It's time for Thailand to end state homophobia
ภาพบนผนังด้านนอกของโบสถ์ St John the Evangelist ในเอดินเบอระ
เลื่อนอ่านภาษาไทยด้านล่าง
The country's refusal to support UN resolution on non-discrimination regardless of sexual orientation leaves us rooted in the dark ages
Today is the International Transgender Day of Remembrance, a day set for recalling the loss of transgender lives due to prejudice and hatred. Although physical violence against lesbians, gays, bisexuals and transgenders (LGBTs) in Thailand is rare, the Thai state has not exactly been kind to them either.
In 1997, Rajabhat Institute announced a plan to reject students with "sexual deviancy". In 1999, the Department of Public Relations sent a memo to television channels instructing a ban on "sexual deviants". In 2004, a top official at the Ministry of Culture proposed getting rid of homosexuals from the media and government posts. In 2006, the Ministry of Defence branded transgender draftees as suffering from "permanent psychosis" in their military exemption documents known as Sor Dor 43.
Deputy Prime Minister Trairong Suwankhiri, therefore, followed a long tradition of state homophobia when he said approvingly in an interview about Thai-Chinese cultural cooperation that the Chinese government takes "special precautions" on its state-controlled media with the presence of homosexuals and transgenders, lest they be taken as examples by Chinese citizens. It would surprise no one if that particular meeting had actually endorsed a ban against gays and katoeys to satisfy the superpower.
It is understandable why Thailand wants to tap into China's financial reserves and its huge market. However, collaboration must not come at the expense of values we hold high as a sovereign democratic country. Lowering Thailand's human rights standard to suit a foreign nation's palate smacks of a lack of integrity at best and cultural wholesale at worst.
Banning homosexuals and transgenders is against Article 45 of the Constitution of Thailand, which guarantees freedom of expression including media freedom. More importantly, it runs counter to Article 30's prohibition against discrimination on the basis of sex, which includes differences in sexual identity or gender or sexual diversity, as explained in the Intentions of the Constitution.
State homophobia, as expressed by high-ranking politicians like Mr Trairong, creates an atmosphere in which local governments and non-state actors feel that oppression against LGBTs is acceptable. In 2008, when protesters shut down the Chiang Mai Gay Pride parade and threatened marchers with violence, the government failed to take action against government offices whose opposition to the event was used by protesters to justify violence. Now Chiang Mai's local authority feels so brazen as to arbitrarily ban transgenders from the processions during important government-sponsored festivities.
Internationally, Thailand has fared miserably in respect of LGBT rights. Hinting at appeasement of the Muslim world, Thailand in 2008 chose not to endorse a statement affirming the human rights principle of universality and non-discrimination regardless of sexual orientation and gender identity at the United Nations General Assembly, the UN's most important body. This week, when 79 countries voted to remove a reference to sexual orientation as a ground of protection in a UN resolution condemning extrajudicial, summary or arbitrary executions, Thailand again chose to sit on its hands rather than joining the 70 countries that opposed such a homophobic initiative. This is the only UN resolution with an explicit reference to sexual orientation.
Apart from clarifying its human rights position in the context of collaboration with China - cultural or otherwise - the Thai government must immediately end state homophobia and transphobia. As the LGBT community will be commemorating Human Rights Day for Sexual Diversity next week, the government should take this opportunity to make known its commitment on equal rights for Thai LGBTs, along the lines that PM Abhisit Vejjajiva promised during his campaign before the general election.
Thailand must adopt the Yogyakarta Principles on the application of international human rights standards in relation to sexual orientation and gender identity, as a guideline on how to implement human rights for Thai LGBTs. It should also take an example from Brazil's outgoing president Luiz Inacio Lula da Silva, who in 2008 convened a national LGBT conference with attendance by representatives from all levels and branches of government, as well as the legislature.
If Thailand is ever to outgrow its prejudice against gays and transgenders, the government must start by ending the homophobia and transphobia it perpetrates itself.
