Lifting the veil of ignorance: Buddhism and justice
เลื่อนอ่านภาษาไทยด้านล้าง
The 20-year jail sentence handed down to Mr Amphon (last name withheld), aka Ah Kong (southern Chinese for "grandfather"), for sending four SMS messages deemed offensive to the monarchy, has stirred a debate on the Thai justice system.
The relevant "lese majeste" law has also became a hot topic, as it has increasingly become a tool for political oppression rather than protection of the monarchy. Among the many views expressed, some Buddhists cite the law of karma to justify the verdict, saying that the grandfather got exactly what he deserved.
It's true that "you reap what you sow" is more or less the Buddha's teaching on karma at the spiritual level. But when the teachings are applied to the social level, there are many other complicating factors at play that many Thais sarcastically say, "Tham dee dai dee mee thee nai. Tham chua dai dee mee thom pai." (Show me those who reap benefits from good deeds. Plenty of people reap benefits from evil deeds.)
In Sivaka sutta, the Buddha clearly rejected the view that "whatever a person experiences, be it pleasure, pain or neither-pain-nor-pleasure, all is caused by previous karma". He gave examples of physical, biological and social factors as additional causes for present experience, concluding that holders of such views "go beyond what they know by themselves and what is accepted as true by the world".
Attributing everything to karma is therefore not the Buddha's teaching on karmas but the doctrine of karmic determinism rejected by the Buddha. As it can justify everything and mean nothing, a statement like "People got flooded because of karma" only gives a sense of complacency and precludes legitimate discussions on social justice. The Buddha, in Kutadanta sutta and Cakkavatti- Sihanada sutta, told stories in which social phenomena were caused by social and economic injustice such as maldistribution of social wealth.
In Tittha sutta, the Buddha also explained that the doctrine of karmic determinism would mean that people do good and bad deeds as a result of past karma. Therefore, nobody would be responsible for their acts, and there would be no desire and effort to do what should be done and avoid what shouldn't be done. Obviously such a fatalistic view doesn't constitute a religion - let alone the Buddha's. For example, believing that someone is murdered because of karma raises the questions whether the murderer, as an instrument of karma, is morally responsible, why he should be punished, or why he shouldn't do it again when he feels like it.
In addition to the heretical karma justification, some defend their indifference to Ah Kong's case as upekkha (equanimity, even-mindedness). But let's call a spade a spade. Equanimity means detached impartiality - not apathy. Also, the Buddha taught us - for example, in Subha sutta - to apply each and every face of Brahamavihara - loving-kindness (metta), compassion (karuna), empathetic joy (mudita) and equanimity - in all four quarters; that is, towards all without discrimination.
If anything, the real test for loving-kindness and compassion is when misfortune falls on those we disagree with or even hate; empathetic joy when they meet with good fortune; and equanimity when hardship falls on us or our loved ones.
Broad altruistic principles aside, the Buddha did not prescribe for us what social justice looks like in concrete terms. It's left to society to work it out. How, then, can we all agree on a just law, a constitution or a government, despite our vastly different life situations?
To answer that question, we can try putting to work the four faces of Brahmavihara in a thought experiment devised by the American philosopher John Rawls for his theory of justice. Rawls famously proposed the "veil of ignorance", behind which one is deprived of all knowledge of one's own personal characteristics and social and historical circumstances. From this "Original Position", each of us is asked to define just conditions for a society, into whose different positions we will be randomly assigned.
Unaware whether we will be a factory worker or a hi-so factory owner, red shirt, yellow shirt, dry-zone resident, wet-zone dweller, handicapped, able-bodied, male, female, transgender, young, old, straight, gay, atheist, Muslim, Christian, Buddhist, and so on - Rawls argued that we would all agree on equal basic liberties for all citizens, such as freedom of speech and religion. He also argued that, in order to overcome the inequalities of natural contingencies, we would select conditions that are most beneficial to the least advantaged people.
In real life, we also had no idea who, where or how we would be born. If we had the chance to design a society before we came to be who we are, how would we make it out to be? The author believes that we would come to a conclusion not very different from Rawls's.
Behind Rawls's veil, we also don't know who our parents or friends will be. The Buddha took a different approach in Anamattagga Samyutta when he said "… this samsara is without discoverable beginning…. It is not easy to find a being who in this long course has not previously been your mother, your father, your brother, your sister, your son, your daughter…." His deep-time analogy emphasising our interconnection with all others in the world finds its echo in evolutionary biology's conclusion that we are all related and descended from common ancestors.
