Are Thai Buddhists More Heretical Than the Heretics?
For English, please scroll down
ชาวไทย "พุทธ" มีความเชื่อเรื่องกรรมที่นอกรีตยิ่งกว่าพวกเดียรถีย์หรือไม่?
ฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ในนสพ.เดอะเนชั่น วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2553
บทความนี้กับอีกหนึ่งบทความ ("องคุลีมาล ซามูไร และคนเสื้อแดง") ได้ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่และตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Oxford Centre for Buddhist Studies Vol. 2 ภายใต้ชื่อ "Decoding Two 'Miracles' of the Buddha")
ตอนที่ 1 ยมกปาฏิหาริย์
ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล ชานเมืองอุตรดิตถ์ มีวัดอยู่สามวัดรวมเป็นกลุ่มอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน วัดที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยประทับนั่ง ในขณะที่วัดพระยืนพุทธบาทยุคลมีฐานรูปดอกบัวที่มีรอยพระพุทธบาทประทับยืน และวัดพระนอนพุทธไสยาสน์ประดิษฐานแท่นที่เชื่อว่าพระพุทธองค์เคยประทับนอน
ผู้เขียนเคยไปไหว้พระที่วัดทั้งสามแห่งนี้นับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยไม่เคยนึกว่าทำไมจึงมีสามวัดอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม จนวันหนึ่งมองดูภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ถูกวาดขึ้นใหม่อย่างสวยงามภายในวัดพระยืน ในบรรดาภาพต่างๆ ที่เล่าเรื่องจากพุทธประวัติเหล่านั้น มีอยู่ภาพหนึ่งแสดงพระพุทธองค์หลายพระองค์ในสามอิริยาบถ คือ นั่ง ยืน และนอน ภาพนั้นแสดงเหตุการณ์สำคัญที่ตามตำนานเล่าว่าเกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะเช่นเดียวกับวันนี้ (บทความนี้ตีพิมพ์ในวันอาสาฬหบูชา 26 กรกฎาคม 2553)
เหตุการณ์นั้นนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่ออกจะเป็นปริศนาอยู่ไม่น้อย คัมภีร์ธรรมบทอรรถกถาเล่าเรื่องไว้ดังนี้ พระเถระรูปหนึ่งแสดงอิทธิฤทธิ์เหาะเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเหนือกว่าลัทธิของพวก “เดียรถีย์” หกลัทธิ เมื่อพระพุทธองค์ได้ทราบจึงได้ทรงติเตียนพระเถระองค์นั้นและทรงบัญญัติพระวินัยห้ามการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
พวกเดียรถีย์เมื่อได้ยินดังนั้นก็ยินดี เที่ยวออกไปป่าวประกาศถึงอิทธิฤทธิ์ของตนบ้าง พระพุทธองค์จึงทรงประกาศล่วงหน้าว่าจะแสดงปาฏิหาริย์ด้วยพระองค์เองใต้ต้นมะม่วงในเมืองสาวัตถีที่อยู่ห่างออกไป พวกเดียรถีย์จึงล่วงหน้าไปถอนทำลายต้นมะม่วงทั้งหมดในเมืองนั้นเสียสิ้น แต่เมื่อถึงวันที่กำหนด พระพุทธองค์เสวยมะม่วงผลหนึ่งที่ได้รับถวายและเมื่อเมล็ดถูกนำไปฝังก็พลันบังเกิดต้นมะม่วงยักษ์ขึ้นในพริบตา
จิตรกรรมฝาผนังวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ด้านขวาบนพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ด้านซ้ายมือเห็นปะรำพิธีของพวกเดียรถีย์ถูกพัดเปิดเปิงไป และด้านล่างเห็นพวกสาวกเดียรถีย์กำลังตัดต้นมะม่วง
จากนั้นพระองค์จึงแสดงยมกปาฏิหาริย์ (ยมก แปลว่า คู่ เหมือนกับไม้ยมก) นั่นคือ การเนรมิตรูปของพระองค์เองขึ้นมาคู่กันอีกหนึ่ง เมื่อองค์หนึ่งประทับยืน นั่ง หรือนอน อีกองค์หนึ่งก็จะอยู่ในอีกอิริยาบถหนึ่ง ผลัดกันถามตอบหัวข้อธรรม ตำนานกล่าวว่า ในครั้งนั้นผู้คนจำนวนมากได้บรรลุเป็นโสดาบัน เหตุการณ์ตอนนี้ถือว่าเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของพระพุทธศาสนาต่อลัทธิทั้งหกของเดียรถีย์
แม้ว่าชาวพุทธสมัยใหม่ส่วนใหญ่อาจจะไม่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์เช่นนี้ตามตัวอักษร แต่ก็ยังมีเรื่องหนึ่งที่ต้องขบคิด คือ ข้อเท็จจริงที่ว่าดูเหมือนพระพุทธองค์จะทรงฝ่าฝืนกฎที่พระองค์เองบัญญัติขึ้น ตามตำนานพระพุทธองค์ทรงตอบข้อสงสัยนี้ด้วยการเปรียบเทียบว่า เจ้าของสวนมะม่วงย่อมสามารถห้ามคนอื่นกินมะม่วงแต่ตนเองจะกินเท่าใดก็ได้