ถึงเวลาที่รัฐไทยต้องยุติความเกลียดชังต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ
บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น วันที่ 20 พฤศจิกายน 2553
(โดย ไพศาล ลิขิตปรีชากุล)
การไม่สนับสนุนมติสหประชาชาติในการห้ามเลือกปฏิบัติต่อผู้มีวิถีทางเพศแตกต่างของประเทศไทย คือการทิ้งประเทศให้ติดอยู่ในยุคมืด
วันนี้ (20 พฤศจิกายน) เป็นวันสากลเพื่อการระลึกถึงคนข้ามเพศ (International Transgender Day of Remembrance) ซึ่งเป็นวันที่กำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคนข้ามเพศหรือกะเทยที่สูญเสียชีวิตจากการตกเป็นเหยื่อของอคติและความเกลียดชัง แม้ว่าความรุนแรงทางกายภาพต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศจะไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในเมืองไทย แต่รัฐไทยก็มิได้มีความปราณีเท่าใดนักต่อหญิงรักหญิง ชายรักชาย คนรักสองเพศ และคนข้ามเพศ หรือกะเทย
พ.ศ. 2540 สถาบันราชภัฏประกาศนโยบายไม่รับ “พวกเบี่ยงเบนทางเพศ” เข้าศึกษา ส่วน พ.ศ. 2542 กรมประชาสัมพันธ์ส่งหนังสือไปยังสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เพื่อไม่ให้มีภาพของ “พวกเบี่ยงเบนทางเพศ” ปรากฏในสื่อ จากนั้น พ.ศ. 2547 รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมประกาศว่าจะรณรงค์ต่อต้าน “พฤติกรรมรักร่วมเพศ” ไม่ให้ออกอากาศในสื่อและไม่ให้ผู้มีพฤติกรรมดังกล่าวเข้ารับราชการ และ พ.ศ. 2549 กระทรวงกลาโหมเขียนในเอกสารผ่านการเกณฑ์ทหาร (ส.ด.43) ของกะเทยว่าเป็น “โรคจิตถาวร”
ดังนั้น รองนายกรัฐมนตรีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี จึงเป็นผู้สืบทอดประเพณีความเกลียดชังต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศระดับรัฐคนล่าสุด เมื่อให้สัมภาษณ์หลังการประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านภาพยนตร์กับประเทศจีน ในทางเห็นชอบต่อประเด็นที่ว่า “รัฐบาลจีนมีข้อระมัดระวังเกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพยนตร์ละคร คือ ไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพเพศที่สาม ตุ๊ด กะเทย เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชนชาวจีน”* ดังนั้นคงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจหากในการประชุมที่นายไตรรงค์เป็นประธานนั้นจะได้นำนโยบายการแบนผู้มีความหลากหลายทางเพศมาใช้ด้วย เพื่อสนองความต้องการของมหาอำนาจ
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี สั่งให้ที่ประชุมบอร์ดภาพยนตร์แห่งชาติมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมและข้อระมัดระวังดังกล่าวสำหรับการเผยแพร่ภาพยนตร์
เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าเหตุใดประเทศไทยจึงต้องการจะเข้าไปเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากเงินสำรองคงคลังมหาศาลและตลาดที่มโหฬารของประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือกันระหว่างสองประเทศต้องไม่ทำลายระบบคุณค่าที่เราเชิดชูในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่มีเอกราช การลดระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนให้ “ถูกปาก” ต่างประเทศ อย่างเบาะๆ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความไร้ศักดิ์ศรี หรืออย่างเลวร้ายก็เห็นเป็นการขายวิญญาณทางวัฒนธรรม
การแบนผู้มีความหลากหลายทางเพศในสื่อเป็นการละเมิดมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่รับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งรวมถึงเสรีภาพของสื่อ ที่สำคัญไปกว่านั้นยังขัดต่อมาตรา 30 ที่ห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ซึ่งในเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อธิบายไว้ว่า รวมถึงความแตกต่างในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ และความหลากหลายทางเพศ
