All "properly educated" Thais know that Thailand is exceptional. There's peace and harmony everywhere because we are all one big happy family. Everyone knows their place and role in society. And as long as we remain "good Thais", the country will continue its prosperity, happiness and peace. Blessed by gods and goddesses, ours is a culture unique in being the custodian of "true" Buddhism for the benefit of the world.
Such exceptionalism is so ingrained in the collective consciousness that it has become second nature. Anyone who dares to challenge this feel-good religion is a traitor, and non-Thai. And if they're foreigners, it's a matter of course that the complexity of "Thainess" is beyond their intelligence to begin with.
This religion is underpinned and its social order buttressed by a sort of karma theology, turning Buddhism on its head. According to this doctrine, we were born into the station we deserve, as a farmer, a salary worker or a hi-so, following acts in our past lives. The disabled, the poor and women are said to earn their predicaments and "lower" statuses because they made insufficient meritorious deeds or, worse, committed sins in their past lives. (The list of second-class humans has been extended to include homosexuals, transgenders, people with chronic diseases, crime victims, and even disaster victims.) Therefore, we all must behave according to our station, gender and age as prescribed by the dharma (morality) so that we can all have better next lives and to prevent chaos and the collapse of Thai society.
The Buddha would immediately recognise Thailand, with the compartmentalisation of people and prescribed roles, as a modern variation of the Brahmanistic caste society which he rigorously criticised throughout his life. He wouldn't imagine it to be anything inspired by his proclamation of humanity's oneness in Vāsetṭḥa Sutta, - the first religious teacher to do so in an age when castes, sexism and racism strongly prevailed.
But why let the Buddha get in the way of Thai exceptionalism? Our karma-schmarma theology is so much better because it has also given us a perfect theocracy for social control, since "Trai Phoom Phra Ruang" - with its promise of heaven and threat of hell - was written some 700 years ago.
Buddhist scholar David R Loy wrote in his book Money, Sex, War, Karma, "Taken literally, karma justifies the authority of political elites, who therefore must deserve their wealth and power, and the subordination of those who have neither. It provides the perfect theodicy: If there is an infallible cause-and-effect relationship between one's action and one's fate, there is no need to work toward social justice, because it's already built into the moral fabric of the universe."
With our karma-schmarma Law (with a capital "L"), other laws don't matter. "Western" ideas are welcomed but must be "upgraded" to suit our Panglossian society. Because the Law doesn't see people as equals, the idea of a democratic government "of the people, by the people and for the people" isn't good enough. We demand to be ruled only by "good people". And if the man-made constitution can't guarantee that, it's okay to tear it up again and again.
Since our society is already perfect under the Law, there's no need whatsoever to discuss what kind of society we want to be. No need for social justice or human rights, because those who are underprivileged in our society are so because they are karmically inferior and lazy - nothing to do with our economic and social system.
This social stratification came into sharp focus under the red-shirt discourse of Ammart (elites) vs Prai (commoners/proles/lower class). The elites and the middle class who are elitewannabes at heart, on the other hand, prefer to see the rural and urban poor as buffaloes - allegedly so stupid that they allow themselves to be led anywhere. After the recent election, there was an outpouring of anger, grief, and even a sense of doom, upon the realisation that the "buffaloes" have wrested control from them and decided the country's direction against their sense of moral righteousness.
Although the theology is not particularly kind to the Prai or buffaloes, it's even harsher to red shirts, who were branded "arsonists" and "terrorists". It provides instant "explanation" and justification for their deaths and injuries during last May's crackdown. The rationale goes like this: "Because they died, they must have done something to deserve it. Bad people are just sub-humans whose deaths can only make our country better." This kind of backward - in more ways than one - unthinking justifies everything and leaves nothing unexplained.
There's perhaps no better time to debunk this "theory of everything" than today's beginning of the Buddhist rains retreat, which the Buddha initiated after hearing public complaints that his disciples were trampling on growing crops and small animals during the rainy season. Since the monks weren't intentionally killing that life, it's obvious the Buddha didn't established the rains retreat out of karmic concern but rather because he was sensitive to society and public criticism. In Sīvaka Sutta, the Buddha also gave examples of physical, biological and social factors as additional causes for human experiences, concluding that the "karmic theory of everything" believers actually "…go beyond what they know by themselves and what is accepted as true by the world".
From this, it's clear that, regardless of how one understands the Buddha's law of karma, it is far from being the only one that matters. The bottom line is that a theory that can "explain" everything ends up explaining nothing.
Therefore, it's paradoxical that, two millennia later, many self-proclaimed "Buddhists" came to be so subservient to the karma-schmarma doctrine as to blind themselves to its inherent flaws. Far from being a theory of justice providing answers, it is the very root cause of injustice, which remains to be answered for.
Unless Thailand upholds universal principles like human rights, equality, non-discrimination, accountability, fairness and justice, it can claim to be exceptional all it wants, but it will remain anything but unique from - let alone superior to - other undemocratic and illiberal societies found in many parts of the world.
ฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น วันที่ 16 กรกฎาคม 2554 วันเข้าพรรษา
คนไทยที่ “มีการศึกษา” ทั้งหลายย่อมรู้กันดีว่า ประเทศไทยไม่เหมือนที่ใดในโลก เรามีความสงบร่มเย็นทั่วทุกแห่งหน เพราะเราคือครอบครัวที่มีแต่ความสุข แต่ละคนรู้จักฐานะและบทบาทของตัวเองในสังคม และตราบใดที่พวกเราเป็นคนไทยที่ดี ประเทศก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสงบสุขร่มเย็น วัฒนธรรมของเรายังโดดเด่นในฐานะเป็นแหล่งรักษาพุทธศาสนา “ของจริง” ไว้ให้กับมวลมนุษยชาติ
ความเชื่อเรื่องความไม่เหมือนที่ใดในโลกนี้ฝังรากลึกอยู่ในความนึกคิดของสังคมไทยจนกลายเป็นสัญชาตญาณ ใครก็ตามที่กล้าท้าทาย “ศาสนา” ฟีลกู๊ดนี้ ก็ต้องถูกนับว่าเป็นผู้ทรยศ และ “ไม่ใช่คนไทย” หรือถ้าเป็นคนต่างชาติ ก็แน่นอนว่า ย่อมไม่มีสติปัญญาพอที่จะเข้าใจ ความเป็นไทยอันลึกซึ้งได้
ศาสนาฟีลกู๊ดตลอดจนระเบียบแบบแผนทางสังคมที่เป็นส่วนขยายนั้น มีรากฐานรองรับจากระบบเทววิทยา เรื่อง กรรมชนิดหนึ่ง (ซึ่งไปๆ มาๆ ทำให้พุทธศาสนาหัวทิ่มได้เลยทีเดียว) ในความเชื่อนี้ เราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวนา พนักงานบริษัท หรือไฮโซ ต่างเกิดมาในฐานันดรของตนอย่างเป็นไปตามวาสนาอันสมควรแล้วแต่การกระทำในชาติก่อน ส่วนผู้พิการ คนจน และผู้หญิงที่อยู่ในสภาพและสถานะอัน “ต่ำ” กว่าก็เพราะทำบุญมาไม่พอหรืออาจทำบาปมาด้วยซ้ำ (บัญชีมนุษย์ชั้นสองนี้ในปัจจุบันยังขยายรวมไปถึงคนรักเพศเดียวกัน, คนข้ามเพศหรือกะเทย, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, เหยื่ออาชญากรรม หรือแม้แต่ผู้ประสบภัยพิบัติ) ดังนั้น เราทุกคนจึงต้องประพฤติตนตามฐานะ เพศ และอายุของตนตามที่ศีลธรรม “อันดี” กำหนดให้ เพื่อที่ชาติหน้าจะได้เกิดมาดีขึ้น และเพื่อป้องกันความโกลาหลวุ่นวายและการล่มสลายของสังคมไทย
หากได้มาเห็นสังคมไทยปัจจุบัน พระพุทธเจ้าก็คงจะเห็นปุ๊บรู้ปั๊บทันทีว่านี่แหละใช่เลย สังคมที่มีการแบ่งคนออกเป็นกลุ่มก้อนและกำหนดบทบาทให้เสร็จสรรพนี้ เป็นรูปแบบสมัยใหม่ของสังคมแบ่งชั้นวรรณะแบบพราหมณ์ที่ทรงเคยวิพากษ์อย่างเข้มข้นตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ มิใช่สังคมที่ได้แรงบันดาลใจจากคำประกาศความเสมอภาคเท่าเทียมของมนุษย์ในวาเสฏฐสูตร (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค) ของพระองค์ ซึ่งเป็นศาสดาองค์แรกในประวัติศาสตร์โลกที่ประกาศเช่นนั้น ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ เพศ และเชื้อชาติกันอย่างรุนแรง (ดูหมายเหตุ 1)
แต่พระพุทธองค์จะว่ายังไงก็ช่างเถิด คนไทยย่อมไม่นำมาใส่ใจเป็นสาระโต้แย้งต่อความเป็นไทยที่ไม่เหมือนที่ใดในโลกของเรา ระบบเทววิทยาแบบ “กรรมกิ๊กเผี่ยง” ของเราย่อมเหนือกว่า เพราะเป็นต้นกำเนิดการปกครองและควบคุมทางสังคมที่สมบูรณ์แบบ ย้อนไปตั้งแต่มีการแต่ง “ไตรภูมิพระร่วง” อันปลอบประโลมใจด้วยสวรรค์และขู่ด้วยนรกเมื่อเจ็ดร้อยปีก่อน
ในหนังสือ “เงินตรา เซ็กซ์ สงคราม และกรรม” เดวิด ลอย กล่าวไว้ว่า “ความเชื่อเรื่องกรรมถูกนำมาใช้อธิบายและสร้างความถูกต้องให้กับการเหยียดเชื้อชาติสีผิว การแบ่งชั้นวรรณะ การเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ ความพิการแต่กำเนิด หรืออะไรก็ได้ ความเชื่อนี้เมื่อถูกตีความตามตัวอักษรอย่างไม่ลืมหูลืมตายังช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับชนชั้นปกครอง ที่ถูกทำให้เชื่อว่าเกิดมามีทั้งลาภยศและอำนาจวาสนาเพราะกรรมดีในอดีต ดังนั้นจึงสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ปกครองอยู่เหนือกว่าคนที่ไม่มีลาภยศอำนาจวาสนา… หากเราเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์กับโชคชะตามีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลไร้ช่องโหว่ ก็ไม่จำเป็นต้องพยายามสร้างความยุติธรรมทางสังคม เพราะความยุติธรรมมีอยู่แล้วในกฎแห่งกรรมที่เป็นกฎเหนือจักรวาล”
เพราะเรามีกฎแห่งกรรมอันศักดิ์สิทธิ์สะท้านจักรวาลเช่นนี้ กฎอื่นๆ ก็หมดความหมาย เรายินดีรับความคิด “แบบตะวันตก” ต่างๆ แต่ต้องนำมา “ยกระดับมาตรฐาน” เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมพระศรีอาริย์ของเรา (ที่เออออห่อหมกกันไปเอง) และเนื่องจากกฎแห่งกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้มิได้มองเห็นมนุษย์มีความเท่าเทียมกัน ดังนั้นระบอบการปกครองประชาธิปไตย “ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” จึงไม่ดีพอสำหรับเรา เราอยากจะมีผู้นำเป็น “คนดี” เท่านั้น และหากรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถได้ “คนดี” มาเป็นผู้นำ จะฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นแค่กฎที่มนุษย์เขียนขึ้นมา ย่อมเทียบไม่ได้กับกฎแห่งกรรมสะท้านจักรวาล
เพราะสังคมของเราเลิศเลอเพอร์เฟคท์อยู่แล้วด้วยกฎแห่งกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เราจึงไม่ต้องมีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องมาถกกันว่าเราอยากเป็นสังคมเช่นไร ไม่จำเป็นต้องมีความเป็นธรรมทางสังคมหรือสิทธิมนุษยชน เพราะผู้ด้อยโอกาสทางสังคมกลุ่มต่างๆ นั้นเป็นพวกมี “กรรมเลว” และขี้เกียจเอง ไม่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและสังคมแต่อย่างใด
การแบ่งแยกชุนชั้นทางสังคมนี้ถูกขยายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นภายใต้วาทกรรมอำมาตย์-ไพร่ของคนเสื้อแดง แต่กลุ่มอภิสิทธิชนและคนชั้นกลางที่อยากเป็นอภิสิทธิชนไม่ชอบใช้คำประเภทนี้ แต่ชอบมากกว่าที่จะเรียกไพร่ทั้งในชนบทและในเมืองว่าเป็นควายโง่ที่ถูกจูงจมูกไปทางไหนก็ได้ ดังนั้นหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาพวกเขาจึงแสดงความโกรธเกรี้ยว โศกเศร้า หรือแม้แต่ตีโพยตีพายราวโลกกำลังจะแตกดับ เมื่อพวกเขาตระหนักว่า พวกควายทั้งหลายได้สลัดพ้นจากความควบคุมของพวกเขา และได้ตัดสินทิศทางของประเทศไปในทิศทางตรงข้ามกับความเชื่ออันสูงส่งศีลธรรมของพวกเขา
ระบบเทววิทยานี้แม้จะไม่ได้เมตตากับไพร่หรือควาย แต่กลับยิ่งโหดร้ายกับคนเสื้อแดงที่ถูกเหมาว่าเป็น “พวกเผาบ้านเผาเมือง” และ “ผู้ก่อการร้าย” เพราะช่วย “อธิบาย” และสร้างความชอบธรรมให้กับการเสียชีวิตและบาดเจ็บของผู้คนจำนวนมากจากการปราบปรามผู้ชุมนุมของรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ด้วยตรรกกูว่า “พวกมันตายเพราะต้องทำอะไรเลว ถึงโดนผลกรรมตอบสนอง พวกหนักแผ่นดินพวกนี้ไม่ใช่คน ตายไปก็ดีแล้ว แผ่นดินจะได้สูงขึ้น” ความ(สิ้น)คิดใช้ตรรกะแบบกลับหัวกลับหางเช่นนี้สร้างความ “ชอบทำ” ได้ทุกอย่างจนไม่เหลืออะไรไว้ให้ต้องอธิบายทั้งสิ้น
คงไม่มีโอกาสใดที่จะเหมาะสมในการหักล้าง “ทฤษฎีของทุกสรรพสิ่ง” นี้มากไปกว่าวันเข้าพรรษานี้ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นหลังจากที่พระพุทธองค์ได้ยินชาวบ้านชาวเมืองตำหนิว่าสาวกของพระองค์ไปเหยียบย่ำเรือกสวนไร่นาและสัตว์เล็กสัตว์น้อยในช่วงฤดูฝน แต่เนื่องจากพระสงฆ์เหล่านั้นไม่ได้ออกไปเดินข้างนอกด้วยเจตนาทำร้ายชีวิตสัตว์ จึงเห็นได้ชัดว่า พระพุทธองค์มิได้ให้เริ่มมีการเข้าพรรษาเพราะเรื่องกรรม หากแต่ทรงมีความอ่อนไหวเข้าใจต่อความคิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลในสังคม (อธิบายเพิ่มเติม: สมัยพุทธกาล นักบวชนิครนถ์ถือว่าการกระทำทุกอย่างเป็นกรรมไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นจึงต้องมีไม้กวาดคอยกวาดข้างหน้าก่อนที่จะเดินไปแต่ละก้าวเพื่อไม่ให้ไปเหยียบแมลง และมีผ้าปิดจมูกกันหายใจเอาแมลงเข้าไป ดังนั้น พระสงฆ์ในพุทธศาสนาจึงต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกตำหนิด้วยการเปรียบเทียบ)
ในสิวกสูตร (สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค) พระองค์ปฏิเสธแนวความคิดที่ว่า “บุคคลมีความสุข ความทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เกิดจากกรรมเก่า” ลงอย่างสิ้นเชิง โดยทรงยกตัวอย่างปัจจัยทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และสังคมที่อาจเป็นสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้โดยไม่เกี่ยวกับกรรมเก่า และทรงกล่าวว่าคนที่อะไรๆ ก็โทษกรรมนั้น “เชื่อเกินไปจากสิ่งที่รู้ได้ด้วยตนเองซึ่งคนทั่วไปก็ยอมรับว่าจริง” ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่า ไม่ว่าเราจะเข้าใจคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมของพระพุทธเจ้าว่าอย่างไร กฎแห่งกรรมนั้นก็ไม่ใช่กฎเดียวของธรรมชาติ จริงๆ แล้วทฤษฎีกรรมที่ใช้มโน “อธิบาย” ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง กลับไม่ได้อธิบายอะไรเลย
เป็นเรื่องน่าฉงนที่สองพันหกร้อยปีผ่านไป คนที่เรียกตัวเองเป็นชาวพุทธจำนวนมากกลับกลายเป็นทาสของกฎแห่งกรรมอย่างไม่ลืมหูลืมตาจนมองไม่เห็นข้อบกพร่องของมัน กฎแห่งกรรมอย่างที่เชื่อกันนี้นอกจากจะไม่ได้เป็นกฎอันทรงความยุติธรรมที่ให้คำตอบในทุกๆ เรื่องแล้ว ตัวมันเองยังต้องตกเป็นจำเลยในฐานะต้นตอของปัญหาความไม่เป็นธรรมต่างๆ ในสังคม
(เพิ่มเติม: หากพระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ย่อมที่จะต้องนำเอาแนวความคิดมาตรฐานระดับสากล อย่างเช่นความยุติธรรมทางสังคม ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้เข้ากับพุทธศาสนาอย่างไม่ต้องสงสัย เช่นเดียวกับที่ได้นำเอามาตรฐานของนิครนถ์มาพิจารณาเพื่อยกระดับศึลธรรมของพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา)
ประเทศไทยจะป่าวประกาศไปว่าไม่เหมือนใครในโลกก็ป่าวประกาศไป แต่ตราบใดที่ไม่ให้ความเคารพต่อหลักการสากลต่างๆ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติ ความรับผิด ความเป็นธรรมและยุติธรรม ตราบนั้นประเทศไทยก็ไม่ได้ต่างจาก (อย่าว่าแต่ถึงขนาดวิเศษกว่า) สังคมอันปราศจากประชาธิปไตยและไร้เสรีที่มีดื่นดาษทั่วไปในหลายภูมิภาคของโลก
หมายเหตุ 1 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/note.php?note_id=149248388420669