IDAHOT or IDA-not? A blatant stain on the rainbow flag

เลื่อนอ่านภาษาไทยด้านล่าง

Published on Prachatai.com, 17 May 2017 (Also Bangkok Post, 18 May 2017 under "Marriage law equality call risks staining rainbow flag")

Last month, a photo of Saudi Arabia’s Girl’s Council became viral because of one peculiarity: the total absence of women and girls in it. Thousands of Thais – including many LGBTIs – must have sniggered at the image. Surely in 2017, laws and policies cannot be formulated without proper representation of the very people they purport to serve?

But their smugness should not last long, because with an ounce of self-reflection they would remember that Thailand is one of the few countries on Earth where formal and substantive representation has been wiped out.

As if that weren’t ironic enough, many LGBTI activists rejoiced when Mr Wallop Tangkhananurak, chairman of the social, children, women, the elderly and disabled people’s affairs of the National Legislative Assembly (NLA), hinted on April 30 at the military-appointed body’s willingness to consider a “same-sex marriage law”.

The timing seems perfect, as LGBTI people around the world will be commemorating the International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia (IDAHOT) today (May 17). Already there’s a high-profile event planned at the Bangkok Art and Cultural Center for the occasion. Lo and behold, right in the official opening ceremony [1] there will be a submission of change.org signatures to the NLA and Ministry of Justice petitioning for such a law. [2]

Those behind this initiative should be careful what they wish for. Considering the NLA’s ignoble records, hoping that simple clicktivism will yield the desired results is the high mark of extreme naivety or desperation. Yes, the petitioners – and the rest of us – may actually get “a” law. But it will most likely be, at best, perfunctory like the fundamentally flawed Gender Equality Act which explicitly permits discrimination on the grounds of national security and religious reasons; or, at worse, damaging like the Surrogacy Act which bars anyone from surrogacy except legally married heterosexual couples.

Even more worrying than the end result is the means to achieve it. Lack of representation scars all NLA laws. The recent Gender Recognition bill is another painful reminder how badly things can go. Rather than placing importance on the opinions of transgenders, the cursorily-organized public hearing focused on how the bill, once passed, would affect cis-gender people. As one transgender commented on Facebook, “They treat our gender identity like a dirty coal power plant subjected to environmental impact assessment.”

It begs the question whether those behind the petition see any irony in it. Why do they think they deserve to be heeded? If it’s the 50,000+ signatures on the petition, it must be asked why their voices suddenly matter when millions of votes were completely disregarded three years ago. Or if they insist that their human rights are inalienable, they should think about many others whose rights have been taken away by this very NLA.

With democracy abolished and human rights abrogated, what they are asking for is nothing but special favor. In the current political climate when all other voices have been silenced, such clamoring is as appropriate as someone yelping away on mobile phone in a cinema.

There are other ways to advocate marriage equality under current conditions without sacrificing integrity for the sake of short-term interest. One way is to mount a legal challenge when a marriage license is denied. The movement has succeeded before when they took a transgender’s complaint on the Ministry of Defense’s demeaning conscription practice to the Administrative Court whose favorable ruling in 2011 opened the floodgate for a new generation of LGBTI activists today. Or they can form a people’s assembly to draft an inclusive gender-neutral marriage equality bill for everyone, not only for LGBTIs. But these will require actual work and efforts, not as quick and easy as signing a Faustian pact with the power-wielding hands.

Another irony: IDAHOT commemorates the removal of homosexuality from the WHO International Classification of Diseases. If anything, it should be a day to liberate ourselves from and show resistance towards unaccountable policy-making bodies. Instead, Thai LGBTIs are using the day to display total submission to a body that represents nobody.

For these reasons, the inclusion of this submission initiative at all is a coup de grâce for IDAHOT. Worse, placing it at the heart of the official opening ceremony makes it a blatant stain right in the middle of the rainbow flag. This is truly unfortunate because this year’s IDAHOT highlights an important but much overlooked issue of family diversity.

As someone who has been observing and involved in the local LGBTI movement for the last fifteen years, the author saw the best of the movement when it contested elected governments on homophobic policies, practices and positions. For example, the 2011 protest in front of the Government House successfully persuaded our governments to vote in favor of LGBTI rights at the UN ever since.

Therefore, it is sad to see the movement sink to where it is. Not only that it now fails to challenge – or at least remain independent from – illegitimate entities, but goes so far as to kowtow to an unelected body that “gives” rights on one hand and takes them away on the other. This is a movement that the author can no longer identify with or be a part of.

Moreover, the event is supported by several well-meaning international organizations and friendly embassies. But good intentions and amity are not sufficient in the development field – especially in a country still deep in self-conflict like Thailand.

While these foreign friends may also support other rights issues, they are doing so much more discreetly, unlike LGBTI rights which get vocal backing. This by itself may not be a problem. Certainly, LGBTI rights are a safe issue, because those in power don’t see them as a threat. On the contrary, the rainbow flag seems like an easy place to wipe the stains on their boots.

However, when uncritical foreign support is poured into an event with an anti-democratic initiative such as this, it gives a wrong impression that LGBTI rights are being pushed at the expense of democracy. It’s not too late to re-analyze this practice with the cardinal rule of development: the Do No Harm Principle. Surely, the last thing friends of the movement want is to harm its chance of being accepted as part of the larger human rights framework in a democratic Thailand yet to emerge.

It would be better if Thai LGBTIs adopt another internationally important day which will be observed tomorrow. May 18 is the day to commemorate South Korea’s Gwangju democratic uprising which offers valuable lessons to an amnesiac society. The author sincerely hopes that when the time comes, an untarnished rainbow flag will fly in Thailand on the side of the oppressed, and not the oppressor.

Paisarn Likhitpreechakul is a writer and former gay activist with an MA in International Law and Human Rights from the UN-Mandated University for Peace, and an MA in Political Science from the Ateneo de Manila University. The opinions expressed here are personal and do not necessarily reflect the view of any organization that the author may belong to.

[1] Event schedule18:15-18:30 Official Opening Ceremony … submission of change.org signatures petitioning for “LGBTI partnership recognition”

[2] Although the signatures will be submitted to the Ministry of Justice representative, as there are no NLA members attending, but 1) The change.org campaign makes it clear that its main target is the NLA. (See photos below) and 2) Regardless of which government agency receives the petition, the legislative power remains with the NLA alone.


IDAHOT หรือไม่ฮ็อต? คราบเปื้อนบาดตา บนธงสีรุ้ง

ตีพิมพ์บน Prachatai.com, 17 พฤษภาคม 2560

เมื่อเดือนก่อน รูปถ่ายการเปิดตัวสภาเพื่อเด็กหญิงของซาอุดิอารเบียถูกแชร์กันอย่างไวรัลบนโลกออนไลน์ เพราะความแปลกพิลึกอย่างหนึ่ง นั่นคือ ในภาพดังกล่าวไม่มีผู้หญิงหรือเด็กหญิงอยู่เลย เชื่อว่าคนไทยเป็นพันๆ หมื่นๆ รวมถึงคนที่เป็น LGBTI (คนรักเพศเดียวกัน รักสองเพศ ข้ามเพศ หรือมีเพศสรีระแตกต่าง) จำนวนมากคงจะได้ยิ้มขำกับภาพดังกล่าว เพราะคงไม่มีใครคิดว่าใน พ.ศ. นี้แล้ว จะยังคงมีการออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายโดยไร้ตัวแทนจากกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายหลงเหลืออยู่อีก

แต่รอยยิ้มนั้นคงจางไปในไม่นาน เพราะหากคิดเพียงเล็กน้อย ก็คงระลึกได้ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศบนโลกนี้ ที่ “การมีตัวแทน” ทั้งในเชิงรูปแบบและสาระถูกกำจัดให้สูญพันธุ์ไปอย่างสิ้นเชิง

ถ้านั่นยังไม่พอ สิ่งที่ขำไม่ออกมากไปกว่านั้น คือ เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่เพิ่งผ่านมา เหล่านักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศจำนวนมากกลับยินดีปรีดา กับการที่นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประกาศว่า สนช. พร้อมที่จะพิจารณา “กฎหมายแต่งงานเพศเดียวกัน” [i]

การชี้ช่องดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นโอกาสทองอย่างเหมาะเหม็ง เพราะวันนี้คือวันที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันที่ชุมชนสิทธิความหลากหลายทางเพศทั่วโลกจะฉลองวันสากลเพื่อยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศ และคนข้ามเพศ (International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia หรือ IDAHOT) ส่วนในประเทศไทย ก็จะมีการจัดงาน ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เพื่อฉลองวันดังกล่าว โดยเต็มไปด้วยบุคคลสำคัญมากมาย [ii] ในส่วนของพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ[iii] ก็จะมีการยื่นรายชื่อที่ได้มีการรวบรวมผ่านทาง change.org เพื่อเรียกร้องกฎหมายดังกล่าวต่อกระทรวงยุติธรรมและสนช. [iv]

การนำเสนอคำร้อง จาก Change.org เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีกฎหมาย คู่ชีวิตกลุ่ม LGBTI โดยกลุ่ม LGBTI ต่อกระทรวงยุติธรรมการนำเสนอคำร้อง จาก Change.org เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีกฎหมาย คู่ชีวิตกลุ่ม LGBTI โดยกลุ่ม LGBTI ต่อกระทรวงยุติธรรมผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวน่าจะระวังเนื้อระวังตัวในการขอกฎหมายจากสนช. เพราะเมื่อดูจากผลงานที่ผ่านมาของสนช. แล้ว การหวังว่าแคมเปญรณรงค์ออนไลน์จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการนั้น เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากความไร้เดียงสาตาใสหรือความสิ้นหวังอย่างได้โล่

จริงอยู่ ทั้งผู้เรียกร้อง รวมถึงคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ลงชื่อ อาจได้กฎหมายดังกล่าวจาก สนช. แต่อย่างดีก็จะได้แค่กฎหมายแบบคอหยักๆ สักแต่ว่ามี เช่นเดียวกับกฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศที่อนุญาตให้เลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุความมั่นคงของประเทศและศาสนา หรือในกรณีเลวร้ายยิ่งไปกว่านั้น ก็อาจจะได้กฎหมายที่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เช่น กฎหมาย “อุ้มบุญ” ที่ห้ามการอุ้มบุญยกเว้นคู่ชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

ผลเช่นที่ว่านี้ยังไม่น่ากังวลใจเท่ากับวิธีการในการได้มาซึ่งกฎหมาย กฎหมายของ สนช.ทุกฉบับมีรอยแผลเป็นเดียวกัน คือ ถูกคลอดออกมาโดยไม่มีตัวแทนจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ร่างกฎหมายการรับรองเพศที่กำลังพิจารณากันอยู่ก็เป็นตัวอย่างล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการอันไร้ตัวแทนจะ “ออกอ่าวออกทะเล” ได้อย่างไร เนื่องจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของร่างกฎหมายดังกล่าว แทนที่จะให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นของกะเทยและคนข้ามเพศซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง แต่กลับไปเน้นที่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชายหญิงไม่ข้ามเพศหากร่างดังกล่าวผ่านออกมาเป็นกฎหมาย กะเทยรายหนึ่งคอมเม้นต์ในเฟซบุ๊คว่า “ทำอย่างกับเพศของเราเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ต้องศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อน”

ดังนั้นจึงควรตั้งคำถามว่า ผู้ที่ผลักดันการยื่นรายชื่อเห็นความย้อนแย้งในสิ่งที่ทำหรือไม่ เหตุใดจึงคิดว่าเสียงของตนจึงควรได้รับความสำคัญ หากคิดว่าเป็นเพราะมีจำนวนรายชื่อเกือบหกหมื่น ก็ต้องถามว่าทำไมอยู่ๆ เสียงเหล่านี้จึงควรเกิดมีความหมายขึ้นมา ในเมื่อเสียงจำนวนหลายล้านถูกโยนทิ้งไปเมื่อสามปีก่อน หรือหากคิดว่าเพราะสิทธิมนุษยชนของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกพรากไปไม่ได้ ก็ต้องชวนให้คิดถึงคนอีกจำนวนมากที่สิทธิถูกพรากไปเพราะฤทธิ์เดชกฎหมายของสนช.

ในภาวะที่ประชาธิปไตยถูกล้มล้าง และสิทธิมนุษยชนถูกลบทิ้ง สิ่งที่พวกเขาร้องขอก็เป็นได้แค่การแบมือขอความสงเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ แต่ในสภาพการเมืองปัจจุบันที่คนอื่นๆ ถูกปิดปาก เสียงเรียกร้องเซ็งแซ่ของพวกเขาก็ถูกกาละเทศะพอๆ กับการแหกปากใส่โทรศัพท์มือถือในโรงภาพยนตร์

ยังมีวิธีอื่นๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านสิทธิแต่งงาน ที่ทำได้ภายใต้สภาวะไร้สภาเช่นปัจจุบัน โดยไม่จำเป็นต้องเอาเกียรติภูมิของตนไปแลกกับผลประโยชน์ระยะสั้น วิธีหนึ่งคือการฟ้องร้องต่อศาลเมื่อไปขอจดทะเบียนสมรสแล้วถูกปฏิเสธ ขบวนสิทธิความหลากหลายทางเพศเคยประสบความสำเร็จเช่นนี้มาแล้ว เมื่อนำคำฟ้องของกะเทยคนหนึ่งขึ้นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีที่ถูกกระทรวงกลาโหมปฏิบัติอย่างน่ารังเกียจในการเกณฑ์ทหาร คำตัดสินของศาลในปีพ.ศ. 2554 ว่ากระทรวงกลาโหมลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในกรณีดังกล่าว เป็นการเปิดประตูให้กับนักกิจกรรม LGBTI รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน

หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ การสร้างสมัชชาประชาชนเพื่อร่างกฎหมายสมรสที่ไม่จำกัดเพศสำหรับคนทุกคนไม่แค่เฉพาะ LGBTI แต่แน่นอนว่า แนวทางเหล่านี้ต้องใช้การทำงานและความอุตสาหะ ไม่เร็วและง่ายเหมือนกับการทำสัญญาขายวิญญาณให้กับมือที่ถืออำนาจ

สิ่งที่ย้อนแย้งอีกเรื่องหนึ่งคือ การที่วัน IDAHOT เป็นวันรำลึกถึงการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ถอดการรักเพศเดียวกันออกจากบัญชีจำแนกโรคสากล ดังนั้น จึงควรเป็นวันของการปลดแอกและแสดงการไม่สยบยอมต่อองค์กรกำหนดนโยบายต่างๆ ที่ไร้ความรับผิดต่อผู้ใด แต่ในทางตรงกันข้าม LGBTI ไทยกลับใช้วันนี้ในการแสดงความศิโรราบต่อองค์กรที่ไม่ได้เป็นผู้แทนของใครเลย

ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ การยื่นรายชื่อต่อตัวแทนรัฐบาลทหารในงาน จึงไม่ต่างจากการปลิดวิญญาณของ IDAHOT ยิ่งอยู่ในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ ก็ยิ่งเป็นคราบเปื้อนที่เห็นบาดตาอยู่ตรงใจกลางของธงสีรุ้ง นี่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะงาน IDAHOT ในปีนี้ให้ความสำคัญกับประเด็นที่ถูกมองข้ามมานานคือเรื่องครอบครัวหลากหลาย

