่สั่งให้ไปฆ่าคนพันคนตัดนิ้วมาคล้องคอ [3] เพราะถ้าวิชาที่องคุลีมาลศึกษาเรียนรู้คือการแยก “อัตตา” ออกจากการกระทำ หลักฐานที่จะพิสูจน์ความสำเร็จของเขาได้เป็นอย่างดีก็คือ ปฏิบัติการที่โหดเหี้ยมน่าสะพรึงกลัวทำให้คนตายมากมายโดยไม่สะทกสะท้าน
หากองคุลีมาลเพียงแค่ตายด้านทางอารมณ์ต่อความรุนแรง คำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่าองคุลีมาลยังไม่หยุดใช้ความรุนแรงก็จะฟังดูเหมือนกำปั้นทุบดิน เช่นเดียวกับการบอกเจ้าของเขียงเนื้อหมูว่ามือเปื้อนเลือด ซึ่งคงคิดตอบในใจว่า “แล้วไง ไม่บอกก็รู้”
แต่ถ้าองคุลีมาลตายด้านต่อความรุนแรงด้วยความเชื่อปรัชญา แง่มุมถกเถียงทางความคิดที่อยู่ในคำตรัสของพระพุทธองค์ก็น่าที่จะทำให้องคุลีมาลต้องประหลาดใจอย่างเป็นที่สุด เหมือนกับการบอกนักบวชว่า การบูชาพระเจ้าที่เขาทำมาตลอดชีวิตนั้นจะนำไปสู่นรกต่างหาก แน่นอนว่า คำตรัสนั้นต้องทำให้องคุลีมาลสะดุ้งตาสว่างขึ้น เหมือน “ดวงจันทร์ออกจากเงากำบังของเมฆ”
ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า องคุลีมาลยังไม่หยุดนั้น จึงน่าจะไม่ได้แค่ทรงตำหนิความโหดเหี้ยมขององคุลีมาล หากแต่ยังเป็นการหักล้างปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังความโหดเหี้ยมนั้น คือ ปรัชญาว่าด้วยการระงับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี การที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ตัวพระองคุลีมาลที่บวชแล้วให้พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เห็นตัว ก็ไม่ได้เป็นแค่ชัยชนะของความเมตตากรุณาเหนือการใช้ความรุนแรง แต่ยังเป็นชัยชนะทางปรัชญาอีกด้วย
ศาสนาพุทธเน้นย้ำการมีสติอยู่กับการกระทำของเราเองตลอดเวลา สำหรับพระพุทธองค์แล้ว เราไม่สามารถแยกเอา “ตัวตน” ออกจากการกระทำได้ เพราะ “ตัวเรา” นี้ก็คือผลรวมของเจตนาทั้งหลายที่แสดงออกเป็นการกระทำเหล่านั้นนั่นเอง การกระทำต่างๆ ไม่ว่าจะในนามพระเจ้า ความเชื่อ อุดมการณ์ ลัทธิ หรือสถาบันใดๆ ก็ไม่อาจทำให้เราหมดความรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการกระทำนั้นได้
อีกอย่างหนึ่งที่ก่อนหน้านี้ดูผิดที่ผิดทาง แต่ตอนนี้ดูมีเหตุผลมากขึ้น คือ ประโยคสองประโยคที่พระพุทธเจ้าทรงให้พระองคุลีมาลพูดเป็นการแสดงวาจาสัตย์ ทำไมจึงต้องทรงให้องคุลีมาลพูดประโยคแรกที่ว่า "ข้าพเจ้าไม่เคยมีเจตนากระทำความรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตทั้งปวง" ในเมื่อทั้งพระพุทธองค์และองคุลีมาลต่างก็รู้ดีว่าไม่เป็นความสัตย์จริง
หัวใจของประโยคนี้อยู่ที่คำว่า "เจตนา" ซึ่งทำให้ข้อความประโยคนี้เป็นการเปิดโอกาสให้องคุลีมาลประกาศละทิ้งปรัชญาความเชื่อเดิมอย่างเปิดเผย
องคุลีมาลคนเดิมที่เคยฆ่าคนบูชาพระศิวะจะพูดประโยคดังกล่าวได้อย่างเต็มปาก เพราะอ้างว่าไม่เคยมีเจตนาร้ายใดๆ ต่อเหยื่อของตนไม่ต่างกับนวนเจีย แต่พระองคุลีมาลที่บวชแล้วจะไม่สามารถพูดประโยคดังกล่าวได้ ส่วนประโยคที่สองนั้นเท่ากับพระพุทธองค์ทรงเปิดโอกาสให้พระองคุลีมาลยืนยันการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ โดยประกาศว่า ไม่เคยกระทำความรุนแรงใดๆ โดยเจตนานับตั้งแต่ได้ “เกิดใหม่” เป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