In the final analysis, saying that "My loved ones could be in any of those social positions (Rawls)" and "There are not any one of them who are not my loved ones in samsara (Buddha)" amount to the same thing. By drawing a conceptual veil to temporarily block out our ego and selfishness, Rawls brings out the deep-seated sense of justice in us.
The world of experience is said to be enveloped in seven veils of darkness. Thus, the Buddha is also called loke-vivattacchaddo ("one who draws aside the veils") to generate light all around. If the Buddha's analogy sheds light on our common humanity, the metaphorical darkness under Rawls's veil of ignorance makes that light shine even brighter. The Buddha would surely approve of Rawls' theory of justice.
Now the question everyone, regardless of status in life, must ask is this: If it was actually your grandfather who sent those four SMS messages, would 20 years of imprisonment be a fair sentence?
If, after giving it long hard thought, your conclusion is that Ah Kong's sentence and/or the relevant laws are at odds with the kind of just society we want to live in, it's time to declare, "We are all Ah Kong."
แหวกม่านอวิชชา – พุทธศาสนากับความยุติธรรม
การลงโทษจำคุก “อากง” ยี่สิบปีจากการส่ง SMS สี่ข้อความที่ศาลเห็นว่าเข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ทำให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมของไทย ตัวกฎหมายมาตรานี้เองก็กลายเป็นประเด็นร้อน หลังจากถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือปราบปรามทางการเมืองเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แทนที่จะเป็นกฎหมายคุ้มครององค์พระมหากษัตริย์ ท่ามกลางความคิดเห็นมากมายเหล่านี้ มีชาว “พุทธ” จำนวนหนึ่งกล่าวว่าอากงโดน “กรรมสนอง” โดยยกกฎแห่งกรรมมาสนับสนุนความชอบธรรมของคำตัดสิน
“หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น” เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องกฎแห่งกรรมสำหรับการพัฒนาจิตใจก็จริง แต่เมื่อนำมาใช้ในระดับสังคม ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่เข้ามาแทรกซ้อน ทำให้ไม่เห็นผลตรงไปตรงมาอย่างที่คิด ดังที่คนไทยจำนวนมากเองก็มักพูดในเชิงประชดประชันอยู่เสมอว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป”
ในสิวกสูตร พระพุทธองค์ปฏิเสธแนวความคิดแบบเดียรถีย์ที่ว่า “บุคคลมีความสุข ความทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เกิดจากกรรมเก่า” ลงอย่างสิ้นเชิง โดยยกตัวอย่างปัจจัยทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และสังคมที่อาจเป็นสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้โดยไม่เกี่ยวกับกรรมเก่า และกล่าวว่าคนที่อะไรๆ ก็โทษกรรมเก่าเป็นสาเหตุนั้น “เชื่อเกินไปจากสิ่งที่รู้ได้ด้วยตนเองซึ่งคนทั่วไปก็ยอมรับว่าจริง”
ดังนั้น การเอากรรมมาอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างจึงไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า หากแต่เป็น “ลัทธิเวรกรรมเก่า” หรือ “ปุพเพกตวาท” อันเป็นความเชื่อของพวกเดียรถีย์ที่พระพุทธเจ้าปฏิเสธ (ขอแนะนำผู้สนใจให้อ่านหนังสือ “พุทธธรรม” ของท่านธรรมปิฎก หน้า 205-6) ความเชื่อเช่นนี้เอาไปใช้สร้างความชอบธรรมได้กับทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สากกะเบือยันเรือดำน้ำ หากแต่ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง เช่น ความคิดว่า “น้ำท่วมเพราะกรรม” ทำให้เกิดการลอยตัวเหนือน้ำแทนที่จะได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม ในกูฏทันตสูตรและจักกวัตติสูตร พระพุทธเจ้าเองยังได้เล่าถึงปรากฏการณ์ปัญหาความวุ่นวายทางสังคมที่เกิดจากความไม่ยุติธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่นการกระจายทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม โดยไม่ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องกรรมเก่าแต่อย่างใด
ในติตถสูตร พระพุทธองค์ยังอธิบายอีกว่า หากทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากกรรมเก่าแล้ว การทำความดีความชั่วต่างๆ ในชาตินี้ก็ต้องเป็นเพราะกรรมเก่ากำหนดไว้ด้วย ไม่ได้ถูกทำไปโดยเจตนาของตนเอง ดังนั้นจึงไม่มีใครต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตน ไม่มีเหตุผล แรงผลักดันหรือความพยายามใดๆ ที่จะทำในสิ่งที่ควรทำ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรทำ จะเห็นได้ว่าความเชื่อแบบยถากรรมดังกล่าวนี้ย่อมไม่สมควรเรียกได้ว่าเป็นศาสนา โดยไม่ต้องพูดถึงว่าเป็นศาสนาของพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนถูกฆ่าเพราะกรรมเก่า เหตุใดฆาตกรที่เป็นเพียงแค่ “เครื่องมือ” ของกฎแห่งกรรมจึงควรมีความผิดทางศีลธรรม ทำไมจึงต้องถูกลงโทษ หรือทำไมเขาจึงควรพยายามไม่ฆ่าคนอีกถ้า "กรรมสั่งมา"
นอกจากจะใช้ “กฎแห่งกรรม” มาสร้างความชอบธรรมแล้ว บางคนที่ไม่สนใจใยดีต่อคดีอากงยังอ้างว่าตนมี “อุเบกขา” แต่อุเบกขา คือ การมีจิตใจหนักแน่นนิ่งสงบไม่หวั่นไหว มีความเป็นกลางไม่เข้าใครออกใคร มิใช่ความเฉยเมยไม่ใส่ใจใยดี เช่นในสุภสูตร พระพุทธเจ้าสอนให้เราใช้พรหมวิหารทั้งสี่ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ในทั้งสี่ทิศ นั่นคือ ต่อคนทุกคนรวมถึงตัวเราเองโดยเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ มิใช่เลือกใช้ข้อใดข้อหนึ่งแล้วแล้วแต่บุคคล
หากจะทดสอบความเมตตากรุณา บททดสอบที่แท้จริงคือตอนที่ความทุกข์มาเยือนคนที่เราไม่เห็นด้วยหรือคนที่เราไม่รัก ดูซิว่าเรายังมีเมตตากรุณาอยากให้เขามีความสุขและพ้นจากทุกข์หรือไม่
หากจะทดสอบมุทิตา บททดสอบที่แท้จริงคือตอนที่ความสุขมาเยือนคนที่เราไม่เห็นด้วยหรือไม่รัก ดูซิว่าเรามีมุทิตายินดีต่อความสุขของเขาหรือไม่
หากจะทดสอบอุเบกขา บททดสอบที่แท้จริงคือตอนที่ความทุกข์มาเยือนคนที่เรารักหรือตัวเราเอง ดูซิว่าเรายังมีอุเบกขา จิตใจหนักแน่นนิ่งสงบไม่หวั่นไหวหรือไม่
นอกเหนือจากหลักธรรมกว้างๆ แล้ว พระพุทธเจ้าก็มิได้กำหนดเป็นสูตรสำเร็จรูปว่า ความยุติธรรมทางสังคมนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร หากแต่เป็นหน้าที่ของสังคมต้องร่วมกันกำหนดเอง แล้วพวกเราที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมายจะตกลงเห็นพ้องต้องกันในเรื่องกฎหมายที่เป็นธรรม รัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม หรือการปกครองที่เป็นธรรมได้อย่างไร
เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ เราอาจจะลองนำพรหมวิหารมาใช้ในการทดลองความคิดที่เสนอโดยนักปรัชญาอเมริกัน ชื่อ จอห์น รอลส์ (John Rawls) ในทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม ในหนังสือ The Theory of Justice รอลส์ได้อุปโลกน์สิ่งที่เขาเรียกว่า "veil of ignorance" ขึ้น (หรือผู้เขียนขอแปลว่า “ม่านบังอัตตา”) เพื่อทดลองใช้ปิดความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างเกี่ยวกับตัวตนของเราเอาไว้ก่อน ทำให้เราลืมว่าตัวเราเองนั้นเป็นลูกเต้าเหล่าใคร มีประวัติความเป็นมาประสบการณ์ในชีวิตอย่างไร และมีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างไร จากจุดเริ่มต้นนี้ที่รอลส์เรียกว่า "original position" รอลส์ขอให้เราแต่ละคนนิยามเงื่อนไขทางสังคมที่เป็นธรรม โดยที่ตัวเราเองต้องเข้าไปอยู่ในสังคมใหม่นั้นโดยไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่จุดใด
ถ้าเราไม่รู้ว่าเราจะเป็นคนงานโรงงาน หรือเจ้าของโรงงานไฮโซ เสื้อแดง เสื้อเหลือง คนน้ำท่วม คนน้ำไม่ท่วม ผู้พิการหรือไม่พิการ หญิง ชาย กะเทย หนุ่มสาว สูงอายุ รักเพศเดียวกัน รักต่างเพศ มุสลิม คริสต์ พุทธ หรือไร้ศาสนา ฯลฯ รอลส์เชื่อว่า เราจะเห็นพ้องตกลงกันว่า สังคมจะต้องให้เสรีภาพพื้นฐานแก่คนทุกคนอย่างเท่าเทียม เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพทางศาสนา และรอลส์ยังเชื่อว่า เพื่อช่วย “เกลี่ย” ความไม่เท่าเทียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เราจะเลือกสังคมที่ช่วยเกื้อหนุนต่อคนที่เสียเปรียบทางสังคมมากที่สุด
ในชีวิตจริง เราก็ไม่อาจเลือกได้ว่าจะเกิดมาเป็นใคร ที่ไหน อย่างไร หากเรามีโอกาสจะออกแบบสังคมก่อนที่จะมาเกิด (เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกสังคมได้) เราจะสร้างสังคมนั้นเช่นไร ผู้เขียนเชื่อว่าเราก็คงจะมีข้อสรุปที่ไม่แตกต่างจากรอลส์มากนัก
ใน อนมตัคคสังยุตต์ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ... บิดา... พี่ชายน้องชาย... พี่สาวน้องสาว...บุตร... โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย” ด้วยการอุปมาอุปไมยถึงวัฏสงสารที่มนุษย์ประสบอยู่ร่วมกันนี้ พระพุทธเจ้าได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสรรพชีวิตทั้งมวลในโลก สอดคล้องกับข้อสรุปของชีววิวัฒนาการที่ว่า มนุษย์ทั้งปวงนั้นต่างเป็นญาติและสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
ภายใต้ม่านบังอัตตาของรอลส์ เราก็ไม่อาจรู้ได้ว่าพ่อแม่พี่น้องเพื่อนฝูงหรือคนที่เรารักเป็นใครบ้างในสังคม สรุปแล้ว จุดตั้งต้นของรอลส์ที่ “คนที่เรารักอาจจะอยู่ในจุดใดของสังคมก็ได้” กับที่พระพุทธเจ้าชี้ให้เห็นว่า “ไม่มีใครเลยที่ไม่เคยเป็นที่รักของเรา” ก็นำมาสู่ผลเช่นเดียวกัน การใช้ม่านบังอัตตาของรอลส์ช่วยปิดกั้นความเห็นแก่ตัวและความรักพวกพ้องในวงแคบไว้ชั่วคราว และเปิดเผยให้เห็นถึงสำนึกความยุติธรรมที่อยู่ลึกในใจของเรา
โลกหรือชีวิตมนุษย์นั้นกล่าวว่าถูกปิดบังไว้ด้วยม่านมืดเจ็ดอย่าง ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงถูกขนานนามว่าเป็น โลเก วิวฏจฺฉโท หรือผู้เปิดม่านมืดออก ทำให้เกิดแสงสว่างสู่โลก หากอุปมาของพระพุทธเจ้าฉายแสงสว่างให้เห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของมนุษยชาติทั้งมวล ความมืดในม่านบังอัตตาที่รอลส์อุปโลกน์ขึ้นก็ทำให้แสงสว่างนั้นฉายแสงแจ่มจ้ามากยิ่งขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่า พระพุทธเจ้าน่าจะเห็นชอบไม่น้อยต่อทฤษฎีความยุติธรรมของรอลส์
ดังนั้น คำถามที่พวกเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครควรจะถามตัวเองในตอนนี้คือ หากว่า คุณปู่ คุณตา อากง หรือ พ่อของคุณเป็นคนส่งข้อความ SMS ดังกล่าว คุณคิดว่า การตัดสินจำคุกยี่สิบปีนั้นยุติธรรมหรือไม่ หากได้คิดใคร่ครวรญแล้ว คุณเห็นว่า โทษของอากงหรือกฎหมายที่ใช้ลงโทษอากงนั้นไม่สอดคล้องกับสังคมยุติธรรมอย่างที่เราอยากจะเห็น ก็ถึงเวลาแล้วที่จะประกาศว่า “เราคืออากง”
ฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ในหนังสือพิิมพ์ The Nation วันที่ 16 ธันวาคม 2554
www.nationmultimedia.com/opinion/Lifting-the-veil-of-ignorance-Buddhism-and-justice-30171953.html