ในฐานะผู้สังเกตการณ์และมีส่วนร่วมในขบวน LGBTI ในประเทศนี้มาสิบห้าปี ผู้เขียนเห็นจุดสูงสุดของขบวน เมื่อขบวนมีความกล้าหาญที่จะโต้กลับนโยบาย การปฏิบัติ หรือจุดยืนของรัฐบาลที่เลือกปฎิบัติต่อ LGBTI ตัวอย่างเช่น การแต่งชุดดำไปประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลในปี พ.ศ. 2554 ทำให้รัฐบาลไทยต้องหันมาลงคะแนนเสียงสนับสนุนสิทธิความหลากหลายทางเพศในเวทีสหประชาชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่เห็นขบวนตกต่ำลงมาถึงจุดนี้ เพราะไม่เพียงแค่ไม่ท้าทายหรือดำรงความเป็นอิสระจากองค์กรที่ไม่ชอบธรรม แต่กลับลดทอนศักดิ์ศรีของตนและหมอบราบให้กับหน่วยงานที่ไม่มีใครเลือกเข้ามา โดยมือหนึ่งดูเหมือนจะ “ให้” สิทธิ แต่อีกมือหนึ่งก็กระชากสิทธิทิ้งไป นี่เป็นขบวนที่ผู้เขียนไม่รู้สึกเชื่อมโยงด้วยและไม่สามารถมีส่วนร่วมด้วยอีกต่อไป

ยิ่งไปกว่านี้ งาน IDAHOT ครั้งนี้ ยังได้รับความสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศที่ปรารถนาดีและสถานทูตของมิตรประเทศจำนวนมาก แต่ในการทำงานด้านการพัฒนา ความปรารถนาดีกับมิตรภาพนั้นหาเพียงพอไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ยังวนเวียนอยู่กับความขัดแย้งภายในอย่างประเทศไทย

แม้ว่าเพื่อนจากภายนอกเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนในการพิทักษ์สิทธิอื่นๆ แต่ก็ทำอย่างระมัดระวัง ไม่เหมือนกับสิทธิความหลากหลายทางเพศที่ได้รับการสนับสนุนอย่างโฉ่งฉ่าง นี่อาจไม่ใช่ปัญหาด้วยตัวของมันเอง แน่นอนว่า สิทธิความหลากหลายทางเพศเป็นประเด็นปลอดภัย เพราะผู้มีอำนาจไม่เห็นว่าเป็นภัยคุกคาม ในทางตรงกันข้าม ธงสีรุ้งยังเหมาะกับการใช้เช็ดคราบเปื้อนบนรองเท้าบู๊ทเป็นอย่างดี

แต่แรงสนับสนุนจากต่างชาติอย่างไม่ใช้วิจารณญาณต่อการจัดงานที่มีกิจกรรมไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นนี้เป็นหัวใจ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ส่งเสริมสิทธิความหลากหลายทางเพศ โดยทำลายความสำคัญของประชาธิปไตย

คงยังไม่สายเกินไปที่จะลองวิเคราะห์แนวทางปฎิบัตินี้ใหม่ด้วยกฎพื้นฐานของการพัฒนา นั่นคือ หลักการ “Do No Harm” ผู้เขียนแน่ใจว่า สิ่งสุดท้ายที่มิตรของขบวนสิทธิความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยอยากให้เกิดขึ้น คือ การทำลายโอกาสที่ขบวนนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกรอบสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่มีประชาธิปไตยเต็มใบในอนาคต

ในสถานการณ์เช่นปัจจุบัน คงมีความสง่างามมากกว่า ถ้า LGBTI ไทยจะรับเอาวันสำคัญระดับสากลอีกวันหนึ่งที่จะเวียนมาถึงในวันพรุ่งนี้ คือวันที่ 18 พฤษภาคม ซึ่งรำลึกถึงเหตุการณ์ลุกฮือของประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ และให้บทเรียนอันมีค่าต่อสังคมที่ไร้ความจำ ผู้เขียนหวังว่า เมื่อวันนั้นมาถึง ธงสีรุ้งที่ไร้รอยด่างจะโบกไสวในประเทศไทยอยู่ข้างเดียวกับผู้ถูกกดขี่ มิใช่ฝ่ายอำนาจที่กดขี่

เชิงอรรถ

[i] http://news.voicetv.co.th/thailand/485424.html

[ii] ดูรายละเอียดของงานได้ที่ https://www.facebook.com/events/1134688903344519/

[iii] กำหนดการตามสูจิบัตร