วิธีการตอบปริศนาหนึ่งด้วยอีกปริศนาหนึ่งตามที่คัมภีร์ให้ไว้เช่นนี้ไม่น่าจะเป็นคำอธิบายที่น่าพอใจเท่าใดนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าพระพุทธองค์ทรงติเตียนการแสดงอิทธิฤทธิ์ไว้ในที่อื่นๆ ของพระไตรปิฎกอีกด้วย เช่น ในเกวัฏฏสูตร แม้ว่าตำนานจะกล่าวว่าคนจำนวนหลายพันบรรลุโสดาบันจากเหตุการณ์ครั้งนี้ อิทธิปาฏิหาริย์นี้ก็ยังไม่สอดคล้องอยู่ดีกับหลักการของพุทธศาสนาที่ไม่ยอมรับการใช้หนทางที่ผิดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการไม่ว่าจะดีเพียงใด เพราะพระธรรมของพระพุทธองค์นั้นย่อม “งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด”
จริงอยู่ที่อาจคิดได้ว่า วัตถุประสงค์ของปาฏิหาริย์ในครั้งนั้นคือเพื่อน้อมนำจิตใจของผู้ฟังให้พร้อมรับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ แต่ถ้าตัวปาฏิหาริย์เองเป็นแค่รูปแบบที่มีความสำคัญรองไปจากคำเทศนา ก็น่าแปลกที่ในตำนานไม่มีการกล่าวถึงหัวข้อธรรมในครั้งนั้นแต่อย่างใด อาจแย้งได้ด้วยซ้ำว่าแทนที่จะช่วยน้อมนำจิตใจ ตัวปาฏิหาริย์น่าจะเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ฟังออกไปจากคำเทศนาที่ทรงต้องการสอน
ผู้เขียนจึงขอเสนอไว้ในที่นี้ว่า เนื้อหาคำเทศนาของพระพุทธองค์ในครั้งนั้นมีให้เห็นอยู่ต่อหน้าแล้ว และกุญแจไขปริศนาธรรมนี้ก็อยู่ในบริบทของเหตุการณ์นี้เอง
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตำหนิการแสดงปาฏิหาริย์ ได้ทรงยกเว้นไว้อย่างหนึ่ง คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์ในการสั่งสอนธรรม ในตำนานกล่าวว่า ระหว่างการแสดงยมกปาฏิหาริย์นั้น พระพุทธองค์ “ทรงสำรวจเข้าไปในจิตใจของผู้ฟังทั้งมวล… และบรรยายธรรมและแสดงปาฏิหาริย์ที่สอดคล้องกับบุคลิกนิสัยและพื้นเพของแต่ละคน”
เป็นที่แน่ว่าผู้ที่ได้ชมยมกปาฏิหาริย์ครั้งนั้นจำนวนมากต้องเป็นสาวกของลัทธิทั้งหก โดยเฉพาะที่สำคัญและมีผู้นับถือมากที่สุดคือ ลัทธิของพวกนิครนถ์ ซึ่งมีมาก่อนพุทธศาสนา และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็นศาสนาไชนะ (หรือเชน) ที่ยังคงมีผู้นับถืออยู่ในประเทศอินเดียต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ลัทธิของพวกนิครนถ์มีความเชื่อเรื่องกรรมเป็นของตัวเองที่แตกต่างจากของพระพุทธศาสนา สำหรับพวกนิครนถ์แล้ว “กรรม” หมายถึงการกระทำหรือการเคลื่อนไหวทั้งทางร่างกายและจิตใจไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม (ความหมายแรกเริ่มของคำว่า “กรรม” คือ การกระทำ) ดังนั้นเพื่อจะหลุดพ้นจากทุกข์และการเวียนว่ายตายเกิด พวกนิครนถ์เชื่อว่าต้องหยุดสร้างกรรมใหม่ขึ้นและเผาผลาญกรรมเก่าด้วยการบำเพ็ญตบะซึ่งรวมถึงการอดอาหารและการทรมานตนเองด้วยวิธีต่างๆ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก่อนที่จะตรัสรู้ก็ได้ทดลองหาทางหลุดพ้นด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยาในลักษณะเช่นนี้
แต่เมื่อทรงตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงนิยาม “กรรม” เสียใหม่ว่าคือ เจตนาของการกระทำทั้งทางร่างกาย วาจา และจิตใจ ดังนั้นสำหรับชาวพุทธแล้ว หนทางแห่งการหลุดพ้น คือการกำจัดกิเลสซึ่งเป็นต้นเหตุของกรรม การเวียนว่ายตายเกิด และความทุกข์ ไม่ใช่การบำเพ็ญตบะด้วยวิธีทำให้ร่างกายและจิตใจแน่นิ่งไม่ขยับเขยื้อนเหมือนของพวกนิครนถ์
เมื่อมองจากมุมมองของชาวพุทธ เราจึงอาจมองเห็นยมกปาฏิหาริย์เป็นแค่รูปแบบ แต่สำหรับพวกนิครนถ์และเดียรถีย์อื่นๆ แล้ว ความหมายที่ซ่อนอยู่ในปาฏิหาริย์นั้นย่อมปรากฏชัดเจนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะตามคำนิยามของลัทธินิครนถ์แล้ว การเปลี่ยนอิริยาบถก็นับว่าเป็นกรรม ดังนั้นทุกครั้งที่ทรงเปลี่ยนอิริยาบถจากยืนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นนอน จากนอนเป็นยืน พวกนิครนถ์ที่มีความคิดเรื่องกรรมแบบมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้ย่อมต้องตกตะลึงพรึงเพริดกับการที่พระองค์ทรงกล้า "แหก" กฎแห่งกรรมตามแนวความคิดแบบนิครนถ์ ด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างต่อเนื่อง
ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อพระพุทธองค์ทรงเนรมิตร่างขึ้นมาอีกร่างหนึ่ง เท่ากับเป็นการแหกกฎแห่งกรรมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอีกด้วย ดังนั้นยมกปาฏิหาริย์ในสายตาของพวกนิครนถ์ย่อมมีนัยของการเทศนาสั่งสอนถึงความแตกต่างระหว่างความคิดเรื่องกรรมแบบมิจฉาทิฏฐิของพวกนิครนถ์กับความคิดเรื่องกรรมแบบสัมมาทิฏฐืของพุทธศาสนา และแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงปฏิเสธวิธีการกำจัดทุกข์ด้วยการหยุดสร้างกรรมใหม่ตามวิธีของนิครนถ์
ในทำนองกลับกัน เรื่องนี้ย่อมไม่ “สะกิดใจ” ผู้ที่เข้าใจเรื่องกรรมตามแบบพุทธแต่อย่างใด เพราะจากมุมมองชาวพุทธ พระพุทธองค์ทรงทำกรรมให้สูญสิ้นแล้วตั้งแต่เมื่อครั้งตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ดังนั้นถ้าพูดด้วยภาษาคณิตศาสตร์แล้วพระองค์มีกรรมเท่ากับศูนย์ และไม่ว่าจะเนรมิตจำนวนร่างพระพุทธองค์ขึ้นอีกเท่าไร ก็ไม่ทำให้เกิดกรรมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะเลขศูนย์ไม่ว่าจะคูณด้วยอะไรก็ตาม ก็ยังมีค่าเป็นศูนย์ไม่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้นถ้าเราเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์ ก็อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธองค์ทรงใช้ยมกปาฏิหาริย์เป็นปริศนาธรรม เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในที่นั้นที่ส่วนใหญ่เป็นสาวกนิครนถ์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องกรรมแบบมิจฉาทิฐิของตนและเปิดทางให้กับความเชื่อเรื่องกรรมที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฐิตามแบบพุทธศาสนา ในภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงเห็นพวกนิครนถ์ถูกพัดกระเด็นไปโดยปาฏิหาริย์นั้น จึงนับได้ว่ายมกปาฏิหาริย์เป็น “อุปกรณ์การสอน” อย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์มิได้ทรงติเตียนหากแต่ทรงยกย่องสรรเสริญ
ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถ “อ่าน” ยมกปาฏิหาริย์อย่างได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น หากคิดว่าเรื่องเล่าเหตุการณ์ตอนนี้เป็น “เครื่องมือการสอน” อันชาญฉลาดให้กับชาวพุทธเองได้เข้าใจบทเรียนความเชื่อเรื่องกรรมที่ถูกต้องตามแบบของพุทธ และป้องกันไม่ให้ชาวพุทธรุ่นหลังหลงเชื่อแนวความคิดเรื่องกรรมแบบนอกรีตที่ไม่ใช่พุทธศาสนา
ข้อสนับสนุนอื่นที่อาจช่วยยืนยันการ “อ่าน” ยมกปาฏิหาริย์ในความหมายนี้ คือ ตอนที่พวกเดียรถีย์พยายามที่จะทำลายต้นมะม่วงทั้งหมดในเมืองสาวัตถีก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จมาถึง ในพระไตรปิฎกนั้น พืชและผลเป็นอุปมาอุปไมยแทนกรรมและผลของกรรมที่พบบ่อยที่สุด ดังนั้นการถอนต้นมะม่วงของพวกเดียรถีย์ย่อมหมายถึงการพยายามทำกรรมให้หมดสิ้น ส่วนต้นมะม่วงที่งอกขึ้นอย่างปาฏิหาริย์นั้นก็เปรียบเหมือนการย้ำเตือนให้เหล่าเดียรถีย์ได้เห็นถึงความล้มเหลวของตนในการทำให้ถึงที่สุดแห่งกรรม**
นอกจากนี้การอ่านแบบนี้ยังสามารถอธิบายถึงการที่พระองค์ทรงเฉพาะเจาะจงเลือกการแสดงยมกปาฏิหาริย์ โดยทรงปฏิเสธปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ที่สาวกทั้งหลายอาสาจะแสดงแทนพระองค์ไปทีละอย่างทีละอย่าง (แทนที่จะยกพระวินัยห้ามแสดงปาฏิหาริย์ที่บัญญัติไว้แล้วมาห้ามไปทั้งหมดทีเดียว)
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ความหมายที่ซ่อนอยู่ในยมกปาฏิหาริย์นั้นสูญหายไปจากความทรงจำของชาวพุทธส่วนใหญ่ เพราะชาวไทยจำนวนมากในปัจจุบันกลับไปยึดอยู่กับความเชื่อเรื่องกรรมในแบบที่ผิดแผกไปจากที่พระพุทธองค์ทรงสอน และอาจจะนอกรีตเสียยิ่งกว่าความเชื่อเรื่องกรรมของพวกเดียรถีย์เสียอีก
ปะรำพิธีของพวกเดียรถีย์ถูกพัดทำลาย (จิตรกรรมฝาผนังวัดพระยืน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์)
ตอนที่ 2 เดียรถีย์ยุคใหม่
แม้เราจะ “ถอดรหัส” พุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริย์ได้ว่า แท้จริงแล้วเป็นคำสอนหักล้างทฤษฏีเรื่องกรรมในแบบของศาสนาอื่น โดยอยู่ในรูปแบบของเรื่องราวเชิงสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างชาญฉลาด แต่ความเชื่อเรื่องกรรมที่คนไทย “พุทธ” ในปัจจุบันจำนวนมากยึดถือกลับคล้ายคลึงอย่างน่าตกใจกับความเชื่อเรื่องกรรมที่พระพุทธองค์ทรงหักล้างในครั้งนั้น แม้ว่าท่านพุทธทาสและท่านพระธรรมปิฎกจะได้พยายามชำระปฏิรูปพุทธศาสนาในประเทศไทยให้ตรงกับคำสั่งสอนดั้งเดิมของพระพุทธองค์
เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยถูกสอนว่ามีทฤษฎีเรื่องกรรมแข่งขันกันหลายทฤษฎีในสมัยพุทธกาล จึงไม่เข้าใจถึงการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ในด้านความคิดเมื่อพระพุทธองค์ทรงเปลี่ยน “กรรม” จากพลังเหนือธรรมชาติที่ตีกรอบปิดกั้นชีวิตมนุษย์ ให้กลายเป็นความสามารถของมนุษย์เองที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตและพัฒนาจิตใจของตนได้ในปัจจุบัน
พวกนิครนถ์เห็นว่าการนอน นั่ง ยืน เดิน ก็เป็นกรรมไปหมด นอกจากแทบจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับความดีงามแต่อย่างใดแล้ว กรรมยังกลายเป็นกฎเหล็กที่แทบจะหลุดพันไปไม่ได้ นอกจากจะนอนนั่งยืนเดินให้น้อยที่สุด และ (ตามความเชื่อของนิครนถ์) ทรมานตัวเองเพื่อให้หมดกรรมเก่า
คนไทยที่เรียกตนเองว่า "พุทธ" จำนวนมาก แม้จะไม่ได้รับเอาคำนิยามของกรรมแบบนิครนถ์หรือวิธีการทำให้หลุดพ้นกรรมด้วยการทรมานตนเองมาใช้ แต่ก็ยังไปรับแนวความคิดแบบเห็นกรรมเป็นกฎเหล็กมา จนกลายเป็นความหมกมุ่นเรื่อง “ลัทธิเวรกรรมเก่า” ที่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในชาตินี้ถูกลิขิตกำหนดไว้โดยกรรมในชาติก่อน เนื่องจากไม่เข้าใจความหมายของกรรมในแบบของพระพุทธองค์ที่เน้นย้ำถึง “ชาตินี้ เดี๋ยวนี้”
ในพระไตรปิฎกเรียกลัทธิเวรกรรมเก่าเช่นนี้ว่า “ปุพเพกตวาท” และระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นความเชื่อของพวกเดียรถีย์ (ขอแนะนำผู้สนใจให้อ่านหนังสือ “พุทธธรรม” ของท่านธรรมปิฎก หน้า 205-6) แต่น่าตกใจที่คนไทยจำนวนมากกลับนำความเชื่อนี้มายึดถือ และพาลโทษว่าความยากลำบากของชีวิตในปัจจุบันของตนเป็นเพราะเวรกรรมเก่าจากชาติปางก่อนแต่อย่างเดียว แทนที่จะมุ่งมั่นพยายามเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนให้ดีขึ้นตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่เน้นการมองไปข้างหน้า ก็กลับฝักใฝ่อยู่กับการจินตนาการเรื่องชาติก่อนเหมือนเพ่งลูกแก้ววิเศษ จะเห็นได้จากหนังสือจำนวนมากที่หากินกับการ “สแกนกรรม”, “ถอดรหัสกรรม”, “ตามรอยกรรม” และ “แก้กรรม” เป็นต้น
ในสิวกสูตร (สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค) พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธแนวความคิดแบบเดียรถีย์ที่ว่า “บุคคลมีความสุข ความทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เกิดจากกรรมเก่า” ลงอย่างสิ้นเชิง โดยทรงยกตัวอย่างปัจจัยทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และสังคมที่อาจเป็นสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้โดยไม่เกี่ยวกับกรรมเก่า และทรงกล่าวว่าคนที่อะไรๆ ก็โทษกรรมเก่าเป็นสาเหตุนั้น “เชื่อเกินไปจากสิ่งที่รู้ได้ด้วยตนเองซึ่งคนทั่วไปก็ยอมรับว่าจริง”
ในติตถสูตร (อังคุตรนิกาย ติกนิบาต) พระพุทธองค์ยังทรงอธิบายอีกว่า หากทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากกรรมเก่าแล้ว การทำความดีความชั่วต่างๆ ในชาตินี้ก็ต้องเป็นเพราะกรรมเก่ากำหนดไว้ด้วย ไม่ได้ถูกทำไปโดยเจตนาของตนเอง ดังนั้นจึงไม่มีใครต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตน ไม่มีเหตุผล แรงผลักดันหรือความพยายามใดๆ ที่จะทำในสิ่งที่ควรทำ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรทำ จะเห็นได้ว่าความเชื่อดังกล่าวย่อมไม่สมควรเรียกได้ว่าเป็นศาสนา โดยไม่ต้องพูดถึงว่าเป็นศาสนาของพระพุทธองค์ด้วยซ้ำ
ในพระพุทธศาสนาแล้ว “กรรม” หมายถึง เจตนาในการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ และเป็นเครื่องมือในการมุ่งดับทุกข์ในปัจจุบัน ด้วยวิธีการกำจัดความโลภโกรธหลง แต่น่าเสียดายที่คนไทย “พุทธ” ส่วนใหญ่ชอบที่จะไปไหว้พระวัดดังๆ ไปขอพรจากเกจิอาจารย์ชื่อก้อง หรือให้พ่อมดหมอผีช่วยสะเดาะเคราะห์กรรมให้มากกว่า
ความเชื่อแบบอะไรๆ ก็โทษเวรกรรมเก่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้คนหมดความพยายามในการทำความดีละเว้นความชั่ว แต่ยังทำอันตรายให้กับสังคมไทยโดยรวม เพราะถูกใช้เป็นข้ออ้างในการสร้างความถูกต้องให้กับความอยุติธรรมและอคติในสังคม โดยถูกนำมาใช้อธิบายว่าผู้พิการ คนยากจน และผู้หญิงต้องเกิดมาเป็นอย่างนั้นเพราะชาติก่อนทำบุญมาน้อยหรือไม่ก็ทำบาปมาก่อน ยิ่งในปัจจุบันนี้รายการของ “พลเมืองชั้นสอง” ที่ถูกกล่าวหาว่าทำกรรมในชาติก่อนและเกิดมาเพื่อใช้เวรกรรมในชาตินี้ยังได้ขยายรวมไปถึงคนรักเพศเดียวกัน สาวประเภทสอง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี พนักงานบริการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เหยื่ออุบัติเหตุและอาชญากรรม หรือแม้แต่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ
พระพุทธเจ้าไม่เคยหลีกหนีจากประเด็นทางสังคมที่มีความสำคัญ ในภาพคือ เมื่อทรงห้ามสงครามแย่งน้ำระหว่างสองเมือง (จิตรกรรมฝาผนังวัดพระยืน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์)
นับตั้งแต่อดีต ลัทธิเวรกรรมเก่านี้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรการควบคุมทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ในหนังสือ “เงินตรา เซ็กซ์ สงคราม และกรรม” เดวิด ลอย กล่าวไว้ว่า “ความเชื่อเรื่องกรรมถูกนำมาใช้อธิบายและสร้างความถูกต้องให้กับการเหยียดเชื้อชาติสีผิว การแบ่งชั้นวรรณะ การเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ ความพิการแต่กำเนิด หรืออะไรก็ได้ ความเชื่อนี้เมื่อถูกตีความตามตัวอักษรอย่างไม่ลืมหูลืมตายังช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับชนชั้นปกครอง ที่ถูกทำให้เชื่อว่าเกิดมามีทั้งลาภยศและอำนาจวาสนาเพราะกรรมดีในอดีต ดังนั้นจึงสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ปกครองอยู่เหนือกว่าคนที่ไม่มีลาภยศอำนาจวาสนา… หากเราเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์กับโชคชะตามีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลไร้ช่องโหว่ ก็ไม่จำเป็นต้องพยายามสร้างความยุติธรรมทางสังคม เพราะความยุติธรรมมีอยู่แล้วในกฎแห่งกรรมที่เป็นกฎเหนือจักรวาล”
ในสังคมที่เชื่อลัทธิเวรกรรมเก่าเช่นนี้ คนในสังคมก็จะตกอยู่ในความละเมอเพ้อพกเออออไปเองว่า ทุกๆ อย่างที่เห็นอยู่รอบตัวนั้นเหมาะสมดีงามยุติธรรมไปเสียหมด และไม่เห็นความจำเป็นของการพัฒนาสร้างสวัสดิการให้เกิดขึ้นในสังคม คนด้อยโอกาสจะถูกบอกให้ก้มหน้าก้มตาอดทนต่อเวรกรรมความยากลำบากที่ตนเองทำไว้ในชาติก่อน และถูกสอนให้ทำบุญสั่งสมไว้ในชาตินี้เพื่อชาติหน้าจะได้มีกำเนิดที่ดีขึ้น คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในภาวะสมเพชและเกลียดชังตนเองโดยไม่มีแรงกระตุ้นที่จะเรียกร้องให้สังคมปฏิบัติต่อตนเองอย่างเท่าเทียม
ผู้ที่สะใจกับการเห็นคนอื่นๆ “ชดใช้บัญชีกรรมเก่า” (ตามที่ตนจินตนาการเอาเอง) ก็มักจะสนับสนุนการใช้บรรทัดฐานและการลงทัณฑ์ทางสังคมที่เข้มงวด เพื่อรักษากฎระเบียบของสังคมไว้ให้สอดคล้องกับกฎแห่งกรรม และคอยตามคิดบัญชีไม่ให้ใครหนีหนี้กรรมไปได้ (เช่นห้ามนักเรียนหญิงที่ท้องในวัยเรียนกลับมาเรียนต่อ) นอกจากนี้ยังเห็นดีเห็นงามไปกับการเลือกปฏิบัติอย่างมีอคติต่อกลุ่มคนด้อยโอกาส และมองว่ามาตรการสร้างศักยภาพให้คนกลุ่มดังกล่าวเป็นการให้การยอมรับและส่งเสริมผู้ “มีศีลธรรมบกพร่อง” ให้ได้ดิบได้ดี (เช่น การอนุญาตให้สาวประเภทสองใส่ชุดนักศึกษาหญิงไปเรียนได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการส่งเสริมพวกเบี่ยงเบน)
เมื่อลัทธิเวรกรรมเก่านี้ถูกมนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างเต็มรูปแบบในสังคม ความเชื่ออุปโลกน์ก็ถูกทำให้กลายเป็นความจริงไปโดยปริยาย จะเห็นได้ว่าความยากลำบากที่คนด้อยโอกาสในสังคมต้องประสบนั้นส่วนใหญ่ก็มาจากโครงสร้างความรุนแรงทางสังคมในรูปแบบของความรังเกียจเดียดฉันท์ การติฉินนินทา และการลงทัณฑ์ทางสังคมจากผู้ที่ทำตัวเป็นผู้พิทักษ์กฎแห่งกรรมเสียเอง
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่สังคมที่เรียกตัวเองว่าเป็น “ชาวพุทธ” เช่นนี้จะไม่เชื่อในเรื่องความเสมอภาค และต่อต้านแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะมีความรู้สึกลึกๆ อยู่ว่าเป็นการแทรกแซงกฎแห่งกรรม แม้แต่พระพุทธองค์ก็ยังถูกผู้ที่มีความเชื่อเช่นนี้ยกมาอ้างอย่างผิดๆ เพื่อสร้างความถูกต้องเห็นดีเห็นงามกับความอยุติธรรมในสังคม เช่น อ้างว่าทรงตรัสว่า มนุษย์ย่อมเกิดมาไม่เท่ากัน เหมือนนิ้วทั้งห้าของมือเดียวกันที่ยาวไม่เท่ากัน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระพุทธองค์ทรงเป็นศาสดาองค์แรกในประวัติศาสตร์โลกที่ประกาศว่ามนุษย์ทั้งมวลมีกำเนิดเช่นเดียวกัน (วาเสฏฐสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค) ทั้งๆ ที่ในสมัยพุทธกาลนั้นเต็มไปด้วยการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ เพศ และเชื้อชาติกันอย่างรุนแรง ดังนั้นเราชาวพุทธจึงควรเห็นความแตกต่างระหว่างมนุษย์ด้วยกันเป็นปัจจัยให้เกิดความเมตตากรุณาต่อกัน แทนที่จะใช้เป็นเครื่องแบ่งแยกเลือกปฏิบัติอย่างมีอคติ
