Can the good people still save Thailand from itself?

The Nation, 14 June 2011

The upcoming election is unique in that among the thousands of campaign posters are some with pictures of animal "candidates" - monitor lizards, dogs, monkeys, etc.

These are the brainchild of the People's Alliance for Democracy's (PAD) "No" vote campaign to discourage voters from legitimising beastly politicians. This is a continuation of the yellow-shirt insistence on the comprehensive evil of politicians, starting with the alleged "Dark Lord" himself -ousted former premier Thaksin Shinawatra. The PAD was the most vocal in calling for the 2006 coup that removed Thaksin, and for a majority-appointed Parliament, allegedly as a means to counter the power of evil politicians.

Their discourse finds resonance among many of Bangkok's middle class, who are clamouring for khon dee (good people) to be elected. It's hoped these khon dee will once and for all flush out the pollution in Thai politics, which has long been applied with the description nam nao (murky water).

To continue the dramatic language, they seem to be hoping for a "god from a machine". Often in ancient Greek drama, a god - hoisted from stage machinery - would be introduced to the action to bring a contrived conclusion to a play.

Deus ex machina came to refer to the plot device of conveniently producing something out of the blue in order to resolve seemingly intractable situations. The ploy is considered a failure of imagination on the writer's part because it's used in absolute disrespect to the internal logic of the story just to achieve a desired ending.

Similarly, the khon dee discourse is inimical to democracy because it renders the whole effort meaningless. Democracy is a process in which everyone is allowed an equal voice. Not just a series of elections, it has built-in elements - constitution, elections, referenda, and institutional as well as check-and-balance mechanisms - without which it can hardly be called a democracy. It has been shown to successfully solve conflicts in many societies in every continent. And none of them required deus ex machina in order to work.

The khon dee discourse shifts the blame onto democracy when in fact it's Thailand itself that has failed. Rather than doing the required heavy lifting in establishing and maintaining democratic mechanisms, our "Thai-style democracy" always looks for shortcuts. In our love of hierarchies and fear of the slightest discord, we prefer coup-leaders, appointed government and, now, khon dee to bark down orders for us. Such an ending leaves everyone feeling cheated. The military-installed Surayud khon dee government, for example, was hardly the miraculous sword that some hoped would cut the Gordian knot and solve the problems for everyone.

But let's entertain the idea for the sake of argument. Let's consider who are khon dee? Are they those most responsive to the interests of their constituents? Those who swear allegiance to the monarchy? Or those who adhere strictly to ideal principles? And what are these ideal principles? Transparency, freedom, equality, human rights? Or are they Buddhist precepts, and if so, how many? Five, eight or 227?

Suppose we can even agree on the definition of khon dee, it's still difficult to see how they can "salvage" Thai politics. In Buddhism, dharma is said to be good in the beginning, middle and end. It's not enough to have good intentions and expect good results. One must also ensure that the middle - the process or system - is good.

The Buddha recognised a good system when he saw one. That's why when the end of his life approached he modelled his society of monks not after the imperialistic Magadha kingdom but the Vajjian republic - arguably the world's oldest democracy, predating the Buddha himself. Deliberately leaving no successor, the Buddha set up monastic rules requiring monks to be regularly subjected to mutual examination, just as politicians should be.

Although individual khon dee are desirable in any system, a full-fledged democracy has its own safeguards against abuses by corrupt individuals. On the other hand, it's the autocratic systems that need khon dee. In a way, the khon dee discourse is a quiet acceptance that our "Thai-style democracy" is far from being democratic. It is also a smoke screen preventing Thai society from paying attention to our unfinished system, in which many elected khon dee become corrupt when left with unchecked power.

While a good system doesn't need everyone to be beyond reproach, khon dee can use a good system to effectively solve problems. And this is where those clamouring for khon dee should be careful what they wish for. We are all imperfect - a mixed bag of greed, ill will and ego. That's why our systems are filled with the same. Our greed is reflected in a market that allows free exploitation of labour and the environment, our ill will in a military ready to step in to suppress dissenting voices, our ego in the nationalistic cult that looks down on neighbouring countries.

We also have an economy that produces one of the world's worst disparities, a society in which some are more equal than others, and a culture that prefers impunity to truth. These structural flaws are causes of grievances for a great number of Thais - whether or not they call themselves red-shirt - and need immediate reform. It's naive to expect peace and reconciliation unless there's fairness and justice.

The only way khon dee can solve these problems - if among earthlings like us, Bodhisattavas can be found willing to take on the job - is for each of us to realise that change must start with ourselves through sacrifice. Without such willingness to change, we will just be throwing one future-Buddha after another under the bus while we drive our Mercedes to business as usual.