ดังนั้นองคุลิมาลสูตรจึงไม่ใช่เป็นแค่เรื่องแสดงความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า แต่ยังแสดงถึงปัญญาของพระองค์ที่ใช้ความรับผิดชอบทางศีลธรรมอย่างมีสติเข้าต่อสู้กับปรัชญาที่สอนให้คนลืมความรู้สึกผิดชอบชั่วดี การอ่านพระสูตรนี้แค่เป็นเรื่องการพัฒนาจิตใจของคนใจบาปคนหนึ่งจึงเป็นการปิดช่องไม่ให้สังคมไทยได้เรียนรู้พื้นฐานด้านศีลธรรมที่ศาสนาพุทธสามารถมอบให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่คนไทยจำนวนหนึ่งหันไปเดินตามรอยเส้นทางเปื้อนเลือดก่อนบวชขององคุลีมาลมากขึ้นเรื่อยๆ
“อภิสิทธัตถะ” กับ “องคุลีมาร์ค”
ก่อนการกวาดล้างกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมประท้วงรัฐบาลในเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาจนเกิดผลร้ายแรงมีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยคน ได้มีเสียงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ปฏิบัติหน้าที่ในการทำให้กรุงเทพมหานครกลับสู่ความสงบเรียบร้อย”
เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเสียเลือดเสียเนื้อที่น่าจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ผู้เรียกร้องบางคนจึงยกอ้างเอาบทสำคัญจากคัมภีร์ฮินดู ภควัตคีตา ในตอนที่พระกฤษณะอันเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ กระตุ้นให้เจ้าชายอรชุนปฏิบัติหน้าที่ของตนในวรรณะกษัตริย์ด้วยการทำสงครามกับลูกพี่ลูกน้องของตนเอง บทกวีบทหนึ่งที่เขียนถึงนายกรัฐมนตรีขึ้นต้นว่า “รบเถิด อภิสิทธิ์”
พระกฤษณะ (ปางหนึ่งของพระศิวะ) กล่อมให้อรชุนออกรบกับญาติตัวเอง คำสอนดังกล่าวเรียกว่า คัมภีร์ภควัตคีตา เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ
มหาตมะคานธีและนักคิดฮินดูสมัยใหม่แปลความหมายข้อความในภควัตคีตา ดังเช่นที่ว่า “จงถือเอาความสุขและความเจ็บปวดเสมอกัน ถือเอาลาภและการเสื่อมลาภอย่างเท่ากัน ถือเอาชัยชนะและความพ่ายแพ้อย่างเสมือนกัน แล้วจงเตรียมตัวสำหรับการทำศึก ดังนี้แล้วบาปจะไม่ตกแก่เจ้า” ว่าเป็นเรื่องของการต่อสู้ด้านจิตวิญญาณภายใน
ในขณะเดียวกันกลุ่มหัวรุนแรงศาสนาฮินดูกลับจะแปลความหมายข้อความเช่นนี้ว่า เป็นการสนับสนุนการทำสงครามอย่างเอาเป็นเอาตายด้วยเลือดเนื้อจริง สิ่งที่ซ่อนอยู่ในการตีความหมายเช่นนี้ คือความเชื่อแบบพราหมณ์โบราณที่ว่า หากแยก “ตัวตน” ออกจากการกระทำหรือผลของการกระทำแล้ว จะไม่ทำให้เกิดกรรมหรือความรับผิดชอบด้านศีลธรรมใดๆ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การไม่เอาตัวเข้าไปยึดติดกับการกระทำ มีค่าเท่ากับการไม่ได้กระทำ
ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า องคุลีมาลน่าจะยึดถือลัทธิโบราณนี้ ว่าเป็นวิถีทางไปสู่การหลุดพ้น จนกระทั่งความเชื่อของเขาถูกเปลี่ยนโดยพระพุทธองค์ในองคุลิมาลสูตร ที่จริงแล้วคงน่าประหลาดใจ หากพระพุทธองค์ไม่ได้แสดงความเห็นต่อทฤษฎีความหลุดพ้นในรูปแบบศาสนาพราหมณ์เช่นนี้ เพราะทรงได้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันทางสังคมแบบพราหมณ์อย่างถึงพริกถึงขิงโดยเฉพาะในเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะ และทรงโต้แย้งกับเจ้าลัทธิหลักอื่นๆ ในเรื่องวิถีทางนำไปสู่การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอีกด้วย