พระพุทธเจ้าโปรดโจรองคุลีมาล (จิตรกรรมฝาผนังวัดพระยืน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์)
หากสมมติว่าพระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างควรเป็นไปตามเวรตามกรรม พระองค์ก็คงไม่จำเป็นต้องสั่งสอนพุทธธรรมต่อมวลมนุษย์และพระพุทธศาสนาก็จะไม่ได้บังเกิดขึ้น ดังนั้น พระพรหมที่มาอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนพุทธธรรมแก่ชาวโลกตามพุทธประวัตินั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใดไปไม่ได้นอกจากพรหมวิหารธรรมที่ค้ำจุนโลก แม้แต่เรื่องการโปรดโจรองคุลิมาลที่โหดเหี้ยมก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของพระกรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า
หากจะใช้การเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์เรื่องทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ก็สามารถกล่าวได้ว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงเป็นแค่นักทฤษฎีอย่าง “เซอร์ไอแซค นิวตัน” ที่พลิกโฉมหน้าความเข้าใจในเรื่องแรงกรรม แต่ยังทรงเป็นนักปฏิบัติเหมือน “พี่น้องตระกูลไรท์” ที่สาธิตให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะขับเคลื่อนฝ่าฝืนแรงกรรมนั้น ดังนั้นจึงไม่มีข้อสงสัยอย่างใดเลยว่า พระองค์จะทรงเห็นชอบกับระบบสังคมที่ไร้อคติกีดกัน และเปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกคนได้พัฒนาจิตใจตนเองในชาตินี้โดยไม่ขึ้นกับสภาวะแตกต่างใดๆ
ในยุคที่สังคมไทยกำลังถกเถียงกันเรื่องความเสมอภาคและความยุติธรรมทางสังคมเช่นในปัจจุบัน เราจึงจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า ความเชื่อเรื่องกรรมที่แพร่หลายอยู่ในหมู่คนไทยที่เรียกตนเองว่าเป็นชาวพุทธนั้น แท้จริงแล้วอาจจะเป็นความเชื่อนอกรีตผิดหลักพุทธศาสนายิ่งเสียกว่าลัทธิเดียรถีย์หรือไม่ เพราะหากจะว่าไปแล้ว พวกเดียรถีย์ในสมัยพุทธกาลนั้นมีแต่มัวสาละวนยุ่งอยู่กับการทำลายกรรมเก่าของตนเองด้วยการบำเพ็ญตบะทรมานตน จนไม่มีเวลาที่จะมาสร้างกรรมใหม่เพิ่มเติมให้กับตนเองด้วยการตั้งตัวเองเป็นศาลเตี้ยพิพากษากรรมกดขี่ผู้อื่นอีก
เพื่อให้อคติอันไม่คู่ควรกับพระพุทธศาสนาไม่มีที่แอบซ่อนในสังคมไทยได้อีก ความเชื่อผิดๆ จึงสมควรต้องถูกเปิดโปง เช่นเดียวกับปะรำพิธีของพวกเดียรถีย์ที่ถูกพัดให้เปิดเปิงไปด้วยยมกปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเลิกใช้คำสอนของพระพุทธองค์อย่างผิดๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับด้านมืดของสังคมไทย เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว พุทธธรรมซึ่ง “งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด” ก็จะกลับมาสว่างไสวเป็นประทีปนำทางให้กับสังคมไทยได้อีกครั้ง
หมายเหตุ
*อุปมานี้ยังชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดของความเชื่อแบบนิครนถ์ที่นับผลของกรรมเป็นกรรมใหม่เข้าไปด้วย ทำให้ไม่สามารถกำจัดกรรมได้หมดได้สิ้น พุทธศาสนานอกจากจะนิยามกรรมต่างออกไปแล้ว ยังมีวิธีการทำให้ถึงที่สุดแห่งกรรมแตกต่างออกไปด้วย
นอกจากนี้ การที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวอธิบายการแสดงปาฏิหาริย์ด้วยพระองค์เองว่า เจ้าของสวนมะม่วงจะกินมะม่วงเท่าใดก็ได้ จึงอาจตีความหมายได้ว่า ทรงหมายถึงการที่พระองค์ทรงหลุดพ้นจากกิเลสแล้ว จึงแสดงปาฏิหาริย์ได้อย่างอยู่เหนือกฎเกณฑ์แห่งกรรม ในขณะที่หากผู้อื่นกระทำก็อาจต้องได้รับ "ผล" ของการกระทำนั้น หากเป็นผู้ที่ย้งมิได้กำจัดกิเลสให้สิ้น (ดังนั้นจึงมีข้อบัญญัติไว้มิให้กระทำเพื่อเป็นการป้องกัน)
Are Thai Buddhists More Heretical Than the Heretics?