In Samuel Beckett's play "Waiting for Godot", two men wait day in, day out for someone by the name of Godot without knowing what he looks like, when he will come, or what he'll do. While many Thais have already woken up and been busy analysing Thai society through the lens of the play’s characters -Pozzo the master and Lucky the slave - the joke must be on those still desperately waiting for Godot.


จะรอพระอินทร์ (คนดี) ไปถึงเมื่อไหร่

(ต้นฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น วันที่ 14 มิถุนายน 2554)

http://www.nationmultimedia.com/home/2011/06/14/opinion/Can-the-good-people-still-save-Thailand-from-itsel-30157712.html

การเลือกตั้งที่จะถึงนี้มีสิ่งที่ต่างออกไปจากเดิมๆ อยู่อย่างหนึ่ง คือ ในบรรดาป้ายโฆษณาหาเสียงต่างๆ มีป้ายที่แสดงภาพ “ผู้สมัคร” เป็นสิงห์สาราสัตว์ต่างๆ เช่น ตัวเงินตัวทอง, ควาย, หมา, ลิง เป็นต้น ซึ่งเป็นผลงานของโครงการรณรงค์ให้ประชาชน “โหวตโน” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยหวังป้องกันไม่ให้นักการเมืองเลวเข้าสภา

กลยุทธ์นี้เป็นภาคต่อของแนวความคิดคนเสื้อเหลืองที่เห็นนักการเมืองเลวอย่างถ้วนหน้า เริ่มตั้งแต่หัวแถว "เจ้าแห่งแหวน" คือ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นผู้ออกมาเคลื่อนไหวเสียงดังที่สุดในการเรียกร้องให้ทหารทำรัฐประหารในปี 2549 และเรียกร้องให้สภามีสัดส่วนผู้มาจากการแต่งตั้งมากกว่าการเลือกตั้ง เพื่อต่อสู้กับพลังความชั่วร้ายของนักการเมือง

วาทกรรมนี้ได้รับเสียงตอบรับจากชนชั้นกลางจำนวนมากในกรุงเทพมหานครที่เรียกร้องอยากให้ มีแต่ “คนดี” เป็นผู้แทนในสภา และสอดคล้องกับคำกล่าวโบราณว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี” ที่ระลึกย้อนไปถึงสมัยเมืองหลวงเก่าที่เชื่อกันว่าเป็นยุคทองของชาติไทย เป็นที่หวังกันว่า “คนดี” เหล่านี้จะมาช่วยขับไล่ความเน่าเหม็นไปจากการเมืองไทย ที่มักถูกเปรียบเทียบว่าเป็นน้ำเน่า ไม่ต่างกับละครโทรทัศน์ห่วยๆ แต่หากจะใช้ภาษาละครมาเปรียบเทียบจริงๆ น่าจะเรียกได้ว่า พวกเขากำลังเรียกร้องหา “dues ex machina” มากกว่า

“dues ex machina” แปลตรงตัวว่า เทพเจ้าจากเครื่องจักรกล มาจากละครกรีกโบราณ ที่มักจะมีการเขียนเรื่องให้เทพเจ้ามาปรากฏตัวในยามคับขัน (โดยใช้รอกหรือเครื่องมือยกให้ลอยในอากาศ) เพื่อช่วยให้เรื่องราวดำเนินต่อไปหรือจบลงได้อย่างแฮปปี้เอนดิ้ง คำนี้จึงกลายมาเป็นคำใช้เรียกเทคนิคการเล่าเรื่องอย่างชุ่ยๆ ที่อยู่ๆ ก็สร้างตัวละคร ของวิเศษ หรือเหตุการณ์ปาฏิหาริย์อะไรบางอย่างขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยเพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะไม่มีทางออก

ถ้าเปรียบกับนิยาย จักรๆ วงศ์ๆ ของไทย ก็น่าจะเป็นตัวพระอินทร์ที่มักจะเกิดเจ็บสะเทือนก้น เพราะอาสนะที่ปกติจะอ่อนนุ่มเกิดแข็งกระด้างเป็นหินอย่างกะทันหัน เป็นสัญญาณบอกว่ากำลังเกิดสถานการณ์เดือดร้อนในโลกมนุษย์ พระอินทร์จึงต้องเหาะลงมาช่วยกู้สถานการณ์อยู่เสมอ เทคนิคอย่างนี้ในทางศิลปะถือว่า เป็นความสิ้นคิดอย่างสิ้นเชิงของผู้แต่ง เพราะไม่คำนึงถึงตรรกะเหตุผลที่มาที่ไปใดๆ ของเรื่องทั้งสิ้น หมดมุขนึกอะไรไม่ออกก็แต่งให้พระอินทร์เหาะมาช่วย เพียงเพื่อให้เรื่องดำเนินต่อไปหรือจบลงได้อย่างที่ต้องการ