แต่ความเชื่อขององคุลิมาลเช่นนี้ไม่ได้เป็นเรื่องพ้นสมัยไปเลยเสียทีเดียว หากแต่ยังเกี่ยวพันมาถึงปัจจุบัน เพราะความเชื่อนี้มักถูกนำมาปะปนสับสนกับคำสอนของพุทธศาสนา คำพูดของนวนเจียหรือสหายหมายเลข 2 ที่บิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อ “ล้างบาป” ให้กับความโหดร้ายของเขมรแดงดังที่ยกไว้ในตอนต้นของบทความนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น
ศาสนาพุทธนิกายเซ็นเป็นรากฐานของบูชิโด หรือวิถีแห่งนักรบของญี่ปุ่น และเป็นเครื่องมือช่วยสร้างความกล้าหาญให้ซามูไรมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจเปื้อนเลือดและพร้อมเผชิญหน้าความตาย ไบรอัน วิคตอเรีย ผู้เขียนหนังสือ “เซ็นในสงคราม” กล่าวสรุปไว้ว่า “มีความเชื่อแบบเซ็นอย่างหนึ่งที่ว่า เราสามารถก้าวข้ามความดีความชั่วได้ และเมื่อทำได้แล้ว การกระทำทุกอย่างจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติตามสัญชาติญาณ เมื่อเราเชื่อว่า ความคิดแยกแยะผิดชอบชั่วดีเป็นเรื่องไม่สำคัญอีกต่อไป หรือไม่ใช่แค่ไม่สำคัญแต่ยังเป็นสิ่งที่ต้องละทิ้ง จริยธรรมก็จะละลายหายไปหมด”
ศาสนาพุทธเป็นรากฐานปรัชญานักรบของซามูไรจริงหรือ?
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำพุทธชาวญี่ปุ่นกล่าวปกป้องการขยายอำนาจทางการทหารของญี่ปุ่นว่า เป็นการทำสงครามอย่างชอบธรรมกับความชั่วร้ายที่ “ต้องกวาดล้างอย่างปราศจากความหวั่นไหว” สิ่งที่ถูกนำมาอ้างว่าเป็นศาสนาพุทธในที่นี้จริงๆ แล้วคล้ายกับลัทธิขององคุลีมาลมากกว่า เพราะคงไม่มีอะไรที่ห่างไกลจากคำสอนของพระพุทธเจ้ามากไปกว่าสงครามและการใช้ความรุนแรง
ผู้ที่เรียกร้องให้นายกอภิสิทธิ์ “จัดการ” กับพี่น้องร่วมชาติ อาจมีโมหะจริตคิดว่าตนเองเป็นพระกฤษณะกลับชาติมาเกิด แต่แท้จริงแล้วน่าจะเปรียบเทียบตนเองกับอาจารย์ขององคุลีมาลที่สั่งให้เขาไปปฏิบัติการอันโหดเหี้ยมจะเหมาะกว่า ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง กองเชียร์รัฐบาลผู้หนึ่งก็ให้สมญากับนายกว่า “อภิสิทธัตถะ” แต่ผู้อื่นที่ไม่เห็นด้วยกับการ “ขอคืนพื้นที่” อันนองเลือดกลับเรียกนายกอย่างไม่เกรงใจว่า “องคุลีมาร์ค” การผสมชื่อเล่นของนายกเข้ากับชื่อองคุลีมาล ยังเป็นการตอกย้ำจุดยืนของพุทธศาสนาที่ว่า การกระทำตามหน้าที่ไม่ได้ทำให้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกคำสั่งให้ใช้ความรุนแรงหรือผู้ปฏิบัติตามคำสั่ง
แน่นอนว่าองคุลิมาลสูตรคัดค้านการใช้ความรุนแรง แต่อาจคิดได้ไปไกลกว่านั้นว่าแท้จริงแล้วเป็นพระสูตรเกี่ยวกับแนวคิด “การระงับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี” ที่ฆาตกรรมเป็นเพียงแค่อย่างหนึ่งในบรรดาผลลัพธ์อื่นที่เป็นไปได้มากมาย ดังนั้นแล้วองคุลิมาลสูตรจึงไม่ได้เป็นเรื่องของทหารและผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
เชื่อกันว่า เจ โรเบิร์ต ออปเปนไฮเมอร์ ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของโครงการแมนฮัตตัน อ่านคัมภีร์ภควัตคีตาเพื่อสร้างความสงบในจิตใจและช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับบทบาทสำคัญของเขาเองในการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ชุดแรกของโลก ออปเปนไฮเมอร์เป็นตัวอย่างที่แสดงได้เป็นอย่างดีว่า การระงับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนๆ หนึ่งอาจมีผลกระทบต่อความเป็นความตายของคนนับล้านๆ คนได้อย่างไร แม้ว่าเขาจะเพียงแค่ “ทำตามหน้าที่”
ภาพวาดถ่ายทอดวินาทีที่ออปเปนไฮเมอร์เห็นแสงวาบของระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกที่ตนเองเป็นผู้สร้าง และอุทานประโยคหนึ่งในคัมภีร์ภควัตคีตาที่ว่า "Now I am become Death, destroyer of worlds" (วาดโดยศิลปิน Yuri Loenov)
ที่น่าสะพรึงกลัวไปกว่านั้น คือ การระงับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในวงกว้างนั่นเอง ที่ทำให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรืออาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นได้ ดังกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยนาซี นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน แทซิทัส เข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ที่สุดเมื่อเขาเขียนไว้ว่า “อาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุดนั้น มีคนไม่กี่คนกล้าจะทำ มีคนอีกหลายๆ คนอยากจะทำ และมีคนทั้งหมดนิ่งเฉยยอมให้เกิดขึ้น”
"องคุลิมาลสูตร" ในความหมายกว้างจึงไม่ได้สื่อสารไปถึงแค่ผู้ใช้ความรุนแรง ผู้สนับสนุน และผู้สมคบคิด แต่ยังสื่อสารไปถึงคนที่ยอมให้ความรุนแรงเกิดขึ้นได้โดยนิ่งเฉย ภาพยนตร์เรื่อง "The Reader" เมื่อปีที่แล้วเป็นภาพยนตร์ทรงพลังที่แสดงให้เห็นความรู้สึกผิดและความทุกข์ทรมานในจิตใจของชาวเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ต่างกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหลายล้านคนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะแค่ด้วยการ “ทำตามหน้าที่” หรือการเอาหูไปนาเอาตาไปไร่
ในยุคสงครามเย็น พระกิตติวุฑโฒได้เคยประกาศว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เมื่อปีที่แล้วความรู้สึกยินยอม “อนุญาตให้ฆ่า” เช่นเดียวกันนั้นหวนกลับมาทวีขึ้นอย่างรุนแรงน่ากลัวต่อกลุ่มคนเสื้อแดง หากดูจากเสียงเซ็งแซ่ที่จะให้ “จัดการ” กับผู้ประท้วงเหล่านั้นก็จะพบว่ามีองคุลีมาลในคราบ “ชาวพุทธ" อยู่มากมายในสังคมไทย
ในศตวรรษที่ 21 นี้ มี “ศาสนา” จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่คอยบอกเราว่า การทำทุกอย่างเพื่อปกป้องสิ่งมีค่าทางจิตใจทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ชอบธรรม แม้ถึงขนาดต้องใช้ความรุนแรงถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นสิ่งสูงส่งขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นความสามัคคีภายในชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ เสรีภาพ ประชาธิปไตย สันติภาพ สิ่งแวดล้อม ความยุติธรรม ความเสมอภาค หรือสิทธิมนุษยชน เรายังคงต้องมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมที่จะตั้งมั่นในสติและควบคุมตนเองมิให้ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความรุนแรงนั้นถูกกระทำในนามของเรา ไม่ว่าจะเป็นขบวนการของเรา สังคมของเรา หรือประเทศของเรา
ชาวพุทธต้องยึดมั่นในวิถีสันติวิธีของพระพุทธเจ้า เพราะคำสอนของพระองค์ไม่เปิดช่องให้เราหลีกเร้นจากความรับผิดชอบทางศีลธรรมไปแอบซ่อนอยู่หลังลัทธิความเชื่อหรืออุดมการณ์ใดๆ ไม่ว่าชั่วขณะใดก็ตาม ผู้ที่ฝักใฝ่การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เช่นเรียกร้องให้ทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับใช้ศาสนาชาตินิยม ควรตั้งใจฟังเสียงของพระพุทธองค์ที่ว่า "เราหยุดแล้ว องคุลีมาล ท่านจงหยุดด้วยเถิด"
อ้างอิง
[1] http://www.economist.com/node/16703377
[2] http://www.facebook.com/notes/paisarn-likhitpreechakul/ชาวไทย-พุทธ-มีความเชื่อเรื่อ/149248388420669
[3] ศ.กอมบริช เน้นว่า เรื่องคำสั่งอาจารย์นี้เป็นเรื่องที่อรรถกถาเพิ่มมาในภายหลังและไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีส่วนนี้ก็ไม่กระทบต่อสาระสำคัญแต่อย่างใด
This article and another ("Are Thai Buddhists More Heretical Than the Heretics?") were combined and re-published in the Journal of the Oxford Centre for Buddhist Studies Vol. 2 under the title "Decoding Two 'Miracles' of the Buddha")
The Nation, February 18-19, 2011 (For Magha Puja Day)
http://www.nationmultimedia.com/2011/02/18/opinion/Angulimala-samurais-and-red-shirts-responsibility--30148943.htmlhttp://www.nationmultimedia.com/2011/02/19/opinion/Angulimala-samurais-and-red-shirts-responsibility--30148996.htmlPART I
"You did not have any intention, therefore you did not commit any sin." Most Buddhists will accept this statement as true to the Buddha's teachings when, for example, it involves a doctor who lost a patient's life despite the best professional effort. However, it is chilling when used by Nuon Chea, the Khmer Rouge's "Brother Number 2" to convince his subordinates of their innocence after their reign of terror caused millions of deaths.
Nuon Chea was not wrong to think of intention as paramount in Buddhism. The Buddha pointed at volition behind our deeds as the "karma" - not the action per se, even though "karma" originally means "action". According to Nuon Chea, therefore, no bad karma is incurred if one merely follows orders without "taking it personally". The author believes that the Buddha specifically rejected Nuon Chea's philosophical "license to kill" in a famous discourse, although this important point has until now been overlooked. Angulimala Sutta tells of the eponymous brigand who exhausted all his speed and strength while trying to attack the serenely-paced Buddha. Angulimala shouted for the Buddha to stop, only to be perplexed and converted when he was told, "I've already stopped, Angulimala. You stop, too."
Tradition explains that the Buddha referred to cessation of violence against other beings, and the discourse is considered a lesson in the redemptive power of the compassionate Buddha and the universal human potential for spiritual progress. Buddhist scholar Piya Tan adds depth to this miraculous scene by describing Angulimala's chase after the Buddha as a Sisyphean run in which what went nowhere was not only Angulimala's feet but also his spiritual development.
The shortcoming of the traditional explanation is that it doesn't sufficiently touch on the intention behind Angulimala's gruesome acts. An even bigger problem is that it doesn't explain the fact that the Buddha here performed a miracle despite his own prohibition of them elsewhere in the Cannon. (The same paradox applies to the Twin Miracle to which the author proposed an answer in a previous article.) The only exception to this reproach is the use of miracles as a teaching tool. The Buddha is known for his skillful means, tailoring his teachings to suit the audience's predispositions. But the obvious message that murder is unwholesome is so painfully obvious it's hardly worth being spelt out - much less accompanied with a miracle - to Angulimala, who was said to be among the brightest students at Taxila, the "Oxford of ancient India".
In his paper "Who Was Angulimala?", Pali scholar Richard Gombrich brilliantly concluded that Angulimala, son of a Brahmin chaplain, was in fact an early worshipper of Shiva, the god of destruction. At the foundation of Brahmanical philosophies, which include Shivaism, is the belief that no karma is incurred if one does not attach oneself to the actions or their results. According to Indologist Johannes Bronkhorst, obtaining this mental attitude can be facilitated by making the physical acts an act of sacrifice - to Shiva in Angulimala's case.
By supposedly eliminating all karma this way, Angulimala would hope to attain liberation from the cycles of rebirth and associated sufferings. This would explain why the hitherto kind and intelligent Angulimala came to follow his teacher's instruction to kill a thousand victims. If his education was the doctrine of detaching himself from actions, a gruesome mission with a high death toll would be a perfect proof of his success.
Had Angulimala only been emotionally insensitive to blood, then the Buddha's statement that he hadn't ceased violence would have sounded obvious - like a butcher being told that his hands are bloody - and solicited a "So what?" response. But if Angulimala had been philosophically desensitised to violence, then the Buddha's argumentative viewpoint would truly have caught him by surprise - like a high priest being told his lifelong worship actually leads to hell. It would certainly jolt Angulimala into an awakening - like a "moon coming out of hiding cloud".
So when the Buddha said that Angulimala hadn't stopped incurring karma, it was not only Angulimala's violence that was rebuked but also its underpinning philosophy of moral suspension. The Buddha's presentation of the converted Angulimala to the king, therefore, declares not only a triumph of compassion over violence but also a philosophical victory. Buddhism emphasises mindfulness over our actions at all time. For the Buddha, we can never detach ourselves from or deny responsibility for our deeds because we are the sum of volitions reflected in them. Committing action in the name of a god, belief, ideology, cause, regime or institution doesn't lessen our moral responsibility.
Other things that previously looked out of place and now make better sense are the two statements the Buddha gave Angulimala to proclaim. Why did the Buddha bother to give Angulimala the first version, "I have not intentionally committed violence to all beings", which both knew full well to be false? The key word here is "intentionally". This first statement can be considered an opportunity for Angulimala to openly disavow his former belief. Similar to Nuon Chea, Angulimala the Shiva worshipper would have no problem uttering it because he would claim no intention whatsoever against his victims. However, the converted Angulimala couldn't say it. The second version the Buddha gave allowed Angulimala to confirm his transformation, declaring that he hadn't intentionally committed any violence since he was (re)born into the Buddhist order.
"Angulimala Sutta", therefore, is a story not only about the Buddha's compassion but also his wisdom, countering moral suspension with mindful moral responsibility. To read it merely as a tale of an individual man's spiritual struggle deprives Thai society of the moral foundation that Buddhism has to offer, especially now that more and more people are following Angulimala's former murderous path.
PART II
Prior to last May's crackdown on red-shirt anti-government protestors, which disastrously resulted in dozens of deaths, there were calls for Prime Minister Abhisit to perform his duty and "return Bangkok to normalcy". To justify the foreseeable bloodshed, some of these callers cited a key part from the Hindu sacred scripture "Bhagavad Gita" when the demigod Krishna urged Arjun to perform his soldierly duty by going to war with his own cousins. A poem dedicated to prime minister cried out, "Go to war, Abhisit!"
Although Mahatma Gandhi and most modern Hindu thinkers would interpret Gita verses like "Holding pleasure and pain alike, gain and loss, victory and defeat, then gird thyself for battle; thus thou shalt not get evil" as addressing a spiritual battle inside oneself, fundamentalists see it literally as a validation for an actual war. Imbued in such an interpretation is the ancient Brahmanical belief that no karma - and, therefore, moral responsibility - is incurred if one detaches oneself from the actions or their results. In other words, not committing oneself to an act is as good as not committing it.
As proposed in yesterday's first part of this article, this ancient doctrine was likely held by Angulimala as a liberation philosophy before it was rebuked by the Buddha in Angulimala Sutta. Indeed, it would have been surprising if the Buddha hadn't dealt with this kind of Brahmanical soteriology after having extensively criticised its social institutions - particularly the caste system - and debated with other main rival schools on how to free oneself from cycles of rebirth. But this kind of belief is far from being a thing of the past - not least because it's often confused with the Buddha's teachings.
Khmer Rouge "Brother Number 2" Nuon Chea's distortion of Buddhism to excuse the Khmer Rouge's atrocities, cited in yesterday's article, is but one example. Zen Buddhism underpinned Japan's Code of Bushido - "the way of the warrior" - and equipped samurais with bravery in the face of death, as well as the determination to carry out their bloody tasks. Brian Victoria, author of "Zen At War", summarized: "There is a Zen belief that you can transcend good and evil. And once you've done this, you act in a spontaneous and intuitive manner. Once you believe that discriminating thought is no longer important - in fact, that not only is it not important, but that it has to be discarded - then all ethical concerns disappear."
During the Second World War, many Japanese Buddhist leaders cited Buddhism to defend Japan's militaristic expansion, calling it a just war against evils that "must be unflinchingly prosecuted". What passes here as Buddhism is actually closer to Angulimala's religion, as nothing can be further removed from the Buddha's teachings than war and violence. While those who called on Prime Minister Abhisit to crack down on fellow citizens may have the grand delusion of being modern-day Krishnas, they are more appropriately compared to Angulimala's teacher who sent him on a bloody mission.
Rather than the title "Abhi-Siddhatta" coined by a government cheerleader to echo the Buddha's birth name, others unflatteringly called the prime minster "Anguli-Mark" for the resulting bloodshed. Combining his nickname with Angulimala also highlighted the Buddhist position that doing something out of duty doesn't make one less responsible for it - no matter if it's those who authorise violence or those who carry out the order. Although Angulimala Sutta obviously censures violence, it is arguably more about moral suspension, of which murder is but one possible result. Therefore, it applies not only to soldiers and their commanders.
J. Robert Oppenheimer, the scientific director of the Manhattan Project, is believed to have read verses from the Gita to calm his mind and justify his central role in building the world's first nuclear bombs. His case is a great example of how one man's moral suspension can affect the lives and deaths of millions, even though he was "just doing his job". "Now I am become Death, destroyer of worlds" (by artist Yuri Loenov) Even more chillingly, it is moral suspension on a grand scale that allows great atrocities like the Holocaust and genocides to happen. Roman historian Tacitus understood this best when he wrote, "The worst crimes were dared by a few, willed by more and tolerated by all."
"Angulimala Sutta", in its broad sense, speaks not only to aggressors, their supporters and accessories, but also to those who keep silent, allowing violence to happen. Last year's film "The Reader" powerfully portrays the guilt and anguish of post-war Germans who, in their own ways, became accomplices to the Holocaust by "just doing their jobs" or turning a blind eye. A Thai monk during the height of the Cold War infamously proclaimed, "It's not sinful to kill communists".
A similar "license to kill" sentiment became extremely loud last year against red-shirt protesters. Judging from the noises clamouring for a crackdown, there are many Angulimalas in our society in the guise of "Buddhists". In this 21st century, there are more and more to-die-for "religions" which tell us it is righteous to "do everything necessary" to safeguard those values - violently if unavoidable.
But no matter how noble a cause is - national unity, the monarchy, freedom, democracy, peace, the environment, justice, equality or human rights - it is our moral responsibility to be vigilant and stop ourselves from directly or indirectly doing violence to other human beings. Neither can we keep silent when violence happens, especially when it's committed in our name as a movement, society or country. We must be firm in the Buddha's path of non-violence because the Buddha's teachings don't allow us to hide from our moral responsibility behind any doctrine or cause at any time.
Those who favour violence as a means to end conflicts - for example, inciting a war with a neighbouring country to serve the religion of nationalism - should listen carefully and hear the Buddha's word: "I've stopped, Angulimala. You stop, too."