Part 1: The Twin Miracle
In Lap-Lae district at the edge of Uttaradit town, there is an important group of three temples. While the most prominent one, Wat Phrataen Sila-at, houses a rock seat the Buddha reportedly sat on, Wat Phra Yuen keeps a stone base imprinted with what's believed to be the Buddha's standing footprints and Wat Phra Non is home to the rock bed that the Buddha supposedly reclined on.
I'd visited these temples many times since childhood without realising their significance as a group, until one day I looked at the newly repainted murals inside Wat Phra Yuen.
Among the many wall paintings depicting the life of the Buddha, one panel has multiple Buddhas in three postures - sitting, standing and reclining. It's the scene from an important episode that supposedly took place on the full moon of the month of Asalhi like today.
The event has also been considered somewhat paradoxical. The story, according to the Dhammapada Commentary, goes like this. A senior Buddhist monk performed a flying miracle in order to show Buddhism's superiority over six rival schools of the "heretics". When it was found out, the Buddha admonished him and laid down a rule forbidding the performance of supernatural acts.
The heretics were delighted to hear the news and started blowing their horns about their superior supernatural powers. So the Buddha raised the bar with a promise to perform a miracle himself under a mango tree in the city of Savatthi.
The heretics then went ahead and uprooted all the mango trees in that city. When the time came, however, the Buddha miraculously made a giant mango tree spring up within the blink of an eye from the seed of a mango he was given and had eaten.
He then performed what's now known as the "twin miracle" involving the creation of a double. As one Buddha stood, sat or lied down, the other would take a different posture, both taking turns asking each other questions concerning dharma. It was said that as a result, thousands "entered the stream" toward nirvana. This episode is considered the turning point when Buddhism claimed a decisive victory over rival religions.
Most modern Buddhists don't literally believe in such miracles. However, there's still the fact that the Buddha seemingly broke his own rule that needs explanation. According to tradition, the Buddha answered this question of inconsistency by insisting that the owner of a mango garden can consume all his mangoes while prohibiting others from doing so.
This traditional way of answering one paradox with another is hardly satisfactory, especially in light of the Buddha's strong condemnation of miracles elsewhere in the Canon.
Even when we consider the thousands who benefited from the event, the miracle still appears un-Buddhist because for the Buddha a charitable end can never justify an undesirable means. Dharma is known to be "good in the beginning, good in the middle and good in the end".
It could be argued that the purpose of the miracle was to ready the minds of the audience for the dharma being taught. Ironically, the content of the Buddha's teaching on that occasion has never been described by tradition. Some may even counter-argue that the miracle is more distracting than conducive to the ongoing sermon.
An exception
Here I propose that the "content" of that sermon has been there all along and the key to solving the paradox lies within the context of the occasion.
It helps to recall that when the Buddha condemned miracles, he made an exception for one: supernatural ability in the art of teaching. During the twin miracle, the Buddha reportedly "looked into the hearts of the great multitude … and preached dharma and performed a miracle in accordance with the temper and disposition of every such person".
Many in the audience must have been followers of the six rival schools. Deserving a special mention are the Niganthas or followers of early Jainism - an Indic religion which antedated Buddhism and has survived in India until today.
The Niganthas had their own theory of karma with a distinct flavour. For them, karma encompasses all physical and mental acts regardless of intention. In order to attain deliverance from the cycle of rebirths and suffering, they practised non-performance of new karma and annihilation of past karma by asceticism, which included fasting and various kinds of self-torture. Before enlightenment, the Buddha himself experimented with very similar ascetic practices.
But once enlightened, the Buddha re-defined karma in psychological terms as the motivations behind actions. Therefore, rather than the Niganthas' ascetic practices of physical and mental immobility, the Buddhist way out of suffering involves the eradication of desire (kilesa) - the root cause of karma, rebirths and suffering.
The twin miracle may seem innocuously content-free to a Buddhist, but its specific connotation would not have been lost to the Niganthas and other heretics. To them, when the Buddha created a doppelganger, he was not only rejecting their non-action approach to extinguish karma - according to their definition - but shockingly doubling it! From Buddhist perspective, however, the Buddha had extinguished all karma and, mathematically speaking, his zero karma would always remain zero regardless of the multiplier.
So if we are to take it literally, the miracle can be understood as a Zen-style goan used by the Buddha to jolt the predominantly Nigantha audience into questioning their view of karma and opening the way for an alternative theory. As a result, they were "blown away" by the miracle. The miracle, therefore, falls under a type of educational tool, which is praised rather than condemned by the Buddha.
However, a better reading is to regard the episode as a teaching device directed at Buddhists. Seen in this light, it is a brilliant repudiation of the Niganthas' contending doctrine of karma, so that latter-day Buddhists will not fall for such heresy.
To confirm this reading of the miracle, one remembers that the heretics tried to destroy all the mango trees before the Buddha's arrival. In Buddhist literature, trees and fruits are frequently used as metaphors for karma and its result. The Buddha's miraculous mango tree, therefore, was an in-your-face reminder of the heretics' failure to uproot karma. This reading also explains why one fantastical miracle after another, which his disciples proposed to perform on his behalf, was rejected by the Buddha.
The fact that this message seems to have been lost to most Thais, therefore, is tragic, as many now seem to adhere to concepts of karma that are more heretical to Buddhism than those of the heretics.
Part II: The Modern Heretics
The Nation, 27 July 2010
While the Buddha's twin miracle can be understood as a cleverly-constructed repudiation of the contending explanation of karma, the karma doctrine held by many modern Thai "Buddhists" is shockingly similar to those refuted therein, despite the Venerable Buddhadasa's and Phra Dhammapitaka's efforts to reform Thai Buddhism to reflect the Buddha's original teachings.
Without the knowledge of contrasting karma theories in the Buddha's time, many Thais fail to understand how the Buddha revolutionised the concept of karma, turning it from an all-oppressive cosmic force to a power to command one's own life and make spiritual advancement in this life. Failing to grasp the Buddha's emphasis on the here and now, they regress to the pre-Buddha concept of karmic determinism in which everything in life is determined by the past.
This kind of karmic navel-gazing - identical to the heretical view called pubbekatavada attributed to the Niganthas in the Canon - allows Thais to conveniently blame all of today's predicaments on bad deeds committed in previous lives. Instead of making efforts to improve one's conditions according to the Buddha's forward-looking doctrine, they are preoccupied with staring retrospectively into the karmic crystal, as evident in the many popular books on scanning, decoding, tracking and untying karma.
In "Sivaka Sutta", the Buddha clearly rejected this heretical view that "whatever a person experiences, be it pleasure, pain or neither-pain-nor-pleasure, all is caused by previous karma". He gave examples of physical, biological and social factors as additional causes for present experience, concluding that holders of such views "go beyond what they know by themselves and what is accepted as true by the world".
In "Tittha Sutta", the Buddha reasoned that this kind of karmic determinism would also mean that people do good and bad deeds as a result of past karma. Such fatalism would mean nobody is responsible for their acts, and there would be no desire and effort to do what should be done and avoid what shouldn't be done. Obviously such a view doesn't constitute a religion - let alone the Buddha's.
For the Buddha, karma means motivation in the here and now to make spiritual advancement through the destruction of greed, hatred and ignorance. Sadly, most Thai Buddhists would rather pray at famous temples, receive blessings from celebrated monks or pay charlatans to exorcise bad karma out of them.
This deterministic view has done great damage not only to individual effort but also to Thai society as a whole, where we rationalise inequality and justify prejudices. According to this view, the disabled, the poor and women are said to deserve their present predicaments because they made insufficient meritorious deeds or, worse, committed sins in their past lives. This list of second-class humans has extended to cover homosexuals, transgenders, people with HIV, crime victims, sex workers, the frail and even tsunami victims.
This "past karma doctrine" has long been effectively used for social control. In his book, "Money, Sex, War, Karma", David R Loy wrote, "Taken literally, karma justifies the authority of political elites, who therefore must deserve their wealth and power, and the subordination of those who have neither. It provides the perfect theodicy: If there is an infallible cause-and-effect relationship between one's action and one's fate, there is no need to work toward social justice, because it's already built into the moral fabric of the universe."
Far from being shy from issues of social importance, the Buddha stopped a war between two kingdoms.
In such a world of Panglossian complacency, where things are the way they are for the best, there would be no place for public welfare. The underprivileged are told to quietly endure their "self-inflicted" predicaments, while accumulating good deeds in order to be reborn in a better next life. Most of them are locked in a psychological closet of self-pity and self-loathing, and feel no desire to demand better treatment.
In a society revelling in karmic fatalism and cosmic retribution, rigid norms and communal sanctions are enforced to preserve the social - and cosmic - order. It is righteous to maintain prejudice and discrimination against marginalised groups, and empowering measures provided for them are seen as an undue approval and encouragement for those with allegedly undeserving moral characters.
Taken by believers into their own hands and institutionalised by society, karmic determinism, in effect, is turned into a self-fulfilling prophecy. Indeed, much of the ordeal suffered by the vulnerable is ensured by structural violence in the forms of public censure and social sanctions.
It is quite clear that such a "Buddhist" society would not believe in equality. Human rights standards would be resisted, as they imply human interference with karmic justice. Even the Buddha has been misquoted to justify inequality, with apocryphal sayings such as "People are born unequal, just as the different lengths of the fingers on the same hand."
In fact, in "Vasettha Sutta" the Buddha was the first religious teacher to proclaim the commonness of all humankind in an age when castes, sexism and racism strongly prevailed. In Buddhism, therefore, differences among people should be a cause for kindness and compassion.
If the Buddha had taken his understanding of karma as a reason for inaction, he wouldn't have bothered to share his wisdom and there would be no Buddhism as we know it. Indeed the god Brahma who, according to legend, requested that the Buddha preach to the world, can be no other than the personification of socially-engaged virtues. The conversion of the murderous Angulimala is just one example of the Buddha's compassion.
The conversion of the murderous Angulimala.
To use a science metaphor, the Buddha was not only the Newton that transformed our understanding of karmic gravity, but also the Wright brothers who led the way in navigating and even defying it.
There's no doubt that the Buddha would approve of a social system that provides the kind of discrimination-free environment in which everyone, regardless of differences, can make spiritual advances in this life.
Now that Thai society is debating social equality and justice, it's necessary to ask whether the karma discourse widespread among Thai Buddhists is not more heretical than those of the heretics. The Niganthas, in fact, were too busy trying to eliminate their own karma to create more of it by oppressing others with karmic vigilantism.
In order that prejudices unworthy of Buddhism have nowhere to hide, wrong views must be exposed as such, like the Niganthas' pavilion being blown away by the twin miracle. It's time we stop misusing the Buddha's teachings to justify the ugly sides of our society, and allow the dharma - "good in the beginning, good in the middle, and good in the end" - to shine again.
Note *
This also points to another flaw in the Niganthas' theory of karma which counts everything as karma -- including its consequences (fruits) -- making the Niganthas' uprooting approach ineffective to destroy karma completely. The Buddha had a different definition of karma, and therefore requiring a different approach in eradicating it.
In addition, the Buddha's explanation for performing a miracle himself after forbidding his disciples from doing by saying that "the owner of a mango garden can consume all his mangoes while prohibiting others" can be interpreted to mean that as an enlightened one who has uprooted all defilements he is able to perform a miracle in a manner that is beyond the law of karma, while others may come to suffer from the fruits of karma if they try to do the same.