วาทกรรม “คนดี” ก็เช่นกัน เป็นความสิ้นคิดและการทำลายระบอบประชาธิปไตย เพราะทำให้องค์ประกอบความพยายามอื่นๆ หมดความหมายไปทั้งหมด ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ทุกๆ คนมีเสียงเท่ากัน (ไม่ว่าจะดีจะชั่วเพียงใด) แต่ประชาธิปไตยไม่ใช่เป็นแค่การเลือกตั้ง แต่หากยังมีเครื่องมืออื่นๆ คือรัฐธรรมนูญ การลงประชามติ กลไกการคานอำนาจและตรวจสอบทั้งในภาคสถาบันและภาคประชาชน ที่หากขาดไปแล้วก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยได้ ในสังคมมากมายในทุกทวีปทั่วโลกมีการนำประชาธิปไตยไปใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ อย่างได้ผล โดยไม่จำเป็นต้องให้พระอินทร์ลงมาช่วยแต่อย่างใด

วาทกรรม “คนดี” เป็นการเอาความผิดมาโยนให้กับระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่จริงแล้วประเทศไทยต่างหากที่ล้มเหลว หาใช่เป็นความล้มเหลวของประชาธิปไตยไม่ เพราะแทนที่จะอดทนขะมักเขม้นสร้างและรักษากลไกประชาธิปไตยต่างๆ แต่ระบบ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” กลับชอบที่จะหาทางลัดอยู่ตลอดเวลา เพราะเรารักการแบ่งชนชั้นอำนาจนิยมและเกลียดกลัวความขัดแย้งแม้แต่เพียงขี้เล็บ เราจึงชอบที่จะให้หัวหน้าคณะรัฐประหาร, รัฐบาลแต่งตั้ง หรือ “คนดี” มาคอยสั่งให้หันซ้ายหันขวา แต่ทางออกแบบนี้มีแต่จะทำให้ทุกคนรู้สึกเหมือนถูกโกงในตอนจบ รัฐบาลสุรยุทธ์หลังรัฐประหารที่ได้รับการรับรองว่าเป็นคนดีก็ไม่ได้เป็นพระเอกขี่ม้าขาวแก้ปัญหาประเทศชาติได้อย่างที่ใครหวัง

แต่ลองสมมติตามไอเดียนี้ดูเล่นๆ แล้วมาคิดดูว่า “คนดี” ที่ว่าอยากได้กันนักคือใคร คือคนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องที่ของตัวเองได้มากที่สุด? คนที่ปฏิญาณความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์? คนที่ยึดมั่นต่อหลักการอันสูงส่ง? หลักการที่ว่าคือ ความโปร่งใส เสรีภาพ ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน หรือว่าถือศีล? แล้วถ้าเป็นศีล ควรจะซักกี่ข้อ 5, 8 หรือว่า 227?

แม้แต่เมื่อเราตกลงคำนิยามของ “คนดี” กันได้ ก็ยังยากที่จะมองเห็นว่า "คนดี" จะมากอบกู้การเมืองได้อย่างไร แม้แต่ในทางพุทธศาสนา ธรรมะก็ยังต้อง “งามในเบื้องต้น งามในเบื้องกลาง และงามในเบื้องปลาย” การมีเจตนาดีและหวังผลที่ดีแค่นั้นยังไม่เพียงพอ แต่ยังต้องมีเบื้องกลาง คือ กระบวนการหรือระบบที่ดีด้วย

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นระบบที่ดีก็รู้ว่าเป็นระบบที่ดี ดังนั้น เมื่อใกล้ปรินิพพาน จึงทรงวางรูปแบบการปกครองกันเองของสงฆ์ไว้ตามแบบอย่างของแคว้นวัชชี (ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีมาก่อนพระพุทธเจ้าประสูติ) ไม่ใช่ตามแบบอย่างอาณาจักรมคธของพระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์ทรงเจตนาไม่แต่งตั้งผู้ใดขึ้นมาเป็นผู้ปกครองเหล่าสงฆ์แทนพระองค์ แต่ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ให้พระสงฆ์ปกครองและถูกตรวจสอบกันเอง เหมือนกับที่นักการเมืองควรถูกตรวจสอบ (แต่สงฆ์ไทยในปัจจุบันทำมากแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)

แม้ว่าระบบใดๆ ก็ควรมี “คนดี” แต่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงมีกลไกป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบโดยคนทุจริตอยู่ในตัวของมันเอง ระบอบเผด็จการต่างๆ ต่างหากที่ต้องร้องแรกแหกกระเชอหาคนดีมาเป็นผู้ปกครองเท่านั้น (อาจไม่ใช่เพื่อประชาชน แต่เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง)