ความเกลียดชังต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศระดับรัฐ ดังที่ถูกแสดงให้เห็นโดยนักการเมืองระดับสูงเช่นนายไตรรงค์ ก่อให้เกิดบรรยากาศที่หน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นและภาคส่วนอื่นๆ เห็นว่าการปิดกั้นกีดกันผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เมื่อผู้ประท้วงปิดล้อมขบวนพาเหรดเชียงใหม่เกย์ไพรด์และข่มขู่ใช้กำลังต่อ ผู้ร่วมขบวนเมื่อเกือบสองปีก่อน รัฐบาลมิได้ดำเนินการใดๆ ต่อหน่วยงานรัฐที่แสดงความเห็นคัดค้านการจัดงานดังกล่าวจนถูกผู้ประท้วงนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการใช้ความรุนแรง ดังนั้นปัจจุบัน ภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่จึงอาจหาญที่จะห้ามผู้มีความหลากหลายทางเพศเข้าร่วมขบวนในงานประเพณีสำคัญๆ ที่จังหวัดจัดเสียเอง
ในระดับนานาชาติ ประเทศไทยก็มีผลงานที่น่าอับอายเช่นกันในประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศ ในปีพ.ศ. 2551 ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของสหประชาชาติ ประเทศไทยเลือกที่จะไม่สนับสนุนถ้อยแถลงรับรองหลักความเป็นสากลและการไม่เลือกปฏิบัติของสิทธิมนุษยชนโดยไม่ขึ้นกับความหลากหลายทางเพศ ทั้งนี้โดยบอกใบ้ถึงเหตุผลเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับโลกมุสลิม
ในสัปดาห์ที่เพิ่งผ่านมานี้ เมื่อ 79 ประเทศออกเสียงให้เพิกถอนวิถีทางเพศ (sexual orientation) ออกจากรายการเหตุผลของความคุ้มครองในมติสหประชาชาติที่ประณามการเอาชีวิตอย่างวิสามัญ รวบรัด หรือโดยพลการ ประเทศไทยยังเลือกที่จะนิ่งเฉย แทนที่จะออกเสียงร่วมกับอีก 70 ประเทศที่คัดค้านข้อเสนอที่เลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ** มตินี้เป็นมติเดียวของสหประชาชาติที่มีการกล่าวถึงความหลากหลายทางเพศอย่างชัดแจ้ง
นอกจากจะต้องสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับจุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยใน บริบทความร่วมมือกับประเทศจีนไม่ว่าด้านวัฒนธรรมหรือด้านอื่นๆแล้ว รัฐบาลไทยต้องยุติความเกลียดชังต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศโดยทันที รัฐบาลควรใช้โอกาสที่ชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศจะร่วมกันรำลึกวันสิทธิความหลากหลายทางเพศในสัปดาห์หน้า ในการประกาศความมุ่งมั่นที่จะพิทักษ์สิทธิเสมอภาคของผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ตามที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ เวชชาชีวะเคยให้สัญญาไว้ในระหว่างการหาเสียงก่อนการเลือกตั้งทั่วไป
ประเทศไทยต้องนำหลักการยอกยาการ์ตาที่ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการทำให้สิทธิมนุษยชนของผู้มีความหลากหลายทางเพศเกิดผลอย่างแท้จริง รัฐบาลไทยอาจเรียนรู้จากตัวอย่างของประธานาธิบดี ลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดาซิลวา ที่กำลังจะหมดวาระของบราซิล ที่ได้จัดการประชุมเกี่ยวกับสิทธิความหลากหลายทางเพศระดับชาติในปีพ.ศ. 2551 โดยมีตัวแทนเข้าร่วมจากทุกระดับของทุกหน่วยงานรัฐและนิติบัญญัติ
หากประเทศไทยจะมีโอกาสก้าวพ้นอคติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ รัฐบาลจะต้องเริ่มก่อนด้วยการยุติความเกลียดชังต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศที่รัฐบาลเองเป็นผู้ก่อ
หมายเหตุ
* ข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 10 พฤศจิกายน 2553 และสื่ออื่นๆ รายงานตรงกันเช่น www.thaipost.net/x-cite/111110/29956 หรือ www2.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000158993
** ในบรรดา 70 ประเทศที่คัดค้านการเพิกถอน มีประเทศในเอเชียได้แก่ อินเดีย เนปาล ภูฎาน ติมอร์เลสเต อิสราเอล ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ไม่มีประเทศในอาเซียนแม้แต่ประเทศเดียว อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม พม่า และบรูไนออกเสียงสนับสนุนให้เพิกถอน ในขณะที่ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และกัมพูชางดออกเสียง ส่วนลาวไม่อยู่ในที่ประชุม)
ดูการออกเสียงของทุกประเทศได้ที่ www.iglhrc.org/cgi-bin/iowa/article/pressroom/pressrelease/1257.html