ดังนั้น วาทกรรม “คนดี” ในแง่หนึ่งก็เป็นการยอมรับอย่างเงียบๆ ว่า “ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของเรานั้นเป็นประชาธิปไตยเพียงแต่ชื่อ แถมวาทกรรมนี้ยังเป็นม่านบังตาทำให้มองไม่เห็นความบกพร่องของระบบที่ทิ้งให้ “คนดี” ที่ถูกเลือกเข้ามากลายเป็นผู้ใช้อำนาจโดยมิชอบเสียเอง เพราะขาดการตรวจสอบ

ระบบที่ดีไม่จำเป็นต้องให้ทุกคนบริสุทธิ์ผุดผ่องก็ได้ แต่ผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องเหล่านั้นจำเป็นต้องมีระบบที่ดีหากต้องการจะแก้ปัญหาให้ได้ผลอย่างจริงจัง ตรงนี้แหละที่คนที่เรียกร้องหา “คนดี” อาจต้องระวังจะได้สมพรปาก

เพราะพวกเราทุกคนมนุษย์เดินดินประกอบไปด้วยความโลภโกรธหลง ระบบต่างๆ ของเราจึงเต็มไปด้วยสิ่งเหล่านี้เช่นกัน ความโลภของเราถูกสะท้อนอยู่ในระบบตลาดที่เอาเปรียบแรงงานและทำลายสิ่งแวดล้อมตามอำเภอใจ ความโกรธถูกสะท้อนอยู่ในระบบกองทัพที่พร้อมจะตบเท้าเข้ามาปิดปากกลบเสียงของผู้ที่คิดเห็นต่าง ความหลงของเราสะท้อนอยู่ในลัทธิคลั่งชาติที่ดูถูกประเทศเพื่อนบ้าน

เรามีเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดฐานะแตกต่างอย่างเลวร้ายที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก มีสังคมที่คนบางคนบางกลุ่ม “เท่าเทียม” กว่าคนอื่นๆ และมีวัฒนธรรมที่ชอบการนิรโทษกรรมปล่อยให้คนผิดลอยนวลมากกว่าความจริง ความเลวร้ายเชิงโครงสร้างเหล่านี้เป็นสาเหตุของความคับแค้นใจของคนไทยจำนวนมาก (ไม่ว่าพวกเขาจะเรียกตัวเองว่าเสื้อแดงหรือไม่ก็ตาม) และต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว คงจะเป็นการไร้เดียงสาเกินไปที่จะคาดหวังให้เกิดความสงบสุขและการปรองดองได้ ตราบใดที่ยังไม่มีความเป็นธรรมและความยุติธรรม

หนทางเดียวที่ “คนดี” จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ (หากในท่ามกลางมนุษย์เดินดินอย่างพวกเรา ยังสามารถหาเจอผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องเยี่ยงพระโพธิสัตว์ที่ยินดีมารับหน้าที่นี้) คือ การที่พวกเราทุกคนต้องตระหนักว่าความเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มต้นจากการเสียสละของพวกเราทุกคน ตราบใดที่คนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะเสียสละแล้ว ก็เหมือนกับเราถีบส่งพระโพธิสัตว์เหล่านั้นให้ไปตายในระบบแทนเรา ขณะที่พวกเราก็ยังใช้ชีวิตตามแบบเดิมๆ

ในบทละครเรื่อง “เฝ้าคอยโกโดต์” (Waiting for Godot) ของแซมูเอล แบ็คเก็ต มีชายสองคนนั่งรอคนชื่อ โกโดต์ อยู่วันแล้ววันเล่า ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าโกโดต์หน้าตาเป็นยังไง จะมาเมื่อไหร่ หรือมาแล้วจะทำอะไร ในขณะที่คนไทยจำนวนหนึ่งได้ตื่นขึ้นแล้ว และกำลังง่วนอยู่กับการวิเคราะห์สังคมไทยคล้ายกับที่สะท้อนในละครเรื่องนี้ผ่านตัวละครพอสโซ่ที่เป็นนายกับลัคกี้ที่เป็นบ่าว ตัวตลก (ที่น่าเศร้า) ของเรื่องก็คงหนีไม่พ้นคนที่ยังเฝ้าคอยโกโดต์ต่อไปอย่างสิ้นคิด

(หมายเหตุ บทความนี้ได้แรงบันดาลใจจากคำสัมภาษณ์ "เราไม่ต้องการคนดี" ของคุณจิตรา คชเดช ผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับแรงงานและความยุติธรรมในสังคม)